นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๔ ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๔ ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔–๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. มุ่งเป็น World-Class Research Institute ทั้งด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งของศูนย์วิจัยฯ และหลักสูตร
๒. จัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์และนวัตกรรมกุ้ง เพื่อรองรับการวิจัยมุ่งเป้าและการถ่ายทอดองค์ความรู้ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการส่งออก
๓. โครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ที่สร้างองค์ความรู้ในระดับ frontier นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง เช่น วัคซีน JE
๔. มี Biologics Candidates ต้นแบบที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์อย่างน้อย ๑ ตัว

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. โครงการศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง
๒. โครงการจัดทำห้อง Sleep lab และ core facility เพื่อรองรับการศึกษาวิจัยด้าน chronobiology (Sleep Laboratory & Chronobiology Core Facility)
๓. โครงการปรับปรุงอาคารวิจัยและพัฒนาวัคซีน phase ๑-๒
๔. โครงการภายใต้ reinventing university (๑) ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอกสาขาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ (๒) จัดทำหลักสูตรฝึกอบรม Upskill/Re-skill ทางด้านการผลิตชีววัตถุ การตรวจสอบคุณภาพชีววัตถุและวัคซีน และ (๓) อาคารวิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการ BSL3
๕. โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิต recombinant protein และ biologics (๑) อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตรกระบวนการผลิตโปรตีน/biologics (๒) เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ระดับ TRL4 ที่ผ่านการทดสอบในระดับสัตว์ทดลอง และ (๓) การพัฒนาต้นแบบระดับอุตสาหกรรม หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือจำหน่ายเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลซึ่งเห็นถึงการพัฒนาในทุก ๆ ด้านอย่างชัดเจน สามารถทำงานได้อย่างครบวงจร และมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs รวมทั้งสถาบัน ฯ สามารถเป็นต้นแบบให้กับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย ในเรื่องการเพิ่มผลงานตีพิมพ์ (Publication) และผลงานที่ถูกอ้างอิง (Citation) รวมทั้งเรื่อง ก.พ.อ./เชี่ยวชาญคลินิกได้ และมีนักวิจัยที่มีประสบการณ์สูง เสนอนำองค์ความรู้ที่มีร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้นำผลงานวิจัยของสถาบันฯ จัดทำเป็น VDO Clip เผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับสถาบันฯ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๔ ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๔ ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทน ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารศูนย์ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. เพิ่มจำนวนการให้บริการสัตว์ทดลอง โดยเฉพาะ หนูตะเภา กระต่าย ให้เพียงพอต่อความต้องการของ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๒. ยกระดับคุณภาพสุขภาพ หนูเม้าส์จากสัตว์ทดลองในระดับ Monitor animal เป็นสัตว์ทดลองในระดับ Specific Pathogen Free (SPF) animals พัฒนาบุคลากร โดยการจัดทำโครงการฝึกปฏิบัติการดูแลหนูเม้าส์ในตู้เลี้ยงสัตว์ปลอดเชื้อสมบูรณ์ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง พัฒนาการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลอง
๓. วิจัยพัฒนาและยกระดับความสามารถทางห้องปฏิบัติการ เพื่อรองรับการเป็นศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสุขภาพ เพื่อรองรับการผลิตสัตว์ SPF และรองรับการให้บริการแก่ลูกค้าภายนอก จัดหาอุปกรณ์เพื่อเตรียมพร้อมของห้องปฏิบัติการ ในการตรวจคุณภาพสุขภาพ การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
๔. ขยายและเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงาน ให้บริการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ตามหลักการ OECD GLP วิธีการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง และการทดสอบความเป็นพิษของวัคซีน แบบให้ครั้งเดียวและแบบให้ซ้ำ

