นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๔ ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๔ ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ผลิตผู้นำการทำงานเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สันติภาพ และการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งโดยสันติวิธีทั้งในประเทศและทวีปเอเชีย เป็นผู้ประสานงานหลักสูตร MA in Human Rights and Democratization ภายใต้ Global Campus of Human Rights ในระดับภูมิภาค Asia-Pacific ตั้งแต่ปี ๑๕๕๙ เป็นต้นมา
๒. คณาจารย์ได้รับทุนโครงการวิจัยจากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างนวัตกรรมและผลักดันนโยบายสำคัญของประเทศและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการพัฒนาประชาธิปไตย กระบวนการสันติภาพ และการคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง มีนวัตกรรมที่จดแจ้งลิขสิทธิ์เป็นสื่อการสอนเรื่องการป้องกันการค้ามนุษย์
๓. มีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจระหว่างศาสนาและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคม ได้แก่ การส่งเสริมการรวมตัวของชาวพุทธ และการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและพรรคการเมืองในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๔. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลนอร์เวย์ และเดนมาร์คให้ดำเนินการจัดฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาให้กับคณาจารย์และผู้สอนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในภูมิภาค ASEAN โดยมีการขยายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา
๕. ได้รับความไว้วางใจให้เป็นสำนักเลขาฯ ของเครือข่ายต่างๆ ในระดับภูมิภาค คือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการศึกษาสิทธิมนุษยชน (ASEAN University Network-Human Rights Education: AUN-HRE) ; โครงการ Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in ASEAN/Southeast Asia (SHAPE-SEA) และโครงการศาสนาเพื่อสันติภาพ สภาศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Religions for Peace, Interreligious Council of Thailand)

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มุ่งพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบ outcome-based education ในระดับบัณฑิตศึกษา และมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในวงกว้าง โดยมีแผนปรับปรุงวิชาเลือกระดับปริญญาตรีให้บรรจุอยู่ในหลักสูตร MUGE ของมหาวิทยาลัย
๒. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้แก่ เป้าหมายที่ ๔, ๕,๑๐ และ ๑๖
๓. ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา ขยายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรทางการศึกษาชาวเมียนมาร์ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานขนาดเล็กที่มีศักยภาพสูง มีความมุ่งมั่นในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาอย่างเต็มที่ สามารถทำงานขนาดใหญ่ได้ดี มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานในระดับนานาชาติ รวมทั้งมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs และเสนอเพิ่มการดำเนินงานให้ครอบคลุมมิติของ SDGs ยิ่งขึ้น และบูรณาการองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาเข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น Health Science/Science and Technology เนื่องจากเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกวิชาชีพควรมี รวมทั้งควรหาคู่ความร่วมมือกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างผลงาน/นโยบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคมและประเทศชาติ และเผยแพร่งานวิชาการและนำผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา จัดทำเป็น VDO clip เผยแพร่สู่สาธารณะ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๔ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๔ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. การวิจัยเชิง Comparative Studies ในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียและอื่นๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
๒. การวิจัยที่เป็น Social Innovation (สหสาขาวิชาและใช้ประโยชน์เพื่อสังคม)
๓. ส่งเสริมให้ HAPPINOMETER เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติให้มากขึ้น
๔. อย่างน้อย ๑ หลักสูตรได้รับการประเมิน AUN-QA ในระดับมหาวิทยาลัย (3.0) และระดับ ASEAN (4.0)
๕. งานวิชาการสำหรับวาระครบรอบ ๕๐ ปีการสถาปนาสถาบันฯ (๑๔ พ.ย. ๒๕๖๔)
๖. การจัดตั้งศูนย์วิชาการ ASEAN Population and Physical Activity

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ส่งเสริมการต่อยอดการทำงานของ HAPPINOMETER และโครงการที่เกี่ยวข้องกับ HAPPINOMETER โดยเน้นกิจกรรมแบบออนไลน์/hybrid และสร้างศักยภาพนักสร้างสุข
๒. ส่งเสริม TPAK ให้เป็น ASEAN Population and Physical Activity Center และ WHOCC
๓. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาผ่านการประเมิน AUN-QA 3.0 และ ASEAN 4.0
๔. พัฒนา Mahidol Migration Center (MMC) เป็นศูนย์วิจัยร่วม (joint research unit) ในระดับนานาชาติ
๕. ผลักดันให้ Asian Population Association (APA) เป็นภาคีดำเนินงาน (Implementing partner) ของ UNFPA
๖. พัฒนาความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างวิจัยขอแหล่งทุนต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายให้กาญจนบุรีเป็นพื้นที่ศึกษาและเป็น Social lab
๗. ผลักดันให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy workplace) โดยใช้งานวิจัยของสถาบันฯ เป็นกรอบในการขับเคลื่อน

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ที่มีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิจัยระดับนานาชาติ และสถาบันฯ ได้ดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งเสนอการสร้างความร่วมมือกับส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดผลงานที่มี Impact สูง รวมถึงเสนอการมีบทบาทชี้นำเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้าน Ageing Society เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย และสนับสนุน HAPPINOMETER ที่ได้รับการยอมรับจากหลายองค์กร และเสนอให้นำไปใช้เพื่อสร้างเสริมความสุขให้บุคลากรในสถานพยาบาล อีกทั้งการเสนอการนำ AI และการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยสนับสนุนในการเก็บข้อมูลการวิจัย ซึ่งปัจจุบันสถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ดำเนินการแล้ว

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๔ ของคณะเภสัชศาสตร์

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๔ ของคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. เปิด Joint Unit ร่วมกับ Institute of Aging and Chronic Disease, U. of Liverpool เพื่อสร้างความเป็นผู้นำการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์การชะลอวัยในระดับภูมิภาค
๒. ขยายผลความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาคเอกชนสู่การนำความรู้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์
๓. ผลักดันให้วารสารของคณะฯ เข้าสู่ฐานข้อมูล Web of Sciences
๔. นำหลักสูตรปริญญาตรีเข้าสู่การรับรองทั้งในระดับภูมิภาค (AUN-QA) และระดับโลก (Accreditation Council of Pharmacy Education – ACPE) เป็นหลักสูตรแรกของไทย
๕. เปิดหลักสูตร PharmD (International) เพื่อรองรับการขยายตัวของการศึกษานานาชาติในประเทศและภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่ international visibility และความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
๖. เป็นผู้นำทางวิชาการด้านการพัฒนามาตรฐานคุณภาพยาโดยการทำงานร่วมกับองค์กรระดับโลก (United States Pharmacopoeia – USP) ในโครงการ Promoting Quality Medicine Plus
๗. จัดตั้ง ASEAN PharmNet Secretariat Office เพื่อความเป็นผู้นำทางเภสัชศาสตร์ในระดับภูมิภาค และสร้างงานวิจัยที่มี impact ระดับโลกและรวมไปถึงการดึงแหล่งทุนระดับโลกเข้าสู่เครือข่ายและคณะฯ

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า ได้แก่
๑. ผลงานวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น ๑.๕ เรื่อง/คน/ปี และมีจำนวนการอ้างอิงเฉลี่ย 10 ครั้ง/เรื่อง
๒. ผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่ท้องตลาดทั้งโดยตรงและผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่บนความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ และให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย
๓. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก AUN-QA และ ACPE เป็นหลักสูตรแรกของไทย
๔. หลักสูตร PharmD (International) เริ่มดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. ๒๕๖๖
๕. โรงงานยาของคณะเริ่มเปิดดำเนินการปี พ.ศ. ๒๕๖๖
๖. ร่วมกับส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมศักยภาพของคณะเภสัชศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการเชื่อมโยงการวิจัยพื้นฐานสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ และได้รับความไว้วางใจจากภาคเอกชนและอุตสาหกรรม เพื่อการผลักดันเชิงพาณิชย์และนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและประชาชน ด้วยยา ซึ่งเป็นความมั่นคงและความหวังของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการยกระดับและเพิ่มมูลค่าของพืชสมุนไพรที่สำคัญ เพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG และอุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศ เสนอให้มีการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการเปิดโรงงานยาให้แล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการให้เกิดรายได้ ซึ่งคณะฯ มีแผนเจรจาร่วมทุนกับภาคเอกชน และขอให้คณะฯ จัดทำองค์ความรู้และผลิต Clip Video เพื่อสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการใช้สมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร และกระชายขาว การพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัยและทุกภาคส่วน วางแผนบริหารการจัดการต้นทุนและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๔ ของคณะวิทยาศาสตร์

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๔ (Council Visit) ของ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สร้างหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตบุคลากรที่มีทักษะการวิจัย เป็นที่ยอมรับในสากล/มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
๒. สนับสนุนนักวิจัย คณาจารย์ ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๕ ของจำนวนบุคลากรสายวิชาการ และผลิตผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในการแก้ปัญหาของสังคม จำนวน ๒ เรื่อง ภายในปี ๒๕๖๔
๓. Digital Transformation บริหารจัดการองค์กร ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทุกด้าน และสร้างศักยภาพในการเติบโต
๔. ตั้งศูนย์ MUSC solutions เพื่อสร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม จำนวน ๑๐ โครงการ/กิจกรรม ภายในปี ๒๕๖๔
๕. จัดทำผังแม่บท และปรับปรุงด้านการจัดการกายภาพและสิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๔ และได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี ๒๕๖๕

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. มุ่งเป็นอันดับหนึ่งด้านวิจัยวิทย์ของประเทศ เพื่อชี้นำสังคม รวมถึงสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ
๒. มุ่งสร้างบัณฑิตที่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สร้างการศึกษา One Mahidol Science Education ทั้งนักศึกษาวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาหลักสูตรผ่านการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และหลักสูตรยืดหยุ่นระดับปริญญาตรี โดยมีระบบการสอบ AI-based aptitude test
๓. การสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะและใช้ความรู้เพื่อประโยชน์สังคม เพิ่มรายได้จากนวัตกรรม การบริการวิชาการ
๔. Digital Transformation สู่องค์กรที่บริหารจัดการโดยข้อมูลทั้งการศึกษา วิจัยและการดำเนินการ มุ่งจะได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2565 และมีการบริหารจัดการแบบ SDGs-oriented operations
๕. นำ Digital Technology มาใช้เพื่อการศึกษาแบบ hybrid พัฒนาระบบการสอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖. Mahidol Downtown Campus เป็นพื้นที่รวมนวัตกรรมและวิทยาการของคณะวิทยาศาสตร์และพันธมิตร

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ด้วยความร่วมมือของทุกคนในคณะฯ ทำให้เห็นถึงศักยภาพและผลงานที่ชัดเจน ทั้งในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้และงานวิจัยสู่ประชาชน ที่ประชุมได้เสนอแนะเพิ่มเติมในการเชื่อมโยงโจทย์วิจัยร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการและการใช้ประโยชน์ของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การผลักดันผลิตภัณฑ์ชุดตรวจ COVID-19 ที่เป็นงานวิจัยของคณะฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น มีการเสนอให้ยกระดับการวางแผนในโครงการที่โดดเด่นเพื่อให้เกิด Impact สูง และผลตอบแทนในระยะยาว การดึงอาจารย์นักวิจัยผู้ใหญ่เข้ามาเป็น Mentor ร่วมกับนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อขยายเครือข่าย เป็นต้น

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๔ ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๔ ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดี ฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. ผู้สำเร็จการศึกษารหัส ๖๓ เป็นต้นไป มีคุณสมบัติเป็น Global Citizen ตาม Mahidol HIDEF ร้อยละ ๑๐๐
๒. ส่งเสริมและพัฒนาผลงานวิจัยสู่ระดับสากล โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ใน Q1 เทียบกับผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ และคณาจารย์/นักวิจัย ได้รับรางวัลทางวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ อย่างน้อย ๑ คน
๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศมากขึ้น : Kyoto University, Myanmar, Russia และเพิ่มจำนวน Inbound และ Outbound
๔. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานในประเทศ เช่น จัดตั้งศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ประจำภาคกลางตอนล่าง ๑ จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม และจัดตั้งศูนย์ GLOBE เป็นต้น
๕. พัฒนา ECO & Smart Campus ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันโดยการใช้พลังงานทางเลือกและเน้นการนำ IoT, QR Code, RFID, AR/VR มาใช้

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐาน ESPReL ของมหาวิทยาลัย ๑๐๐ % มีการรับรองในรูปแบบ Peer evaluation ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพิ่มขึ้น มีหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเอก เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ๓ หลักสูตร และมีหลักสูตร Non-degree Programs
๒. จัดตั้งกลุ่มวิจัย Research Cluster หรือ Mini – Research Cluster เพิ่มขึ้นเป็น ๒ กลุ่ม
๓. มีการประเมิน Cost-effectiveness ด้านการจัดฝึกอบรมและการรับตรวจวิเคราะห์
๔. พัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของวิทยาเขตกาญจนบุรี ที่ร่วมดำเนินงานและผลักดันให้เกิดผลงานที่โดดเด่นมากมาย สร้างความภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยและจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้วิทยาเขตฯ สามารถดึงทุกภาคส่วนเข้าร่วมดำเนินการได้อย่างดีทั้งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ เป็นตัวอย่างในด้านการบูรณาการให้กับส่วนงานต่างๆ ได้อย่างดียิ่ง และดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ในแต่ละด้านอย่างชัดเจนเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีองค์ความรู้ ในด้านการพัฒนาพื้นที่ และสามารถนำองค์ความรู้เผยแพร่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน รวมทั้งจังหวัดกาญจนบุรีมีทรัพยากรจำนวนมาก ที่ประชุมได้เสนอแนะให้วิทยาเขตนำทรัพยากรที่มีในพื้นที่มาพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ BCG Model เช่น สร้างวิทยาเขตให้เป็น “Sai Yok Velley” และเสนอการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ และเป็นต้นแบบการดำเนินงานในด้านต่างๆ (Role Model) ให้ส่วนงานในมหาวิทยาลัย

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๔ ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน

วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๔ ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัย ระดับ ๓ หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับสูง
๒. ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Training course) เต็มรูปแบบและพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก ๒ หลักสูตร
๓. ระบบ Smart Hospital นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการประชาชน ทั้งด้านความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัย
๔. เป็นศูนย์กลางรองรับการเป็น EC Secretariat ของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yo-thi Medical Innovation District: YMID)
๕. ปรับหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ให้สามารถรับแพทย์ชาวต่างชาติมาศึกษาให้หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านฯ ดังกล่าวได้

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ปี ๒๕๖๔ วางระบบ เตรียมความพร้อม และปี ๒๕๖๕ เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัย ระดับ ๓ หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยี ความปลอดภัยระดับสูง ให้บริการทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกคณะฯ
๒. พัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก ๒ หลักสูตร
๓. เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการเสนอขอทุนต่างประเทศ เพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อปี เช่น ทุน NIH, Wellcome Trust, EU, etc.
๔. จัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM)
๕. ศูนย์วิชาการและวิจัยด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวของประเทศไทย

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งเป็นต้นแบบให้กับส่วนงานต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม มีผลงานวิจัยจำนวนมาก ตอบโจทย์สังคม และสามารถช่วยประเทศชาติในยามวิกฤตจากสถานการณ์ COVID-19 โดยมีการดำเนินงานที่สอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีศักยภาพ และความเชี่ยวชาญ มีการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้ง การจัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM) ซึ่งจะผลิตงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ และขอให้คณะฯ ส่งต่อวัฒนธรรมความเป็นเลิศ เพื่อสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง การตั้งโจทย์วิจัยจากความต้องการของผู้ใช้งาน (Market-in) และการพยากรณ์การอุบัติของโรค เพื่อสามารถดำเนินการในเชิงรุกมากขึ้น โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายทั้งด้านการศึกษา การวิจัย กฎระเบียบ ที่ประชุมได้เสนอให้คณะฯ เชื่อมโยงข้อมูลด้าน Telemedicine ระหว่างโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนกับโรงพยาบาลระดับท้องถิ่น เพื่อต่อยอดการนำระบบเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ หลังจากช่วง Post Covid-19 ขอให้คณะดำเนินการขยายบริการสุขภาพด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และการจัดทำ Clip เพื่อเผยแพร่ผลงานที่โดดเด่นต่อสังคม และเพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพของคณะฯ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๔ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๔ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. นักศึกษาระดับปริญญาตรีสอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล Science Citation Index Expand (SCIE) ซึ่งอยู่ใน Web of Science Core Collection (2019-2020)
๓. พัฒนาศักยภาพของศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ ณ จังหวัดลำปาง โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่
๔. การรับรองมาตรฐานสากลในการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ในส่วนของโลหะหนัก

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรอง ASEAN AUN-QA อย่างน้อย ๑ หลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอนระดับบัณฑิตวิทยาลัยในรูปแบบ MAP-C ให้บุคคลทั่วไปเลือกเรียนได้ตามความสนใจ และพัฒนาการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ร่วมกับ GISTDA
๒. พัฒนาและขับเคลื่อนกลุ่มวิจัย งานวิจัยที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ และเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
๓. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล SCIE ใน ISI Web of Science และขอการรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จำนวน ๒ พารามิเตอร์ (ตะกั่ว และแมงกานีส) รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี ตามมาตรฐาน ESPReL ครบทั้ง ๑๐ ห้องปฏิบัติการ และพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ จ.ลำปาง
๔. ติดตั้งสถานีถาวรในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และติดตั้งและพัฒนาเครือข่ายระบบนำทางด้วยดาวเทียม ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่นำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของกรรมการสภามหาวิทยาลัยมาสู่การปฏิบัติ และมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานทุกด้าน เช่น World Ranking, International Environmental Standard รวมทั้งมีความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง คณะฯ ควรกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเสนอหลักสูตรระยะสั้น ที่ผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิตเพื่อต่อยอดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้ และได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองการจบหลักสูตร เพื่อตอบสนองความต้องการของคนวัยทำงาน และเสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรร่วมระหว่างส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งนำองค์ความรู้ที่มี จัดทำเป็น VDO Clip เผยแพร่สู่สาธารณะ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก และสร้างความร่วมมืองานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาของสังคม นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับประเทศ รวมทั้งเสนอเพิ่ม Digital Skill ผนวกเข้ากับความเชี่ยวชาญทางด้านสิ่งแวดล้อมที่คณะฯ มี เพื่อสร้าง Startup ด้านสิ่งแวดล้อม

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๔ ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๔ ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบัน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. จัดทำระบบสารสนเทศอัจฉริยะด้านภาษาและวัฒนธรรม
๒. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการวิจัยพัฒนาระบบการศึกษาและนวัตกรรมในพื้นที่พิเศษ (พหุชาติพันธุ์-พหุวัฒนธรรม) แถบชายแดนไทย-พม่า และขยายให้ครอบคลุมชายแดนทั่วประเทศ
๓. ยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยเปิดศูนย์อบรมทางภาษาและวัฒนธรรม และการศึกษาแบบครบวงจร (จัดการอบรมภาษาและวัฒนธรรม รับรองคุณภาพด้านภาษา (MU-Thai test) และสร้างผู้ประกอบการด้านภาษาฯ)
๔. สร้างความเข้มแข็งทางเศรฐกิจและแข่งขันได้ โดยวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่เมืองรองและภูมิภาค (จีน อินเดีย และอาเซียน) ด้วยต้นทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
๕. เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้วยวัฒนธรรม ด้วยโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวไทยผ่านภาษาและวัฒนธรรมร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และกรมกิจการผู้สูงอายุ (กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ)

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. RILCA R&D Sandbox โครงการ Sandbox My Q-My H ควบคู่ MU Talents & RILCA Talents
๒. สร้างเครือข่ายการวิจัยและการศึกษาแบบครบวงจรในลักษณะ Strategic partner ทั้งการวิจัยร่วมและการพัฒนาหลักสูตร Double Degree (หลักสูตรนานาชาติ) กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อมุ่งยกระดับ Subject Ranking ด้านภาษาและวัฒนธรรม
๓. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในมิติภาษา วัฒนธรรม พหุวัฒนธรรม และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการทำงานวิจัยที่มีการต่อยอด สร้างนวัตกรรม สร้างผลกระทบต่อสังคมและการชี้นำทางนโยบาย รวมทั้ง การจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น และการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในและนอกดิจิทัลแพลตฟอร์ม
๔. RILCA Smart Language and Cultural Diversity on Digital Platform
๕. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรม-พหุภาษา ภายใต้แนวคิด MU Cultural Quarter

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเป็นอย่างดี มีผลงานหลากหลายเกินเป้าที่กำหนดและสอดคล้องกับ SDGs โดยสร้างงานวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายในระดับประเทศ เพื่อการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียนในด้านภาษาและวัฒนธรรม และขอให้สถาบันฯ เพิ่มการดำเนินงานให้ครอบคลุมมิติของ SDGs ยิ่งขึ้น เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นศูนย์กลางการรวบรวมภาษาชาติพันธุ์ เพื่อมิให้ภาษาชาติพันธุ์สูญหายไป และสามารถนำมาเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในภูมิภาคได้ โดยการจัดอบรมภาษาและวัฒนธรรม รับรองคุณภาพด้านภาษา (MU-Thai test) ให้เป็นสากลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย เช่น เป็นศูนย์รับรองคุณภาพด้านภาษาพม่า ลาว และจีน เป็นต้น สถาบันฯ ควรวางแนวทางการให้องค์ความรู้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อสืบทอดการใช้ภาษาไทย ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาต่างชาติได้อีกด้วย

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๔ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๔ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. การพัฒนาศูนย์วิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓
๒. การพัฒนา “Health Literate Faculty” พญาไท ศูนย์วิจัยสูงเนิน Health Literate District and Healthy District” เพื่อเป็น Inter Professional Education
๓. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมด้าน Implementation Sciences เพื่อพัฒนางาน Megacity Health and Global Health เพื่อการอบรมและปฏิบัติการจริง ปี ๒๕๖๓
๔. การจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบ และกลุ่มพระสงฆ์ เป้าหมาย เปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
๕. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรมด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป้าหมาย เพิ่มร้อยละ ๑๐
๖. การพัฒนานักศึกษา MUHIDEF (Health Literacy, English) อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า ได้แก่
๑. การพัฒนา Flexi Education หลักสูตร MD MPH ออนไลน์ (ปีการศึกษา ๒๕๖๕)
๒. การพัฒนาศูนย์บริหารจัดการสร้างสุขภาพและควบคุมโรคในชุมชนเขตพญาไท ราชเทวี ร่วมกับย่านนวัตกรรมโยธี(เดือนพฤษภาคม – กันยายน ๒๕๖๔)
๓. การพัฒนาโครงร่างวิจัยที่เป็น Frontier and Digital Public Health (เดือนพฤษภาคม.- กันยายน ๒๕๖๔)
๔. การพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ Health Literate and Healthy District สู่การเป็น Balancing Public Health (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๕. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมนานาชาติที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ด้าน Megacity Health and Global Health (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๖. การเพิ่มรายได้ด้วยการจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบ และกลุ่มพระสงฆ์ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๗. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรม ด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพิ่มร้อยละ ๑๐ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๘. การพัฒนานักศึกษาให้ได้คุณภาพเพื่อเป็นบัณฑิตพร้อมใช้ และผ่าน MUHIDEF (Health Literacy, English) อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในแนวทางการดำเนินงานทั้งในระดับพื้นที่และการสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ จากสถานการณ์ COVID-19 คณะฯ ได้จัดทำโครงการที่ชี้นำสังคมและร่วมมือกับทุกภาคส่วนด้านสาธารณสุขในการป้องกันลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 พัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสามารถสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา โดยสนับสนุนให้คณะฯ ในการทำงานกับชุมชน การทำงานเชิงพื้นที่ Area Based Approach และการพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ ทั้งนี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์สามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ได้แก่ เป้าหมายที่ ๙ Industry innovation and infrastructure เป้าหมายที่ ๑๑ Sustainable cities and communities เป้าหมายที่ ๑๒ Responsible consumption and production และเป้าหมายที่ ๑๓ Climate action และขอให้คณะฯ จัดทำ Clip Video เพื่อนำเสนอระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน (Home Isolation-Community Isolation) เพื่อเผยแพร่ Health Literacy เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการสร้าง Model สร้างเสริมสุขภาพที่มีความชัดเจนโดยใช้รูปแบบ ชุมชน +Knowledge Management+ Digital โดยร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีความโดดเด่นและแตกต่างในด้านสาธารณสุขศาสตร์

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๔ ของคณะเทคนิคการแพทย์

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๔ ของคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. หลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้งสองสาขาได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA และการได้รับรอง TQC
๒. พัฒนา National Clinical Laboratory Validation Center เพื่อส่งเสริมการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย
๓. พัฒนา National Platform ทดสอบอาหารเพื่อสุขภาพแห่งอนาคต รองรับทิศทาง Food for the Future
๔. ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และคลินิกสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มวัยและสังคมผู้สูงอายุ และเป็นแหล่งเรียนรู้และการปฏิบัติทางวิชาชีพ
๕. ขยายศักยภาพการเป็นแม่ข่าย ดูแลมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ ในระดับอาเซียน

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. การพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้เรียน และมีมาตรฐานระดับอาเซียน
๒. การพัฒนานวัตกรรมจากงานวิจัย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ และอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพแห่งอนาคต
๓. การเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ Medical devices & Health and Food products
๔. ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแบบครบวงจร เพื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มวัย และสังคมผู้สูงอายุ และเป็นแหล่งเรียนรู้ และการปฏิบัติทางวิชาชีพ
๕. การยกระดับมาตรฐานคุณภาพ และศักยภาพทางวิชาการแก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายระดับภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชม คณบดีและทีม ที่ได้พัฒนาในด้านต่างๆ อย่างดีเยี่ยม คิดนอกกรอบ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตได้อย่างดี มีผลงานชี้นำสังคมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ รวมถึงคณะฯ ได้ตอบโจทย์ SDGs เป้าหมายที่ ๓ Good Health and Well-Being ได้อย่างชัดเจน สร้างระบบความมั่นคงด้านสุขภาพ เช่น ด้านความปลอดภัยของอาหารเสนอสร้างองค์ความรู้ และวิธีการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยให้กับประชาชน ด้านเครื่องมือแพทย์ มาตรฐานการตรวจสอบและประเมินเครื่องมือแพทย์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับคณะ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้คณะ ขยายเครือข่ายความร่วมมือทางด้านสาธารณสุขในภูมิภาคอาเซียน และแนวทางการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการ (EQAS) ที่เหมาะสมกับบริบทของคนไทยที่สามารถกำหนดเป็นนโยบายของประเทศต่อไป นำองค์ความรู้ที่มีจัดทำเป็น VDO Clip เผยแพร่สู่สาธารณะ เมื่อเทียบเคียงผลงานวิจัยในระดับประเทศแล้ว คณะเทคนิคการแพทย์ อยู่ในระดับแนวหน้า จึงเห็นควรให้คณะ เทียบเคียงผลงานวิจัยในต่างประเทศด้วย และมหาวิทยาลัยพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของคณะฯ ในทุกด้าน