วันที่ 24 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 38/2566 ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมอารี วัลยเสวี ชั้น 2 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. Food research cluster/collaboration ร่วมกับนักวิจัยของไทย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านอาหารและโภชนาการภายในมหาวิทยาลัย
2. ความร่วมมือกับ Harvard Medical School เพื่อสร้างศักยภาพในการวิจัย และตรวจวิเคราะห์ Nutrient Biomarkers เพื่อเป็น High throughput Core Laboratory ในการวิจัย ศึกษาสำรวจด้านโภชนาการของภูมิภาค
3. การให้บริการวิเคราะห์ขั้นสูงด้านอาหาร และโภชนาการ เช่น สาร THC และ CBD จากกัญชาในอาหาร, Targeted/Untargeted Metabolome, Unknown Active Compounds จากสารสกัดจากพืชและสัตว์ สาร PAHs
4. การจัดทำหลักสูตรปริญญาเอก Joint Degree กับ Rutgers University, สหรัฐอเมริกา: Functional Food and Medical Nutrition
5. การให้บริการฝึกอบรมที่ทันสมัยด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของประชากร และเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและสังคม
6. ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ หรืออาหารสุขภาพ เพื่อการพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์
2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health การขยายฐานข้อมูล คุณค่าสารอาหารให้ครอบคลุม Branded products
2. Health & Wellness
2.1 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการ ด้าน Health & Wellness ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
– โครงการผลักดันให้เกิด การกำหนดมาตรฐานความข้นหนืดอาหารตาม IDDSI โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
2.2 Innovation in Health & Wellness
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เช่น UHT-blenderized diet, Food for dysphagia, Human milk fortifier
3.Structure & HR Resource
3.1 การปรับโครงสร้าง
– ยุบเลิกโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด “ต้นน้ำ” ปรับเปลี่ยนเป็นโรงงานแปรรูปกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบผง CRA/CRO
3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
– Co-Faculty กับวิทยาเขตกาญจนบุรี
4. Social Enterprise
4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
– การผลิต Human Milk Fortifier
– การผลิต และ พัฒนา Food for rare disease
– การสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตร/Premium food
5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods
– GDQS และ regional reference biomarker laboratory
– MU-Cohort study
– Food environment mapping
5.2 Inclusiveness
– One Country One Priority Product (OCOP)
– การบริหารจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหายาก ร่วมกับ สปสช.
5.3 Capacity Building
– สร้างความร่วมมือในต่างประเทศพัฒนาบุคลากรในหัวข้อที่มีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต เช่น Food for dysphagia, Palliative nutrition, Food and nutrition for longevity
– การดึงทุนต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษา (ทุนระดับบัณฑิตศึกษา จาก PTFI)
5.4 Sustainable City & Community (Climate change)
– โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (RISE)
– การศึกษาวิจัย ด้าน Biodiversity for food and nutrition ร่วมกับ CGIAR
– INMU-ETH Joint unit
3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
1. การศึกษา
– PhD. Program Doctor in Functional Food and Nutrition (International Program)
– Rutgers University and Institute of Nutrition “Food and Sustainability: Study Abroad”
– UMASS, Amherst (Department of food science) Food texture engineering and plant-based protein
– Tokyo University of Marine Science and Technology Collaboration (Researcher and student mobility)
2. การวิจัย
– Joint unit (INMU-ETH)- One health, safe guarding global microbiome
– Joint unit (INMU-HARVARD)
– โรงงานอาหารต้นแบบมาตรฐาน GMP เพื่อนวัตกรรมและการวิจัย
– เสริมสร้างการวิจัยเชิงพื้นที่ เช่น กาญจนบุรี (Co-faculty Possibility)
– Micronutrient Biomarkers Consensus-Building Program
– การเข้าร่วม Microbiota Vault Initiative ETH (Biodiversity preservation, One Health Concept)
– Johns Hopkins University research collaboration
– การเตรียมการเพื่อการจัดตั้ง CRA/CRO ด้านอาหาร
3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
– โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Household Food Security for Nutrition Wellbeing”
– Training on Food and Nutrition Security: Rockefeller, FAO, WHO
– IAEA Regional Training Course on Applications of Stable Isotope Techniques to Assess Protein Quality of Sustainable Food Sources for Improving Maternal and Child Nutrition in Asia
– การอบรมผู้สัมผัสและประกอบการด้านอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
4. Campus Operations
– สนับสนุนความก้าวหน้าทางสายอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุน เช่น โครงการ R2R INMU Clinic
– ส่งเสริม Digital Skill ของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
– ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพกาย/จิต แก่บุคลากร
– มีแผนบริหารความเสี่ยงรองรับการปฏิบัติงานในอนาคต