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ยกระดับคุณภาพสุขภาพ หนูเม้าส์จากสัตว์ทดลองในระดับ Monitor animals เป็นสัตว์ทดลองในระดับ Specific Pathogen Free (SPF) Animals
๒. วิจัยพัฒนา และยกระดับความสามารถ ทางห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการเป็นศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลองของประเทศ
๓. ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานให้บริการวิจัย และทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (หน้ากากอนามัยและหน้ากากชนิด N95) จาก สมอ.
๔. ศูนย์ตรวจสอบความปลอดภัยด้านเครื่องมือแพทย์ ในปี ๒๕๖๕
๕. ขยาย และเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงาน ให้บริการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ ตามหลักการ OECD GLP อย่างน้อย ๒ วิธีการทดสอบต่อปี
๖. บริหารจัดการวัสดุรองนอนที่ใช้แล้ว (Soiled bedding Management) เพื่อการจัดการอย่างยั่งยืน
๗. การบริหารจัดการ การใช้พลังงานไฟฟ้า โดยการใช้พลังงานทดแทน (Solar Cell) เพื่อลดค่าไฟฟ้าของศูนย์ฯ
๘. พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ที่ทุ่มเทพัฒนา ยกระดับความสามารถ และใช้ระบบมาตรฐานสากล ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถธำรงรักษาระบบมาตรฐานคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ และทำให้ศูนย์ฯ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง อีกทั้งด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคารสถานที่ ได้เสนอให้รับการสนับสนุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ เสนอให้ของบประมาณแผนงานบูรณาการ Eastern Economic Corridor (EEC) ด้วยศูนย์ฯ มีศักยภาพในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG model ซึ่งช่วยในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศในภาคการส่งออก นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้ศูนย์ฯ พิจารณาเพิ่มเติมบริการวิจัยทดสอบผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับของเล่นเด็ก เพื่อให้มีมาตรฐานความปลอดภัยยิ่งขึ้น

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๔ ของสถาบันโภชนาการ

วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๔ ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. โครงการปรับโรงงานอาหารต้นแบบ เพื่อให้ได้มาตรฐาน Good Manufacturing Practice : GMP
๒. Flexible Courses ที่เปิดให้บุคคลภายนอกลงทะเบียนเรียนได้ ทั้งในรูปแบบ MAP-C และ MAP-Ex
๓. กระตุ้นให้ภาคเอกชนมาร่วมวิจัยกับสถาบันภายใต้กรอบ FOOD INNOPOLIS และการเป็น Node การให้ทุนของแหล่งทุน เช่น สำนักงานวิจัยการเกษตร
๔. Frontier Research พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. Food research cluster/collaboration ร่วมกับนักวิจัยของไทย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านอาหารและโภชนาการภายในมหาวิทยาลัย
๒. ความร่วมมือกับ Harvard Medical School เพื่อสร้างศักยภาพในการวิจัย และตรวจวิเคราะห์ Nutrient Biomarkers เพื่อเป็น High-throughput Core Laboratory ในการวิจัย ศึกษาสำรวจด้านโภชนาการของภูมิภาค
๓. การให้บริการวิเคราะห์ขั้นสูงด้านอาหาร และโภชนาการ เช่น สาร THC และ CBD จากกัญชาในอาหาร, Targeted/Untargeted Metabolome, Unknown Active Compounds จากสารสกัดจากพืชและสัตว์ สาร PAHs
๔. การจัดทำหลักสูตรปริญญาเอก Joint Degree กับ Rutgers University, สหรัฐอเมริกา: Functional Food and Medical Nutrition
๕. การให้บริการฝึกอบรมที่ทันสมัยด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของประชากร และเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและสังคม: ศูนย์อบรมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการอบรมด้านโภชนาการตามวัยและสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย
๖. ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ หรืออาหารสุขภาพ เพื่อการพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยได้ชื่นชมและเสนอให้มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสถาบันโภชนาการ ปรับให้การบริหารจัดการสถาบันฯ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น โดยการทำให้ครบวงจรเพื่อประโยชน์ของประชาชน เศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และเพื่อให้สถาบันฯ สามารถเลี้ยงตนเองได้อย่างมั่นคง การยกระดับ Visibility สถาบันฯ ให้โดดเด่น และการสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยเผยแพร่องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการให้ประชาชนทั่วไปรู้จักและเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างชื่อเสียงให้สถาบันฯ และเป็นที่พึ่งของประชาชน รวมถึงเสนอให้สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนเพิ่มเติม อาทิ CPF BETAGRO สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งด้าน Functional Food and Medical Nutrition การผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการมากยิ่งขึ้น และเสนอการจัดทำข้อมูลด้านโภชนาการต้าน COVID-19 ในส่วนของงานวิจัยขอให้สถาบันฯ สนับสนุน Research Cluster ด้านอาหารและโภชนาการร่วมกับส่วนงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลมาธิบดี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เป็นต้น และขอให้สถาบันฯ ดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่ 2: ZERO HUNGER เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๔ ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๔ ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. Research Cluster ด้าน Science, Technology and Society (STS)
๒. การสัมมนาวิชาการร่วม ๑๕ สถาบัน ด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เรื่อง iHumanities: เทคโนโลยีสุขภาพ และชีวิต (๗-๑๑ กันยายน ๒๕๖๓)
๓. การพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติด้าน Social Studies of Science, Technology and Health
๔. ผลักดันการทำงานเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมผ่านกิจกรรมการวิจัยและการผลักดันทางวิชาการของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเพศสภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ ศูนย์วิจัยสังคมไม่ทอดทิ้งกัน และศูนย์จีนศึกษาและโลกาภิวัตน์เอเชีย
๕. การพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการด้านพุทธศาสตร์ศึกษา (Buddhist Studies) และอาชญวิทยาและงานยุติธรรม

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. การพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท Society Design and Development Program (การออกแบบและพัฒนาสังคม)
๒. โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
๓. ขยายเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการของ International Society and Health Consortium
๔. ความร่วมมือในการพัฒนารายวิชาและการวิจัยร่วมทางด้าน Developmental Studies ภายใต้ Thai-UK World Class University Consortium
๕. SML 3-D Expertise mapping framework
๖. การพัฒนา Management Information System เพื่อยกระดับประสิทธิภาพขององค์กร

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งมี Strategic Approaches และ Strategic Foci ที่ชัดเจนและท้าทาย รวมถึงมีโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเสนอให้มีโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และนำวิกฤติ Covid-19 มาเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะฯ เพื่อไปสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) พร้อมทั้งเสนอสร้าง Platform การเรียนรู้สำหรับประชาชนในทุกระดับเพื่อนำองค์ความรู้ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง และเสนอการจัดทำ Joint Degree Program ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นต้น

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๔ ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๔ ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. พัฒนาระบบบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดให้ทัดเทียมกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
๒. มุ่งสู่การรับรองมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2015 และมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001: 2015 ภายในปี ๒๕๖๓
๓. ขยายงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้สมรรถนะหลักขององค์กร
๔. Reskill – Upskill บุคลากรให้มีสมรรถนะและทักษะทางวิชาชีพได้มาตรฐานสากล และพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีให้สามารถรองรับกับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ระบบดิจิทัล (Digital Learning Platform)
๕. พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล คลังสารสนเทศสถาบัน คลังข้อมูลจดหมายเหตุ ให้ได้มาตรฐานสากลตามหลักการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และมีความยั่งยืนในการเก็บรักษาข้อมูลระยะยาวตามหลักการของ Data Curation

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. จัดตั้ง Analytic Research Center เป็นศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ ISO 11620
๒. สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ ๒๑
๓. โครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการให้บริการห้องสมุดสู่สถาบันการศึกษาทุกระดับในประเทศไทย (Library to Classroom) และ Library Digital KM
๔. โครงการส่งเสริมการเข้าถึงผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยสื่อวีดิทัศน์ ผลิตรายการ The Author
๕. โครงการ Mahidol Historical Learning Experience “เด็กไทย ใจมหิดล” จัดทำ Games Application เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยมหิดล และใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนสำหรับสถานศึกษาเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและกรุงเทพฯ
๖. โครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลให้กับโรงเรียนในชุมชนโดยรอบ และเผยแพร่เรื่องราวเชิงประวัติและผลงานของมหาวิทยาลัยไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ
๗. ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ กับสมาชิกภาคี ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค PULINET Plus และกิจกรรมความร่วมมือกับ AUNILO: Libraries of ASEAN University Network ในการร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ และพัฒนากิจกรรมวิชาการ รวมถึงการลงนามในหนังสือเก็บบันทึกข้อตกลงความเข้าใจที่ตรงกัน (MOU) กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยระดับสากล

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชม หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เป็นศูนย์รวมข้อมูล ความรู้ของมหาวิทยาลัย พร้อมให้ข้อเสนอแนะ อาทิ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ ๒๑ สร้างความร่วมมือกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างความร่วมมือกับหอสมุดของมหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เสนอให้หอสมุดฯเป็นศูนย์กลางจัดเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและสืบค้นข้อมูลได้ง่าย เพิ่มเติมการจัดเก็บ VDO ในหอสมุดฯ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์วิธีการเข้าใช้งาน E-Journal สำหรับอาจารย์เพื่อเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สร้างความแตกต่างจากห้องสมุดอื่น เช่น การเป็น Personal Library และ Library Ecosystem จัดพื้นที่การเรียนรู้ของหอสมุดฯ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน เช่น มีพื้นที่ให้นักศึกษาสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัย ทั้งนี้ ขอให้กำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจน เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบัน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. ผู้นำตั้งเครือข่ายด้านวิชาชีพการถ่ายทอดเทคโนโลยีของประเทศไทย เพื่อพัฒนามาตรฐาน ในระดับสากล
๒. ตั้งศูนย์ University – Industry Collaboration สร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับภาคเอกชน
๓. ตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ (Startup Incubator) เพื่อให้มีธุรกิจเกิดใหม่ จากนวัตกรรมมหาวิทยาลัย
๔. ตั้งบริษัทร่วมทุนของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกลไกในการนำผลงานวิจัย – นวัตกรรม ออกสู่สังคมได้อย่างยั่งยืน
๕. สร้างอาคารศูนย์กลางงานวิจัย และนวัตกรรม แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. เป็นผู้นำร่วมกับเครือข่าย TRUST (Thailand Research University Society for Technology Transfer) ในการพัฒนาศักยภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีของนักวิจัยและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
๒. สร้างรายได้จากผลงานทรัพย์สินทางปัญญา ให้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๓. สนับสนุนการดำเนินการด้านการบริการวิจัย และบริการวิชาการ ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๔. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) กับภาคอุตสาหกรรม ให้มีโครงการวิจัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๕. พัฒนาศูนย์บ่มเพาะ (Incubation) และศูนย์เร่งสปีด (Accelerator) เพื่อผลักดันให้เกิดบริษัท Startup จากนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
๖. บริหารงานบริษัท M Venturer ให้มีอัตราการเติบโตของผลประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ประเทศชาติ โดยในที่ประชุมได้เสนอ ให้ทำการประชาสัมพันธ์สถาบันฯ ให้เป็นที่รู้จัก ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเพิ่มโอกาส ในการใช้ประโยชน์ และการสร้างความร่วมมือ ด้านเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เสนอให้มีการบูรณาการศาสตร์ในงานวิจัย เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ในการแสวงหาวิธีการลดต้นทุน ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และประสานความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันเจรจากับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ในการจดสิทธิบัตรให้นักวิจัยได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ภายหลังสถานการณ์ COVID – 19 สถาบันฯ ควรมีแผนดำเนินการมหกรรม ROADSHOW และ WORKSHOP เพื่อสื่อสารกับนักวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม อีกทั้ง ขอให้สถาบันฯ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๔ คณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๔ ของคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meetings โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑.พัฒนาบทเรียนออนไลน์ในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในรายวิชาการพยาบาล ใช้การเรียนการสอนผ่านระบบ Online ๒๕% ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ และ ๑๐๐% ในปีการศึกษา ๒๕๖๔
๒.รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) ปี ๒๕๖๓
๓.พัฒนาศูนย์การพยาบาลผู้ป่วย NCDs ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ร่วมกับ Johns Hopkins University ปี ๒๕๖๓

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ขยายความร่วมมือและผลักดัน The MU-JHU NCDs Research Collaborative Center NCDs เป็นศูนย์ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒. เปิดให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร่วมเป็นเครือข่ายร่วมให้บริการของ สปสช. ในปี ๒๕๖๕
๓. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากลอย่างน้อย ๒ หลักสูตร
๔. พัฒนาห้องปฏิบัติการเสมือนจริง
๕. พัฒนาหลักสูตร double/multiple degree
๖. ขับเคลื่อนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สู่ TQC+

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ในการสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติจำนวนมาก การได้รับรางวัลการบริการสู่ความเป็นเลิศ (TQC) รวมถึงการให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีงานวิจัยในด้านปัญหาสุขภาพจิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความร่วมมือกับ Johns Hopkins University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และมีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการดำเนินงานได้อย่างดี ที่ประชุมได้เสนอแนะให้คณะจัดทำหลักสูตร Flexible Education การพยาบาลเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้สูงอายุให้กับประชาชนทั่วไป ตั้งเป้าหมายเป็น ๑ ใน ๑๐ ของเอเชีย ประสานความร่วมมือกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงวัยอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม (ACAI) เพื่อรับมือกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และขอให้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๔ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๔ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สร้างศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย
๒. เปิดหลักสูตรร่วม รามา-วิทยาลัยการจัดการ (MD – MM) ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๓. เปิดศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา
๔. ร่วมกับบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) พัฒนา Edu-town และ Medi-town ในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (RAMA – Frontier)
๕. ดำเนินการด้าน Green Campus (Solar Roof) ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และนำมาพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วย

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. โครงการ Wellness Residence Complex ที่ดิน ๓๐๐ ไร่ & Transportation
๒. เปิดหลักสูตรร่วม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
๓. ยื่นสมัครขอรับรางวัล TQC Plus และ TQA
๔. เปิดอาคารปรีคลินิกและศูนย์วิจัย เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอน
๕. การก่อสร้างอาคารกายวิภาคทางคลินิก
๖. การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในการบริหารจัดการได้อย่างดีเยี่ยม มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และมีผลงานและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ อีกทั้ง ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับส่วนงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านการศึกษา วิจัย งานบริการวิชาการ และโครงการต่างๆ รวมทั้งมีเป้าหมายและแผนการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน นอกจากนี้ สภามหาวิทยาลัยฯ ได้เสนอแนะให้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมีการวางระบบการบริหารจัดการของคณะฯ (Succession Plan) เพื่อให้เกิดการบริหารงานที่มีความต่อเนื่อง และสามารถรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๔ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์

วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๔ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสัตวแพทยศาสตร์ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สนับสนุนการผลิตสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ให้กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
๒. โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร และ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน มุ่งสู่มาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๓. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้ประกันคุณภาพระดับ AUN-QA และมุ่งสู่การได้รับ AVBC
๔. การเปิดหลักสูตร Residency Training ทางด้าน Veterinary Medicine
๕. สนับสนุนงานวิจัยที่มี Impact ในทุกมิติ
๖. การดำเนินโครงการ OIE Twinning Program ร่วมกับ The USGS-National Wildlife Health Center
๗. โครงการพัฒนาด้าน Infrastructure

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ผลักดันหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา อย่างน้อย ๑ หลักสูตรให้ได้การรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA
๒. ส่งเสริมความเป็นนานาชาติผ่านกิจกรรมทั้งรูปแบบ online และ onsite ให้แก่นักศึกษา
๓. โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร และ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน มุ่งสู่มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 และมาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๔. ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ และศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025
๕. พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลและเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (I-med) เพื่อเชื่อมข้อมูล ๒ โรงพยาบาลสัตว์ และ ๒ ศูนย์
๖. พัฒนาการใช้พื้นที่และเพิ่มศักยภาพบริการวิชาการเพื่อเพิ่มรายได้ และสนับสนุนงานวิจัยและการเรียนการสอน

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมแนวทางการดำเนินงานของคณะสัตวแพทยศาสตร์ในด้านต่างๆ ซึ่งมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และมีเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ อาทิ สร้างความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์เพื่อเพิ่มบทบาทด้าน One Health ในระดับนานาชาติ กำหนดยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลสัตว์ให้ชัดเจน เพื่อสร้างรายได้ และเป็นแหล่ง Training Program ทั้งในระดับประเทศและอาเซียน ดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เกี่ยวกับสัตว์ และการทดลองในสัตว์ใหญ่ รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจน เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัยฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco Webex Meetings โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. ผลักดันหลักสูตรของวิทยาลัยฯ ให้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล (AUN-QA) ภายใน ๒ ปีข้างหน้า
๒. พัฒนาการบริการวิชาการ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง
๓. เน้นการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Quartier 1 ที่มี Impact factor สูง
๔.พัฒนาระบบประกันคุณภาพ MU EdPEx ให้ได้มากกว่า ๓๐๐ คะแนน

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. เปิดหลักสูตรร่วมกับสถาบันที่มีชื่อเสียง ทำความร่วมมือทางวิชาการกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีตามโครงการวิทยาศาสตร์การกีฬา–จฉพ. (เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์)
๒. ผลักดันหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น
๓. สร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติ ด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม
๔. งานวิจัยมุ่งเป้า เพื่อความเป็นเลิศเฉพาะทางแต่ละประเภทกีฬา เพิ่มศักยภาพทางการกีฬา–นักกีฬา และลดการบาดเจ็บสุขภาวะของประชาชน
๕. จัดตั้งคลินิกการกีฬาให้ผู้มาตรวจรักษาสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลมาได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
๖. ปรับโครงสร้างทางกายภาพห้องเรียน รองรับการเรียนการสอนรูปแบบ Online และสนามกีฬารองรับการออกกำลังกาย เพื่อนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก ได้ใช้สถานที่ออกกำลังกาย

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ในการทำงานเชิงรุกและความก้าวหน้าของวิทยาลัยฯ พร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ต่างๆ โดยผสานความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร(SI) คณะเทคนิคการแพทย์สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และวิทยาลัยราชสุดา เป็นต้น เพื่อสร้างจุดเด่น และมุ่งเป้าหมายการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาระดับประเทศและนานาชาติ สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ฯ การกีฬา หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น และเพิ่มกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ผู้ฝึกสอนกีฬา เด็กและครอบครัว ผู้สูงวัย ผู้พิการ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของสังคม สร้างความร่วมมือในการวิจัยกับภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป และขอให้วิทยาลัยฯ กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน