นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๔ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๔ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. นักศึกษาระดับปริญญาตรีสอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล Science Citation Index Expand (SCIE) ซึ่งอยู่ใน Web of Science Core Collection (2019-2020)
๓. พัฒนาศักยภาพของศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ ณ จังหวัดลำปาง โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่
๔. การรับรองมาตรฐานสากลในการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ในส่วนของโลหะหนัก

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรอง ASEAN AUN-QA อย่างน้อย ๑ หลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอนระดับบัณฑิตวิทยาลัยในรูปแบบ MAP-C ให้บุคคลทั่วไปเลือกเรียนได้ตามความสนใจ และพัฒนาการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ร่วมกับ GISTDA
๒. พัฒนาและขับเคลื่อนกลุ่มวิจัย งานวิจัยที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ และเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
๓. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล SCIE ใน ISI Web of Science และขอการรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จำนวน ๒ พารามิเตอร์ (ตะกั่ว และแมงกานีส) รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี ตามมาตรฐาน ESPReL ครบทั้ง ๑๐ ห้องปฏิบัติการ และพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ จ.ลำปาง
๔. ติดตั้งสถานีถาวรในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และติดตั้งและพัฒนาเครือข่ายระบบนำทางด้วยดาวเทียม ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่นำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของกรรมการสภามหาวิทยาลัยมาสู่การปฏิบัติ และมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานทุกด้าน เช่น World Ranking, International Environmental Standard รวมทั้งมีความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง คณะฯ ควรกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเสนอหลักสูตรระยะสั้น ที่ผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิตเพื่อต่อยอดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้ และได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองการจบหลักสูตร เพื่อตอบสนองความต้องการของคนวัยทำงาน และเสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรร่วมระหว่างส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งนำองค์ความรู้ที่มี จัดทำเป็น VDO Clip เผยแพร่สู่สาธารณะ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก และสร้างความร่วมมืองานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาของสังคม นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับประเทศ รวมทั้งเสนอเพิ่ม Digital Skill ผนวกเข้ากับความเชี่ยวชาญทางด้านสิ่งแวดล้อมที่คณะฯ มี เพื่อสร้าง Startup ด้านสิ่งแวดล้อม

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๔ ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๔ ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบัน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. จัดทำระบบสารสนเทศอัจฉริยะด้านภาษาและวัฒนธรรม
๒. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการวิจัยพัฒนาระบบการศึกษาและนวัตกรรมในพื้นที่พิเศษ (พหุชาติพันธุ์-พหุวัฒนธรรม) แถบชายแดนไทย-พม่า และขยายให้ครอบคลุมชายแดนทั่วประเทศ
๓. ยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยเปิดศูนย์อบรมทางภาษาและวัฒนธรรม และการศึกษาแบบครบวงจร (จัดการอบรมภาษาและวัฒนธรรม รับรองคุณภาพด้านภาษา (MU-Thai test) และสร้างผู้ประกอบการด้านภาษาฯ)
๔. สร้างความเข้มแข็งทางเศรฐกิจและแข่งขันได้ โดยวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่เมืองรองและภูมิภาค (จีน อินเดีย และอาเซียน) ด้วยต้นทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
๕. เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้วยวัฒนธรรม ด้วยโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวไทยผ่านภาษาและวัฒนธรรมร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และกรมกิจการผู้สูงอายุ (กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ)

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. RILCA R&D Sandbox โครงการ Sandbox My Q-My H ควบคู่ MU Talents & RILCA Talents
๒. สร้างเครือข่ายการวิจัยและการศึกษาแบบครบวงจรในลักษณะ Strategic partner ทั้งการวิจัยร่วมและการพัฒนาหลักสูตร Double Degree (หลักสูตรนานาชาติ) กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อมุ่งยกระดับ Subject Ranking ด้านภาษาและวัฒนธรรม
๓. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในมิติภาษา วัฒนธรรม พหุวัฒนธรรม และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการทำงานวิจัยที่มีการต่อยอด สร้างนวัตกรรม สร้างผลกระทบต่อสังคมและการชี้นำทางนโยบาย รวมทั้ง การจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น และการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในและนอกดิจิทัลแพลตฟอร์ม
๔. RILCA Smart Language and Cultural Diversity on Digital Platform
๕. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรม-พหุภาษา ภายใต้แนวคิด MU Cultural Quarter

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเป็นอย่างดี มีผลงานหลากหลายเกินเป้าที่กำหนดและสอดคล้องกับ SDGs โดยสร้างงานวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายในระดับประเทศ เพื่อการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียนในด้านภาษาและวัฒนธรรม และขอให้สถาบันฯ เพิ่มการดำเนินงานให้ครอบคลุมมิติของ SDGs ยิ่งขึ้น เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นศูนย์กลางการรวบรวมภาษาชาติพันธุ์ เพื่อมิให้ภาษาชาติพันธุ์สูญหายไป และสามารถนำมาเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในภูมิภาคได้ โดยการจัดอบรมภาษาและวัฒนธรรม รับรองคุณภาพด้านภาษา (MU-Thai test) ให้เป็นสากลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย เช่น เป็นศูนย์รับรองคุณภาพด้านภาษาพม่า ลาว และจีน เป็นต้น สถาบันฯ ควรวางแนวทางการให้องค์ความรู้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อสืบทอดการใช้ภาษาไทย ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาต่างชาติได้อีกด้วย

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๔ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๔ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. การพัฒนาศูนย์วิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓
๒. การพัฒนา “Health Literate Faculty” พญาไท ศูนย์วิจัยสูงเนิน Health Literate District and Healthy District” เพื่อเป็น Inter Professional Education
๓. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมด้าน Implementation Sciences เพื่อพัฒนางาน Megacity Health and Global Health เพื่อการอบรมและปฏิบัติการจริง ปี ๒๕๖๓
๔. การจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบ และกลุ่มพระสงฆ์ เป้าหมาย เปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
๕. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรมด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป้าหมาย เพิ่มร้อยละ ๑๐
๖. การพัฒนานักศึกษา MUHIDEF (Health Literacy, English) อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า ได้แก่
๑. การพัฒนา Flexi Education หลักสูตร MD MPH ออนไลน์ (ปีการศึกษา ๒๕๖๕)
๒. การพัฒนาศูนย์บริหารจัดการสร้างสุขภาพและควบคุมโรคในชุมชนเขตพญาไท ราชเทวี ร่วมกับย่านนวัตกรรมโยธี(เดือนพฤษภาคม – กันยายน ๒๕๖๔)
๓. การพัฒนาโครงร่างวิจัยที่เป็น Frontier and Digital Public Health (เดือนพฤษภาคม.- กันยายน ๒๕๖๔)
๔. การพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ Health Literate and Healthy District สู่การเป็น Balancing Public Health (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๕. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมนานาชาติที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ด้าน Megacity Health and Global Health (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๖. การเพิ่มรายได้ด้วยการจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบ และกลุ่มพระสงฆ์ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๗. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรม ด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพิ่มร้อยละ ๑๐ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๘. การพัฒนานักศึกษาให้ได้คุณภาพเพื่อเป็นบัณฑิตพร้อมใช้ และผ่าน MUHIDEF (Health Literacy, English) อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในแนวทางการดำเนินงานทั้งในระดับพื้นที่และการสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ จากสถานการณ์ COVID-19 คณะฯ ได้จัดทำโครงการที่ชี้นำสังคมและร่วมมือกับทุกภาคส่วนด้านสาธารณสุขในการป้องกันลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 พัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสามารถสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา โดยสนับสนุนให้คณะฯ ในการทำงานกับชุมชน การทำงานเชิงพื้นที่ Area Based Approach และการพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ ทั้งนี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์สามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ได้แก่ เป้าหมายที่ ๙ Industry innovation and infrastructure เป้าหมายที่ ๑๑ Sustainable cities and communities เป้าหมายที่ ๑๒ Responsible consumption and production และเป้าหมายที่ ๑๓ Climate action และขอให้คณะฯ จัดทำ Clip Video เพื่อนำเสนอระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน (Home Isolation-Community Isolation) เพื่อเผยแพร่ Health Literacy เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการสร้าง Model สร้างเสริมสุขภาพที่มีความชัดเจนโดยใช้รูปแบบ ชุมชน +Knowledge Management+ Digital โดยร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีความโดดเด่นและแตกต่างในด้านสาธารณสุขศาสตร์

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๔ ของคณะเทคนิคการแพทย์

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๔ ของคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. หลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้งสองสาขาได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA และการได้รับรอง TQC
๒. พัฒนา National Clinical Laboratory Validation Center เพื่อส่งเสริมการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย
๓. พัฒนา National Platform ทดสอบอาหารเพื่อสุขภาพแห่งอนาคต รองรับทิศทาง Food for the Future
๔. ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และคลินิกสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มวัยและสังคมผู้สูงอายุ และเป็นแหล่งเรียนรู้และการปฏิบัติทางวิชาชีพ
๕. ขยายศักยภาพการเป็นแม่ข่าย ดูแลมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ ในระดับอาเซียน

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. การพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้เรียน และมีมาตรฐานระดับอาเซียน
๒. การพัฒนานวัตกรรมจากงานวิจัย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ และอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพแห่งอนาคต
๓. การเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ Medical devices & Health and Food products
๔. ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแบบครบวงจร เพื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มวัย และสังคมผู้สูงอายุ และเป็นแหล่งเรียนรู้ และการปฏิบัติทางวิชาชีพ
๕. การยกระดับมาตรฐานคุณภาพ และศักยภาพทางวิชาการแก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายระดับภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชม คณบดีและทีม ที่ได้พัฒนาในด้านต่างๆ อย่างดีเยี่ยม คิดนอกกรอบ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตได้อย่างดี มีผลงานชี้นำสังคมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ รวมถึงคณะฯ ได้ตอบโจทย์ SDGs เป้าหมายที่ ๓ Good Health and Well-Being ได้อย่างชัดเจน สร้างระบบความมั่นคงด้านสุขภาพ เช่น ด้านความปลอดภัยของอาหารเสนอสร้างองค์ความรู้ และวิธีการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยให้กับประชาชน ด้านเครื่องมือแพทย์ มาตรฐานการตรวจสอบและประเมินเครื่องมือแพทย์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับคณะ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้คณะ ขยายเครือข่ายความร่วมมือทางด้านสาธารณสุขในภูมิภาคอาเซียน และแนวทางการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการ (EQAS) ที่เหมาะสมกับบริบทของคนไทยที่สามารถกำหนดเป็นนโยบายของประเทศต่อไป นำองค์ความรู้ที่มีจัดทำเป็น VDO Clip เผยแพร่สู่สาธารณะ เมื่อเทียบเคียงผลงานวิจัยในระดับประเทศแล้ว คณะเทคนิคการแพทย์ อยู่ในระดับแนวหน้า จึงเห็นควรให้คณะ เทียบเคียงผลงานวิจัยในต่างประเทศด้วย และมหาวิทยาลัยพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของคณะฯ ในทุกด้าน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๔ ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๔ ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔–๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. มุ่งเป็น World-Class Research Institute ทั้งด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งของศูนย์วิจัยฯ และหลักสูตร
๒. จัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์และนวัตกรรมกุ้ง เพื่อรองรับการวิจัยมุ่งเป้าและการถ่ายทอดองค์ความรู้ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการส่งออก
๓. โครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ที่สร้างองค์ความรู้ในระดับ frontier นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง เช่น วัคซีน JE
๔. มี Biologics Candidates ต้นแบบที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์อย่างน้อย ๑ ตัว

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. โครงการศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง
๒. โครงการจัดทำห้อง Sleep lab และ core facility เพื่อรองรับการศึกษาวิจัยด้าน chronobiology (Sleep Laboratory & Chronobiology Core Facility)
๓. โครงการปรับปรุงอาคารวิจัยและพัฒนาวัคซีน phase ๑-๒
๔. โครงการภายใต้ reinventing university (๑) ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอกสาขาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ (๒) จัดทำหลักสูตรฝึกอบรม Upskill/Re-skill ทางด้านการผลิตชีววัตถุ การตรวจสอบคุณภาพชีววัตถุและวัคซีน และ (๓) อาคารวิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการ BSL3
๕. โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิต recombinant protein และ biologics (๑) อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตรกระบวนการผลิตโปรตีน/biologics (๒) เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ระดับ TRL4 ที่ผ่านการทดสอบในระดับสัตว์ทดลอง และ (๓) การพัฒนาต้นแบบระดับอุตสาหกรรม หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือจำหน่ายเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลซึ่งเห็นถึงการพัฒนาในทุก ๆ ด้านอย่างชัดเจน สามารถทำงานได้อย่างครบวงจร และมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs รวมทั้งสถาบัน ฯ สามารถเป็นต้นแบบให้กับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย ในเรื่องการเพิ่มผลงานตีพิมพ์ (Publication) และผลงานที่ถูกอ้างอิง (Citation) รวมทั้งเรื่อง ก.พ.อ./เชี่ยวชาญคลินิกได้ และมีนักวิจัยที่มีประสบการณ์สูง เสนอนำองค์ความรู้ที่มีร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้นำผลงานวิจัยของสถาบันฯ จัดทำเป็น VDO Clip เผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับสถาบันฯ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๔ ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๔ ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทน ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารศูนย์ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. เพิ่มจำนวนการให้บริการสัตว์ทดลอง โดยเฉพาะ หนูตะเภา กระต่าย ให้เพียงพอต่อความต้องการของ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๒. ยกระดับคุณภาพสุขภาพ หนูเม้าส์จากสัตว์ทดลองในระดับ Monitor animal เป็นสัตว์ทดลองในระดับ Specific Pathogen Free (SPF) animals พัฒนาบุคลากร โดยการจัดทำโครงการฝึกปฏิบัติการดูแลหนูเม้าส์ในตู้เลี้ยงสัตว์ปลอดเชื้อสมบูรณ์ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง พัฒนาการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลอง
๓. วิจัยพัฒนาและยกระดับความสามารถทางห้องปฏิบัติการ เพื่อรองรับการเป็นศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสุขภาพ เพื่อรองรับการผลิตสัตว์ SPF และรองรับการให้บริการแก่ลูกค้าภายนอก จัดหาอุปกรณ์เพื่อเตรียมพร้อมของห้องปฏิบัติการ ในการตรวจคุณภาพสุขภาพ การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
๔. ขยายและเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงาน ให้บริการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ตามหลักการ OECD GLP วิธีการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง และการทดสอบความเป็นพิษของวัคซีน แบบให้ครั้งเดียวและแบบให้ซ้ำ

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ยกระดับคุณภาพสุขภาพ หนูเม้าส์จากสัตว์ทดลองในระดับ Monitor animals เป็นสัตว์ทดลองในระดับ Specific Pathogen Free (SPF) Animals
๒. วิจัยพัฒนา และยกระดับความสามารถ ทางห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการเป็นศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลองของประเทศ
๓. ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานให้บริการวิจัย และทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (หน้ากากอนามัยและหน้ากากชนิด N95) จาก สมอ.
๔. ศูนย์ตรวจสอบความปลอดภัยด้านเครื่องมือแพทย์ ในปี ๒๕๖๕
๕. ขยาย และเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงาน ให้บริการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ ตามหลักการ OECD GLP อย่างน้อย ๒ วิธีการทดสอบต่อปี
๖. บริหารจัดการวัสดุรองนอนที่ใช้แล้ว (Soiled bedding Management) เพื่อการจัดการอย่างยั่งยืน
๗. การบริหารจัดการ การใช้พลังงานไฟฟ้า โดยการใช้พลังงานทดแทน (Solar Cell) เพื่อลดค่าไฟฟ้าของศูนย์ฯ
๘. พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ที่ทุ่มเทพัฒนา ยกระดับความสามารถ และใช้ระบบมาตรฐานสากล ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถธำรงรักษาระบบมาตรฐานคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ และทำให้ศูนย์ฯ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง อีกทั้งด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคารสถานที่ ได้เสนอให้รับการสนับสนุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ เสนอให้ของบประมาณแผนงานบูรณาการ Eastern Economic Corridor (EEC) ด้วยศูนย์ฯ มีศักยภาพในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG model ซึ่งช่วยในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศในภาคการส่งออก นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้ศูนย์ฯ พิจารณาเพิ่มเติมบริการวิจัยทดสอบผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับของเล่นเด็ก เพื่อให้มีมาตรฐานความปลอดภัยยิ่งขึ้น

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๔ ของสถาบันโภชนาการ

วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๔ ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. โครงการปรับโรงงานอาหารต้นแบบ เพื่อให้ได้มาตรฐาน Good Manufacturing Practice : GMP
๒. Flexible Courses ที่เปิดให้บุคคลภายนอกลงทะเบียนเรียนได้ ทั้งในรูปแบบ MAP-C และ MAP-Ex
๓. กระตุ้นให้ภาคเอกชนมาร่วมวิจัยกับสถาบันภายใต้กรอบ FOOD INNOPOLIS และการเป็น Node การให้ทุนของแหล่งทุน เช่น สำนักงานวิจัยการเกษตร
๔. Frontier Research พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. Food research cluster/collaboration ร่วมกับนักวิจัยของไทย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านอาหารและโภชนาการภายในมหาวิทยาลัย
๒. ความร่วมมือกับ Harvard Medical School เพื่อสร้างศักยภาพในการวิจัย และตรวจวิเคราะห์ Nutrient Biomarkers เพื่อเป็น High-throughput Core Laboratory ในการวิจัย ศึกษาสำรวจด้านโภชนาการของภูมิภาค
๓. การให้บริการวิเคราะห์ขั้นสูงด้านอาหาร และโภชนาการ เช่น สาร THC และ CBD จากกัญชาในอาหาร, Targeted/Untargeted Metabolome, Unknown Active Compounds จากสารสกัดจากพืชและสัตว์ สาร PAHs
๔. การจัดทำหลักสูตรปริญญาเอก Joint Degree กับ Rutgers University, สหรัฐอเมริกา: Functional Food and Medical Nutrition
๕. การให้บริการฝึกอบรมที่ทันสมัยด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของประชากร และเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและสังคม: ศูนย์อบรมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการอบรมด้านโภชนาการตามวัยและสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย
๖. ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ หรืออาหารสุขภาพ เพื่อการพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยได้ชื่นชมและเสนอให้มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสถาบันโภชนาการ ปรับให้การบริหารจัดการสถาบันฯ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น โดยการทำให้ครบวงจรเพื่อประโยชน์ของประชาชน เศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และเพื่อให้สถาบันฯ สามารถเลี้ยงตนเองได้อย่างมั่นคง การยกระดับ Visibility สถาบันฯ ให้โดดเด่น และการสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยเผยแพร่องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการให้ประชาชนทั่วไปรู้จักและเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างชื่อเสียงให้สถาบันฯ และเป็นที่พึ่งของประชาชน รวมถึงเสนอให้สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนเพิ่มเติม อาทิ CPF BETAGRO สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งด้าน Functional Food and Medical Nutrition การผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการมากยิ่งขึ้น และเสนอการจัดทำข้อมูลด้านโภชนาการต้าน COVID-19 ในส่วนของงานวิจัยขอให้สถาบันฯ สนับสนุน Research Cluster ด้านอาหารและโภชนาการร่วมกับส่วนงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลมาธิบดี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เป็นต้น และขอให้สถาบันฯ ดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่ 2: ZERO HUNGER เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๔ ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๔ ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. Research Cluster ด้าน Science, Technology and Society (STS)
๒. การสัมมนาวิชาการร่วม ๑๕ สถาบัน ด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เรื่อง iHumanities: เทคโนโลยีสุขภาพ และชีวิต (๗-๑๑ กันยายน ๒๕๖๓)
๓. การพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติด้าน Social Studies of Science, Technology and Health
๔. ผลักดันการทำงานเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมผ่านกิจกรรมการวิจัยและการผลักดันทางวิชาการของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเพศสภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ ศูนย์วิจัยสังคมไม่ทอดทิ้งกัน และศูนย์จีนศึกษาและโลกาภิวัตน์เอเชีย
๕. การพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการด้านพุทธศาสตร์ศึกษา (Buddhist Studies) และอาชญวิทยาและงานยุติธรรม

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. การพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท Society Design and Development Program (การออกแบบและพัฒนาสังคม)
๒. โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
๓. ขยายเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการของ International Society and Health Consortium
๔. ความร่วมมือในการพัฒนารายวิชาและการวิจัยร่วมทางด้าน Developmental Studies ภายใต้ Thai-UK World Class University Consortium
๕. SML 3-D Expertise mapping framework
๖. การพัฒนา Management Information System เพื่อยกระดับประสิทธิภาพขององค์กร

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งมี Strategic Approaches และ Strategic Foci ที่ชัดเจนและท้าทาย รวมถึงมีโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเสนอให้มีโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และนำวิกฤติ Covid-19 มาเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะฯ เพื่อไปสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) พร้อมทั้งเสนอสร้าง Platform การเรียนรู้สำหรับประชาชนในทุกระดับเพื่อนำองค์ความรู้ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง และเสนอการจัดทำ Joint Degree Program ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นต้น

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๔ ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๔ ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. พัฒนาระบบบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดให้ทัดเทียมกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
๒. มุ่งสู่การรับรองมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2015 และมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001: 2015 ภายในปี ๒๕๖๓
๓. ขยายงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้สมรรถนะหลักขององค์กร
๔. Reskill – Upskill บุคลากรให้มีสมรรถนะและทักษะทางวิชาชีพได้มาตรฐานสากล และพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีให้สามารถรองรับกับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ระบบดิจิทัล (Digital Learning Platform)
๕. พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล คลังสารสนเทศสถาบัน คลังข้อมูลจดหมายเหตุ ให้ได้มาตรฐานสากลตามหลักการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และมีความยั่งยืนในการเก็บรักษาข้อมูลระยะยาวตามหลักการของ Data Curation

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. จัดตั้ง Analytic Research Center เป็นศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ ISO 11620
๒. สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ ๒๑
๓. โครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการให้บริการห้องสมุดสู่สถาบันการศึกษาทุกระดับในประเทศไทย (Library to Classroom) และ Library Digital KM
๔. โครงการส่งเสริมการเข้าถึงผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยสื่อวีดิทัศน์ ผลิตรายการ The Author
๕. โครงการ Mahidol Historical Learning Experience “เด็กไทย ใจมหิดล” จัดทำ Games Application เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยมหิดล และใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนสำหรับสถานศึกษาเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและกรุงเทพฯ
๖. โครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลให้กับโรงเรียนในชุมชนโดยรอบ และเผยแพร่เรื่องราวเชิงประวัติและผลงานของมหาวิทยาลัยไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ
๗. ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ กับสมาชิกภาคี ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค PULINET Plus และกิจกรรมความร่วมมือกับ AUNILO: Libraries of ASEAN University Network ในการร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ และพัฒนากิจกรรมวิชาการ รวมถึงการลงนามในหนังสือเก็บบันทึกข้อตกลงความเข้าใจที่ตรงกัน (MOU) กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยระดับสากล

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชม หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เป็นศูนย์รวมข้อมูล ความรู้ของมหาวิทยาลัย พร้อมให้ข้อเสนอแนะ อาทิ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ ๒๑ สร้างความร่วมมือกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างความร่วมมือกับหอสมุดของมหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เสนอให้หอสมุดฯเป็นศูนย์กลางจัดเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและสืบค้นข้อมูลได้ง่าย เพิ่มเติมการจัดเก็บ VDO ในหอสมุดฯ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์วิธีการเข้าใช้งาน E-Journal สำหรับอาจารย์เพื่อเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สร้างความแตกต่างจากห้องสมุดอื่น เช่น การเป็น Personal Library และ Library Ecosystem จัดพื้นที่การเรียนรู้ของหอสมุดฯ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน เช่น มีพื้นที่ให้นักศึกษาสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัย ทั้งนี้ ขอให้กำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจน เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบัน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. ผู้นำตั้งเครือข่ายด้านวิชาชีพการถ่ายทอดเทคโนโลยีของประเทศไทย เพื่อพัฒนามาตรฐาน ในระดับสากล
๒. ตั้งศูนย์ University – Industry Collaboration สร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับภาคเอกชน
๓. ตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ (Startup Incubator) เพื่อให้มีธุรกิจเกิดใหม่ จากนวัตกรรมมหาวิทยาลัย
๔. ตั้งบริษัทร่วมทุนของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกลไกในการนำผลงานวิจัย – นวัตกรรม ออกสู่สังคมได้อย่างยั่งยืน
๕. สร้างอาคารศูนย์กลางงานวิจัย และนวัตกรรม แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. เป็นผู้นำร่วมกับเครือข่าย TRUST (Thailand Research University Society for Technology Transfer) ในการพัฒนาศักยภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีของนักวิจัยและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
๒. สร้างรายได้จากผลงานทรัพย์สินทางปัญญา ให้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๓. สนับสนุนการดำเนินการด้านการบริการวิจัย และบริการวิชาการ ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๔. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) กับภาคอุตสาหกรรม ให้มีโครงการวิจัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๕. พัฒนาศูนย์บ่มเพาะ (Incubation) และศูนย์เร่งสปีด (Accelerator) เพื่อผลักดันให้เกิดบริษัท Startup จากนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
๖. บริหารงานบริษัท M Venturer ให้มีอัตราการเติบโตของผลประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ประเทศชาติ โดยในที่ประชุมได้เสนอ ให้ทำการประชาสัมพันธ์สถาบันฯ ให้เป็นที่รู้จัก ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเพิ่มโอกาส ในการใช้ประโยชน์ และการสร้างความร่วมมือ ด้านเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เสนอให้มีการบูรณาการศาสตร์ในงานวิจัย เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ในการแสวงหาวิธีการลดต้นทุน ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และประสานความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันเจรจากับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ในการจดสิทธิบัตรให้นักวิจัยได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ภายหลังสถานการณ์ COVID – 19 สถาบันฯ ควรมีแผนดำเนินการมหกรรม ROADSHOW และ WORKSHOP เพื่อสื่อสารกับนักวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม อีกทั้ง ขอให้สถาบันฯ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน