คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๓ ณ วิทยาลัยนานาชาติ

วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ วิทยาลัยนานาชาติ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของวิทยาลัยนานาชาติ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ความยั่งยืนขององค์กร
๑.๑ ด้านหลักสูตรต่าง ๆ ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพและการยอมรับระดับสากล: (๑) จาก the Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), (๒) จาก ASEAN University Network Quality Assurance (AUN-QA) และ TedQual UNWTO, (๓) จากสถาบัน The Chartered Financial Analyst (CFA), (๔) จาก National ELT Accreditation Scheme (NEAS) และ (๕) การได้รับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM)
๑.๒ ด้านการเพิ่มจำนวนนักศึกษาใหม่ และความยั่งยืนทางการเงิน
๑.๓ การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
๒. ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอน
๒.๑ การสร้างเวทีการศึกษาที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น
๒.๒ การปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
๒.๓ การพัฒนาการเรียนการสอน
๓. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ตอบสนองผู้เรียนยุคใหม่
๔. การใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของบุคลากร เพื่อบูรณาการโครงการความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ได้แก่ โครงการ (๑) บางกอกน้อย (๒) Sustainable Community-Based Tourism (๓) พัฒนาบุคลากรของนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (๔) SiCRES และ (๕) ศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้Siriraj Medical Research Network (SiMRN) (Allergy and Immunology)
๕. Pathway Programs และความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ความยั่งยืนขององค์กร
๒. ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอน
๓. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ตอบสนองผู้เรียนยุคใหม่
๔. การใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของบุคลากรในการบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
๕. Pathway Programs และความร่วมมือกับต่างประเทศ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๓ ณ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุมกันภัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สังคมศาสตร์สุขภาพ (สังคมศาสตร์การแพทย์เดิม) เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศ มีการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้วยแนวคิดและเครื่องมือด้านสังคมศาสตร์ เช่น พัฒนานโยบายด้านการสาธารณสุขมูลฐาน เศรษฐศาสตร์สุขภาพ ระบบหลักประกันสุขภาพ พัฒนานโยบายด้านผู้สูงอายุ ฯลฯ
๒. หลักสูตรและงานด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม เป็นหลักสูตรแรกของประเทศ มีบทบาทในการพัฒนาด้านกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันมีความร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติฯ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์) และ Hudersfield University, UK ในการเปิดหลักสูตรนานาชาติอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมการทำงานด้าน Cyber Security
๓. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคัมภีร์พุทธศาสนศึกษา มีอาจารย์ในหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีผลงานทั้งในรูปหนังสือและบทความตีพิมพ์ในวารสาร เป็นวิทยากรบรรยายและร่วมทีมวิจัยในต่างประเทศ และมีความร่วมมือกับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Prof. Harunaga Isaacson (Hamburg University) ฯลฯ
๔. มีบทบาทในการจัดการศึกษาหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีวิชาเลือกและบังคับเปิดสอนปีละมากกว่า ๓๐ วิชา และมีผลงานด้านการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศทำให้ได้รับเงินทุนวิจัยเพิ่มมากขึ้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. Social Studies of Science, Technology and Health Humanities conference (Sept 2020)
๒. Excellent Center on Gender, Sexuality and Health (Center for Health Policy Studies)
๓. Inclusive Society Research Center
๔. Center for China Studies and Globalizing Asia
๕. Criminology and Social Justice
๖. Religion and Development Cluster

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์

วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา (๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. ร่วมกันกำหนดทิศทางการวิจัยมุ่งเป้าหลักของคณะ ที่สอดคล้องกับ Core Competencies ได้แก่ HealthCare Engineering, Logistics and Rail Engineering, Digital Engineering และ Sustainable Engineering
๒. ปรับหลักสูตรปริญญาตรีมุ่งสู่หลักสูตรนานาชาติ (Internationalization) และมุ่งสู่การทำ Accreditation
ในระดับนานาชาติ ABET จากการรับรองของประเทศสหรัฐอเมริกา Washington Accords
๓. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะ Interdisciplinary ทั้งภายในและภายนอกคณะ
๔. พัฒนาหลักสูตร Dual Degree กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกหลายหลักสูตร
๕. มุ่งสู่การเรียนการสอนแบบ Outcome-based Education และการปรับปรุงห้องเรียนแบบ Active Learning
๖. ปรับปรุงสถานที่และสภาพแวดล้อม รวมถึง Ecosystem เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรม และแนวทาง Entrepreneurial University
๗. สร้าง Platform เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการวิจัย นวัตกรรมและการพัฒนาบุคลากร ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น โครงการอมตะ คอร์ป และ EECi เป็นต้น
๘. พัฒนากระบวนการดำเนินการ การบริหารจัดการทางงบประมาณและการเงินใหม่ที่ส่งผล ให้คณะได้มีผลประกอบการการเงิน เป็นบวกใน ๓ ปีที่ผ่าน และการประกันคุณภาพคณะ ได้คะแนน EdPEx ดีขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง และมุ่งสู่ TQA ในปีนี้

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. โครงการ Salaya Start Up Town เพื่อมุ่งสู่การเชื่อมโยงและส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ Medical Device, Robotics and Automation, AI and Digital และ Biorefinery ซึ่งรองรับนโยบาย BCG และ EEC
๒. พัฒนายกระดับขีดความสามารถทางด้านหลักสูตรการศึกษาให้ทัดเทียมและแข่งขันได้ในระดับสากล และมุ่งสู่การได้รับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET)
๓. ร่วมสนับสนุนและรองรับแผนพัฒนา EEC โดยช่องทางโครงการ EECi ของกระทรวงอุดมศึกษาฯ และความร่วมมือกับ อมตะ คอร์ป

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๓ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์

วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ทพญ. วรานันท์ บัวจีบ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะทันตแพทยศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ( ๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. คะแนนการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระดับ  ๓๐๒-๓๕๕ ปี ๒๕๖๒
๒. การต่อยอดวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมีความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น บริษัท กิฟฟารีนฯ และ เอสซีจี โดยได้รับสิทธิบัตรร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และ SCG  ได้รับรางวัลระดับชาติ  SET AWARD 2016
๓. ได้รับจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุน แผนงานบูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ และจัดตั้งคลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุ พร้อมเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมผู้สูงอายุ
๔. ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ปีงบประมาณ ๒๕๕๘-๒๕๖๒ เป็นบวกต่อเนื่องสามปีระหว่าง ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒
๕. โรงพยาบาลทันตกรรมแห่งแรกที่ได้รับรองคุณภาพ HA ขั้น ๒ และอยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมขอรับรองขั้น ๓ ทั้งสองโรงพยาบาล
๖. ผลการสอบประเมินความรู้ใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ครั้งแรกผ่านมากกว่าร้อยละ ๙๕ ตลอดสี่ปีที่ผ่านมา
๗. ได้รับรางวัล Bangkok GREEN & CLEAN Hospital Plus (BKKGC+) ระดับเพชรปี ๒๕๖๒ ผ่านการรับรองเป็นองค์กร Carbon Footprint ปี ๒๕๖๒ รางวัลสถานศึกษาปลอดภัยระดับดีเด่นปี ๒๕๖๑ และ และรางวัลสำนักสีเขียว (Green Office) ระดับทองตั้งแต่ ปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบัน
๘. โครงการยุวทูตสุขภาพดี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทพัฒนาการบริการ และรับรางวัล  “Team Good Practice Award” ในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
๙. คณะเป็นส่วนหนึ่งของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID-Yothi Medical Innovation District) และได้รับทุนวิจัยเรื่อง การพัฒนายาฟลูโอ  ซิโนโลนเจลเพื่อการรักษาแผลช่องปากในปี ๒๕๖๑ และจัดตั้งศูนย์ Digital Center เพื่อเทคโนโลยีทางทันตกรรมที่ทันสมัย และ Smart Classroom เพื่อการศึกษาทางไกล

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA : ๑ หลักสูตรในระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ในปี ๒๕๖๓ และพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน AUN-QA ในระดับหลังปริญญาอย่างน้อยหนึ่งหลักสูตร และหลักสูตร ท.บ.นานาชาติ รวมถึงการพัฒนาต่อเนื่องให้ได้รับ International Standard และพัฒนาทุกหลักสูตรให้ได้รับมาตรฐาน AUN-QA
๒. มุ่งเป้าหมายเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน Thailand Quality Class (TQC) และ HA ขั้นที่ ๓ ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร และสร้างมาตรฐานการบริการทางทันตกรรมระดับชาติ
๓. Online Courses ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพผู้สูงอายุ
๔. ร่วมมือด้านการทำงานวิจัยกับสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ
๕. WHO CC (Center for Continuing Education and Research) : Minamata Convention; Prevention of Oral Disease

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๓ ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย พร้อมผู้บริหารสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ( ๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. จัดการศึกษาแบบทวิภาษาสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จาก UNESCO ด้านการรู้หนังสือประจำปี ค.ศ. 2016 (UNESCO King Sejong Literacy Prize)
๒. งานวิจัยที่ช่วยองค์กรนานาชาติ (UN, UNICEF, Save the Children และ Pestalozzi) ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่เป็นเป้าหมายระดับนานาชาติ (SDG 4) ของเด็กชนกลุ่มน้อย
๓. เสริมศักยภาพคนไทยในยุคโลกไร้พรมแดนให้มีทักษะด้านพหุภาษาและพหุวัฒนธรรม ผ่านการจัดการศึกษา “ห้องเรียน
พหุวัฒนธรรม” และการทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยในกลุ่มโจทย์วิจัยสำคัญด้านอาเซียน
๔. งานวิจัยที่ช่วยเติมเต็มการสร้างสุขภาวะในมิติสังคมวัฒนธรรมให้แก่ผู้สูงอายุในสังคมสูงวัย
๕. การจัดบริการด้านภาษาและวัฒนธรรมสู่ระดับนานาชาติร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ASEAN University Network และร่วมสร้าง ASEAN University Network–Youth Cultural Forum (AUN–AYCF) แห่งประเทศไทย

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. จัดทำ “ระบบสารสนเทศอัจริยะด้านภาษาและวัฒนธรรม (Digital archiving for diversity of languages and cultures)
๒. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการวิจัยพัฒนาระบบการศึกษาและนวัตกรรมในพื้นที่พิเศษ
(พหุชาติพันธุ์-พหุวัฒนธรรม) แถบชายแดนไทย-พม่า และขยายให้ครอบคลุมชายแดนทั่วประเทศ
๓. ยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยเปิดศูนย์อบรมทางภาษาและวัฒนธรรมและการศึกษาแบบครบวงจร (จัดการอบรมภาษาและวัฒนธรรม รับรองคุณภาพด้านภาษา (MU-Thai test) และสร้างผู้ประกอบการด้านภาษาและวัฒนธรรม)
๔. สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้ โดยการวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่เมืองรองและภูมิภาค (จีน อินเดีย
และอาเซียน) ด้วยต้นทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
๕. เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้วยทุนทางวัฒนธรรม ด้วยโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวไทยผ่านภาษาและวัฒนธรรมร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์