คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๓ ณ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ พร้อมผู้บริหารสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์วารสารวิชาการระดับนานาชาติ/จำนวนบุคลากรสายวิชาการ สูงกว่าผลลัพธ์ในภาพรวมระดับมหาวิทยาลัย และอยู่อันดับ ๑ ของประเทศ และอันดับ ๖๗ ในทวีปเอเชียแปซิฟิก (SciVal ด้าน Education วันที่ ๓๐ ก.ย. ๖๒) และได้รับรางวัลระดับนานาชาติและระดับชาติ เช่น Gold Medal Award จาก Taiwan (พ.ศ. ๒๕๖๐) รางวัล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ม.มหิดล (พ.ศ.๒๕๕๙)
๒. ผลิตภัณฑ์จากการวิจัย (I-Kit, I-Reagent, I-Reader, ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Silica Aerogel) ก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง
๓. ระดับปริญญาเอกและโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (นานาชาติ) ปัจจุบันมีนักศึกษา ๖๓ คน (ร้อยละ ๑๑ เป็นนักศึกษาต่างชาติ) ผู้สำเร็จการศึกษามีผลงานวิจัยตีพิมพ์วารสารวิชาการนานาชาติ> ๑ เรื่อง/คน และ ผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจในระดับดี-ดีมาก
๔. องค์ความรู้จากกระบวนการวิจัยและพัฒนารวมทั้งนวัตกรรมทางการศึกษา นำมาบูรณาการกับพันธกิจบริการวิชาการ เช่น โครงการ    เปิดโลกวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม, IL Short Course, การอบรมอาจารย์ใหม่ การพัฒนาเด็กและเยาวชนบุคลากรทางการศึกษาภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
๕. การบริหารงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีรายได้สุทธิเป็นบวก

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ผลักดันหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ให้ได้รับการรับรอง AUN-QA ระดับมหาวิทยาลัยมหิดล ในปีงบฯ ๒๕๖๓ และระดับอาเซียนในปีงบฯ ๒๕๖๔
๒. ผลักดันให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายในปีงบฯ ๒๕๖๔ คือ รศ. ๖ คน และ ผศ. ๕ คน
๓. ควบรวมกับศูนย์จิตตปัญญาศึกษาตามนโยบายของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในปีงบฯ ๒๕๖๔
๔. ผลักดัน Startup / Business Development Unit (BDU) โดยขยายขอบเขตการดำเนินงานไปสู่ AI Robot, Neuroscience, Transformative Education ซึ่งจะทำให้มี Short Course เพิ่มขึ้นอีก ๒ หลักสูตรภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ (หลักสูตร NeuroLeadership, หลักสูตร NeuroMarketing)
๕. Modular Course Design จำนวน ๒ วิชา ภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ เช่น วิชา Measurement and Evaluation in Education และวิชา Psychology and Philosophy for Education

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๓ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์

วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะสาธารณสุขศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การนำผลงานวิจัยไปไปใช้ผลักดันนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคจนสำเร็จ จำนวน ๒๐ เรื่อง
๒. การแก้ปัญหาการเงินของคณะ
๓. การมีนักวิจัยที่เป็นนวัตกร ๕ คน คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เพื่อสร้างสุขภาพและสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ทั้งสิ้น ๗ ชิ้น คือ รับสิทธิบัตร ๑ ชิ้น อนุสิทธิบัตร ๑ชิ้น และอยู่ระหว่างปรับแก้และขอจด ๕ ชิ้น รวมทั้งขึ้นทะเบียนที่ INT ๒ ชิ้น
๔. การจัดการศึกษาหลักสูตร Master of Public Health ที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ APACPH และ AUNQA
๕. การจัดการเรียนการสอนรายวิชาสาธารณสุขชุมชนและระบบสุขภาพให้มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ๑๒ ปี เช่น Wisconsin และ California State University เป็นเวลา ๓ ปี

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. การพัฒนาศูนย์วิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓
๒. การพัฒนา “Health Literate Faculty” พญาไท ศูนย์วิจัยสูงเนิน Health Literate District and Healthy District” เพื่อเป็น Interprofessional Education
๓. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมด้าน Implementation Sciences เพื่อพัฒนางาน Megacity Health and Global Health เพื่อการอบรมและปฏิบัติการจริง ปี ๒๕๖๓
๔. การจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบ และกลุ่มพระสงฆ์ เป้าหมาย เปิดศูนย์อย่างเป็นทางการเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
๕. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรมด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป้าหมาย เพิ่มร้อยละ ๑๐
๖. การพัฒนานักศึกษา MUHIDEF ( Health Literacy, English ) อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๓ ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การปรับเปลี่ยนหลักสูตรแบบพลิกโฉม และหลักสูตรได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ได้รับการรับรอง WFME ๑ ใน ๓ โรงเรียนแพทย์แห่งแรก และรอบสองในปี ๒๕๖๑, หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตผ่าน AUNQA หลักสูตรแรกของประเทศไทย, ร่วมสร้างหลักสูตรการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ตามนโยบายรัฐบาล และการเปิดหลักสูตรร่วม แพทย์–วิศวะ เป็นต้น
๒. งานวิจัยด้าน Genetics & ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เช่น ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี, จัดตั้งศูนย์จีโนมทางการแพทย์ การรักษาธาลัสซีเมียด้วยยีนบำบัดครั้งแรกของโลก, ธนาคารชีวภาพสำหรับโรคมะเร็งแบบครบวงจร, โรงพยาบาลแห่งแรกในไทยที่มีเครื่องพิมพ์ 3D-BIOPLOTTER และกิจกรรมบ่มเพาะนักนวัตกรรมทางการแพทย์ (รองเท้า และ Insole สำหรับคนเท้าเจ็บ) เป็นต้น
๓. การพัฒนาคุณภาพบริการรักษาพยาบาลสู่ระดับสากล ได้รับรางวัลต่าง ๆ เช่น รางวัล TQC 2019, ได้รับการจัดอันดับ ๒ Thailand’s Most Admired Company 2019, โครงการ Home Chemotherapy Rama Model ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๐, ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกเพื่อการป้องกันและดูแลด้านพิษวิทยา เป็นต้น
๔. การบริการขยายบริการรักษาพยาบาลภาคเอกชน Rama-Frontier ในปี ๒๕๖๒ ได้แก่ บจก.สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม
บจก.อีซูซุมอเตอร์(ประเทศไทย) และบจก.เชลล์แห่งประเทศไทย ร่วมพัฒนา Edu-town และ Medi-town กับบริษัท อมตะ
๕. Digital Transformation Organization เช่น AI FOR DIGITAL PATHOLOGY, Digital transformation framework of MOPH 4.0, Computerized Physician Order Entry (CPOE), ใช้สารสนเทศในการบริหาร Power BI, ใช้ระบบ Business intelligence  ติดตาม Financial Ratio เป็นต้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. สร้างศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย
๒. เปิดหลักสูตรร่วม รามา-วิทยาลัยการจัดการ (MD-MBA) ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๓. เปิดศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา
๔. ร่วมกับอมตะ พัฒนา Edu-town และ Medi-town ในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Rama-Frontier)
๕. สถาบันการแพทยจักรีนฤบดินทร์ (Green Campus)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๓ ณ คณะกายภาพบำบัด

วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ โดยคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะกายภาพบำบัด ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรนานาชาติ ได้รับการรับรอง AUN-QA
๒. เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรนานาชาติ ในปี ๒๕๖๑ เป็นที่แรกในประเทศไทย
๓. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด ได้รับการรับรอง WFOT และ AUN-QA
๔. บัณฑิตกายภาพบำบัดสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพสูงกว่าเป้าหมายทุกปี และสอบผ่านร้อยละ ๑๐๐ ติดต่อกัน ๓ ปี (๒๕๖๐-๒๕๖๑)
๕. บัณฑิตกิจกรรมบำบัดสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะ ในอัตราที่สูงกว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกปี (พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงปัจจุบัน)
๖. ศูนย์กายภาพบำบัด ได้รับการรับรองมาตรฐานบริการทางกายภาพบำบัดระดับดีเยี่ยม จากสภากายภาพบำบัด
๗. จำนวนชุมชน ผู้รับบริการในจังหวัดนครปฐมและความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๘. คุณภาพของงานวิจัยและทุนภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๙.จำนวนผลงานพัฒนาและ Team good practice เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ผลักดันหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด ให้ได้รับ International Accreditation จาก World Confederation for Physical Therapy (WCPT)
๒. ปรับปรุงและบูรณาการหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางคลินิก และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัดคลินิก
๓. จัดตั้ง “ศูนย์ฝึกอบรมกายภาพบำบัดในภาวะกระดูกสันหลังคด” “ศูนย์ Active Aging” “ศูนย์ Women Health”
๔. Tele-physical therapy ผ่าน health app.
๕. Innovative learning platform เช่น E-learning, short-course, module, credit bank
๖. Innovation and high impact research ร่วมมือกับชุมชนและภาคธุรกิจ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๓ ณ คณะศิลปศาสตร์

วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๓(Council Visit) ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนายุส ธนธิติ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ โดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะศิลปศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (นานาชาติ)
๒. จัดทำหลักสูตรสองปริญญาร่วมกับ Osaka University (M.A. in Applied Linguistics, Mahidol University & M.A. in Japanese Studies, Osaka University)
๓. สร้างแบบทดสอบและจัดสอบ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol English Language Test: MU-ELT)
๔. มี MOU ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ๑๐๐ อันดับแรกของโลก ได้แก่ Shanghai Jiao Tong University (๖๐), National Taiwan University (๖๙), University of Leeds (๙๓)
๕. มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น (ผลงานตีพิมพ์ ๑๑ เรื่อง: อาจารย์ ๖๑ คน)
๖. ศูนย์การแปลและการล่ามได้รับการรับรองให้เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพสาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ อาชีพนักแปล คุณวุฒิวิชาชีพชั้น ๔ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
๗. ผลประกอบการดีขึ้น โดยคณะฯ มีเงินรายได้สะสมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ในอัตราร้อยละ ๔๓
๘. มีบทเรียนออนไลน์  MOOC จำนวน ๓ รายวิชา  SPOC จำนวน ๕ รายวิชา
๙. ร่วมกับกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดอบรมมัคคุเทศก์แก่บุคคลทั่วไปต่อเนื่องเป็นปีที่ ๑๑

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. จัดทำหลักสูตร Double Degree B.A. in Chinese ร่วมกับ Shanghai Jiao Tong University
๒. เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม
๓. นำหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (นานาชาติ) เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน AUN-QA
๔. ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อในมหาวิทยาลัยมหิดล
๕. MOU ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ๑๐๐ อันดับแรกของโลก ได้แก่ Fudan University (อันดับที่ ๔๐ ของโลก)
๖. พัฒนาบทเรียนออนไลน์ MOOC จำนวน ๕ รายวิชา และจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพออนไลน์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๓ ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การขยายผลเชิงนโยบายพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) สู่การปฏิบัติในกลุ่มครูปฐมวัย และการให้นโยบาย EF เด็กปฐมวัยของสภาการศึกษา
๒. ขยายผลจากการพัฒนาการตรวจประเมินพัฒนาการ DENVER II มีนโยบายการตรวจคัดกรอง DSPM ทั้งประเทศ และมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติได้ประกาศเป็นนโยบายที่ใช้ทั่วประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจาก ๔ กระทรวงหลัก
๓. มติสมัชชาสุขภาพ พื้นที่เล่นสู่การเรียนรู้ของเด็กในระดับชุมชนสู่นโยบายสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และนโยบายเล่นเปิดโลกของกระทรวงสาธารณสุข
๔. ผลกระทบจากสารโลหะหนัก ฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ถูกนำเป็นข้อมูลประกอบ  การพิจารณาเพื่อต่อสู้คดีระหว่างประเทศของรัฐบาล
๕. หลักสูตรบูรณาการ “การออกแบบชีวิต” (Life Design) ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบุคคลทั่วไป

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. การขยายผลสู่ระดับนโยบาย (๑) รูปแบบการจัดบริการการพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่นโยบายสภาการศึกษาและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๒) รูปแบบการเยี่ยมบ้านโดยกลุ่มบูรณาการสุขภาพ สู่นโยบายการดูแลเด็กปฐมวัยโดย อปท. (๓) จัดฝึกอบรมหลักสูตรการคิดเชิงบริหาร (EF)
๒. พัฒนารูปแบบเชิงพื้นที่ “เมืองเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว” อย่างน้อย ๓ พื้นที่
๓. พัฒนารูปแบบเชิงวัฒนธรรมองค์กร “ความรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัวขององค์กร” เพื่อขยายผลสู่การปฏิบัติในองค์กรภาครัฐ/เอกชน
๔. มาตรการเฝ้าระวังและปกป้องเด็กร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข
๕. ขยายผลหลักสูตรการเรียนร่วม ครอบคลุมผู้เรียน ๒,๐๐๐ คน ให้ได้ ๕ หลักสูตร

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๓ ณ วิทยาลัยการจัดการ

วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ วิทยาลัยการจัดการ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อาภาศิลป์ คณบดีวิทยาลัยการจัดการ พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัยเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของวิทยาลัยการจัดการ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับนานาชาติจาก AACSB ทำให้อยู่ใน Top 5% ของสถาบันที่สอนด้านการจัดการ หรือบริหารธุรกิจมากกว่า ๑๗,๐๐๐ แห่งทั่วโลก
๒. ศูนย์วิจัยภาวะผู้นำและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิมั่นพัฒนา มีผลงานวิจัยซึ่งพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการเปิดหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน
๓. จัดตั้งและเริ่มดำเนินงานศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ACSDSD) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
๔. มีความร่วมมือต่อเนื่องกับ MIT Sloan School of Management  จัดหลักสูตร Strategy and Innovation for Businesses in Asia (SIBA) พัฒนาความรู้ความชำนาญของผู้บริหารภาครัฐและเอกชนในเรื่อง Global Strategy และ Strategic Innovation
๕. คุณภาพงานวิจัยเชิงวิชาการ (Academic research) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเพิ่มขึ้นของมูลค่างาน Contract research
๖. จัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับส่วนงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และทำหลักสูตรสองปริญญาร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ
๗. ผลงานของนักศึกษาและคณาจารย์ได้รับการยอมรับและมีผลกระทบต่อสังคม เช่น แนวคิดพิชิตใจ Lazy consumers เป็นต้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. จัดอยู่ใน ๓๐๐ อันดับแรกของสถาบันที่จัดอันดับโดย QS World University Ranking
๒. ยื่นขอการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)
๓. การดำเนินการของศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นศูนย์หลักแห่งหนึ่งของประเทศในการกระตุ้น studies และ dialogue ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับประเทศอื่น
๔. เพิ่มสาขาวิชาที่ทันสมัย และการร่วมมือจัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดลเพิ่มขึ้น และกับต่างมหาวิทยาลัย
๕. การเพิ่มจำนวนกลุ่มงานวิจัย (Research clusters) ที่น่าสนใจ และมีผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ อาทิ Innovation and technology, Supply chain analytics, Global future skills

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๓ ณ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุม ๑๐๘ ชั้น ๑ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ นวัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การถ่ายทอดเทคโนโลยี biologics ที่มีมูลค่าสูง เช่น วัคซีนป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ และสารชีวโมเลกุลเพื่อเพิ่มผลผลิตกุ้ง
๒. การประเมินพัฒนาการด้านความคิดเชิงบริหาร (Executive Function) ในเด็กปฐมวัย และรางวัลองค์กรดีเด่นด้าน
การป้องกันยาเสพติด จากสำนักงาน ป.ป.ส. ประจำปี ๒๕๖๑
๓. บริการตรวจวินิจฉัยโรคทาลัสซีเมีย และโครงการเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy): มุ่งสู่ความเป็น Social Enterprise งานวิจัยที่มีศักยภาพในการนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์
๔. สร้างวัฒนธรรมเกษตรกรแนวใหม่ที่อยู่บนฐานนวัตกรรม มีพันธุ์พืชชนิดใหม่ อาทิ มันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ และพันธุ์พืชหายากโดยโครงการ อพ.สธ.
๕. ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูง โดยจำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติต่อจำนวนบุคลากรสายวิชาการ
เป็นอันดับ ๑ ของมหาวิทยาลัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนการอ้างอิง สูงเป็นอันดับ ๒ ของมหาวิทยาลัย Field-Weighted Citation Impact (FWCI) จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือนำไปใช้ เป็นต้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. มุ่งเป็น World-Class Research Institute ทั้งด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งของศูนย์วิจัยฯ และหลักสูตร โดยมีจำนวนหลักสูตรที่ผ่านการรับรอง AUN-QA, h-index, FWCI, จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสาร Q1, จำนวนนักวิจัยสำเร็จรูประดับ rising star (Tier 2) และจำนวนและรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
๒. จัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์และนวัตกรรมกุ้ง เพื่อรองรับการวิจัยมุ่งเป้าและการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการส่งออก
๓. โครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ที่สร้างองค์ความรู้ในระดับ frontier นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง เช่น วัคซีน JE สิ้นสุดกระบวนการทดลองในระดับ Non-linical พร้อมสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรม และมี Biologics Candidates ต้นแบบ ที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์อย่างน้อย ๑ ตัว

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๓ ณ คณะเภสัชศาสตร์

วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะเภสัชศาสตร์มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเภสัชศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ผลงานวิจัยเติบโตอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่องทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ (Paper/Faculty: ๑.๒ คน/ปี Quartile 1 & 2 รวมกันร้อยละ ๘๓.๖) และนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิงของ International Practice Guidelines จากองค์กรต่างประเทศหลายองค์กร
๒. การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับเอกชน นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเงินทุนวิจัยในภาพรวมอย่างก้าวกระโดด
๓. วารสารของคณะฯ (Pharmaceutical Science Asia) ได้รับการคัดเลือกเข้าฐานข้อมูล SCOPUS ในปี ๒๕๖๑
๔. คณะฯ เป็นแกนนำในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร Health Technology Assessment (HTA) ให้กับมหาวิทยาลัยร่วม ๖ ส่วนงาน ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับ World-Class และทำให้มหาวิทยาลัยมี International Visibility ด้าน HTA ที่โดดเด่น
๕. บริการวิชาการของคณะฯ ทำประโยชน์ให้สังคม และผลดำเนินงานที่ดี ทั้งการสร้างรายได้และการได้รับการยอมรับระดับชาติและนานาชาติ เช่น ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (Center of Analysis for Product Quality – CAPQ) ซึ่งได้รับการรับรอง ISO 17025/2017

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. เปิด Joint Unit ร่วมกับ Institute of Aging and Chronic Disease, U. of Liverpool เพื่อสร้างความเป็นผู้นำการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ การชะลอวัยระดับภูมิภาค
๒. ขยายผลความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาคเอกชนสู่การนำความรู้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์  
๓. ผลักดันวารสารของคณะฯ เข้าสู่ฐานข้อมูล Web of Sciences
๔. นำหลักสูตรปริญญาตรีเข้าสู่การรับรองทั้งระดับภูมิภาค (AUNQA) และระดับโลก (Accreditation Council of Pharmacy Education – ACPE) เป็นหลักสูตรแรกของไทย
๕. เปิดหลักสูตร PharmD (International) เพื่อขยายการศึกษานานาชาติในประเทศและภูมิภาค และซึ่งจะนำไปสู่ International Visibility และความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว  
๖. เป็นผู้นำทางวิชาการด้านการพัฒนามาตรฐานคุณภาพยาร่วมกับองค์กรระดับโลก (United States Pharmacopoeia–USP) ในโครงการ Promoting Quality Medicine Plus ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจำนวน ๑๖๐ ล้านเหรียญสหรัฐจาก USAID
๗. จัดตั้ง ASEAN PharmNet Secretariat Office เพื่อเป็นผู้นำทางเภสัชศาสตร์ระดับภูมิภาค และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายในการผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการสร้างงานวิจัยที่มี Impact ระดับโลก รวมถึงการดึงแหล่งทุนระดับโลกเข้าสู่เครือข่ายและคณะฯ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๓ ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของวิทยาลัยนานาชาติ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ได้รับการจัดอันดับที่ ๑ (ด้านสิ่งแวดล้อม) ของประเทศไทย จาก Times Higher Education
๒. พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียง
โดยได้รับความสนใจจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ
๓. วารสาร Environment and Natural Resources Journal (ENRJ) ได้รับการบรรจุในฐานข้อมูล Scopus Quartile ๔ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๖๐
๔. ห้องปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีได้รับมาตรฐาน ESPReL รวมทั้งได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001:2004, ISO14001:2015 มาตราฐานคาร์บอนฟุตพรินทร์ขององค์กร  มาตราฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ISO 45001 และมาตรฐานสีเขียว เช่น Green Meetng และ Green Office
๕. บุคลากรและนักศึกษาของคณะฯ สร้างชื่อเสียง และได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น
การค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก รางวัลเหรียญทอง “ระบบตรวจวัดและควบคุมการสังเคราะห์แสงของพืชอัจฉริยะ” ในงาน “Seoul International Invention Fair” (SIIF) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น
๖. การพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ Shanghai Jiao Tong University, Tsinghua University, Nagasaki University และ Fukuoka Women’s University
จัดตั้งศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ม.มหิดล กับ GISTDA
๗. การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปรับปรุงคุณภาพน้ำคลองเต่า วัดบวรนิเวศวิหาร (ได้รับรางวัล นำร่อง Social Engagement ม.มหิดล) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน (5) ในพื้นที่ ม.มหิดล ศาลายา

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. นักศึกษาระดับปริญญาตรีสอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. พัฒนาวารสาร ENRJ (Environment and Natural Resources Journal) ในฐานข้อมูลสากล Scopus เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล Science Citation Index Expand (SCIE) ซึ่งอยู่ใน Web of Science Core Collection (2019-2020)
๓. พัฒนาศักยภาพของ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ ณ จังหวัดลำปาง โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Based Research Approach)
๔. การรับรองมาตราฐานสากลในการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฎิบัติการ ISO/IEC 17025 ในส่วนของโลหะหนัก