คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุม (Council Visit) ครั้งที่ ๓๗/๒๕๖๓ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าประชุม ครั้งที่ ๓๗/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

๑. การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับผลงานด้านการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก University Ranking ต่าง ๆ (THE World University Ranking, US News Global University Ranking, NTU Ranking, CWTS Leiden Ranking) เป็นอันดับ ๑ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๐๑๖-๒๐๑๙) และ QS World University Ranking เป็นอันดับ ๒ จากผลการจัดอันดับ QS World University Ranking by Subject พบว่าสาขาที่ติดอันดับ ๑-๑๕๐ ได้แก่ Medicine ในปี ๒๐๑๖–๒๐๒๐ และ Pharmacy & Pharmacology ในปี ๒๐๑๖–๒๐๒๐ (ปี ๒๐๑๘ อยู่อันดับที่ ๕๑–๑๐๐ ปี ๒๐๑๙ อยู่อันดับที่ ๑๕๑–๒๐๐)

๒. ผลงานด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดลมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติทุกฐานข้อมูล เป็นจำนวนสูงที่สุดของประเทศในทุกสาขา อีกทั้งมีจำนวนรางวัลด้านการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งรางวัลระดับชาติและนานาชาติ

๓. ผลงานด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นการศึกษาที่เป็น Outcome-based education และส่งเสริมให้นักศึกษามีความเป็น Global Citizen ผ่านโครงการต่าง ๆ จำนวนมาก

  • มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลในขณะนี้เป็นจำนวน ๓๑ หลักสูตร ซึ่งสูงที่สุดในประเทศไทย
  • ผลักดันให้เกิดรายวิชาบทเรียนออนไลน์ (MOOCs และ SPOCs)
  • สนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติการชีววิทยา
  • มีการจัดทำโครงการ Mahidol – HIDEF เพื่อส่งเสริมความเป็น Global Citizen ของนักศึกษา
  • ปรับรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากเดิม รูปแบบหน่วยกิตปรับเป็นรูปแบบเหมาจ่าย

๔. ผลงานด้านบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้บริการทางการแพทย์เป็นจำนวนสูงที่สุดของประเทศ และในส่วนของบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นให้ทุกส่วนงานใช้การรับรองโดยมาตรฐานสากล

  • ผลักดันงบประมาณเพื่อการจัดตั้ง Stroke Mobile Unit และการขอรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขตามหลักการ OECD GLP
  • มีการจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ซึ่งช่วยสนับสนุนการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้รวม สิทธิบัตร ๒๐ ชิ้น ถ่ายทอดเทคโนโลยี ๒๓ ชิ้นงาน เป็นมูลค่า ๔๓,๙๐๓,๓๐๒.๔๑ บาท (ข้อมูลตั้งแต่ ๑ เม.ย. ๒๕๕๙ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๓)

 ๕. ผลงานด้านบริหารจัดการ

  • มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) ประจำปี ๒๕๖๒ โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
  • มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ ๑ ในด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวในประเทศไทย และอันดับที่ ๗๕ ของโลก จากการจัดอันดับ  UI Green Metric World University Ranking 2019
  • มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ ๔ (ระดับ A) จากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ในปี ๒๕๖๒ จากสถาบันอุดมศึกษา ๘๐ แห่ง
  • มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นการเป็น Digital Convergence University ปัจจุบันมี WI-FI ร้อยละ ๑๐๐ และเป็น Multiple Devices รวมทั้งมีการสร้าง Virtual Classro om  ครอบคลุมทุกวิทยาเขต และปรับปรุงหอสมุดเป็นหอสมุดอัจฉริยะ
  • มหาวิทยาลัยส่งเสริมความเป็นนานาชาติ โดยการจัดตั้ง Mahidol Student, Academic and International Services (MUSAIS) เพื่อให้บริการนักศึกษาต่างชาติแบบ One Stop Service และมีการสร้าง Joint-Unit จำนวน ๑๐ แห่ง ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่เป็น Strategic Partners
  • มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดทำข้อตกลงร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมพัฒนามหาวิทยาลัย ในวงเงิน ๘๐๐ ล้านบาท
  • มหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่น (MU-Flexible Benefit)
  • มีการพัฒนาวิทยาเขตทั้ง ๓ วิทยาเขต ได้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

๑.ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย

  • สร้าง MU –MRC และกลุ่มนักวิจัยสำเร็จรูปให้ได้ ๖ กลุ่ม (Flagship ๑)
  • พัฒนาและวางระบบศูนย์เครื่องมือวิจัยกลางศาลายา ให้รองรับการทำวิจัย โดยใช้เทคนิคระดับสูง โดยการเพิ่มเครื่องมือที่จำเป็นให้เพียงพอและทันสมัย คล่องตัว
  • การเพิ่มการขอทุนจากต่างประเทศ
  • แก้ไขระเบียบการบริหารเงินทุนวิจัย

๒.ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา

  • สามารถเปิดหลักสูตรที่เป็น Flexi Education ได้สำเร็จ (Flagship ๒)
  • จัดทำ Mahidol University Credit Bank System ได้แล้วเสร็จและสามารถวางระบบเชื่อมโยงกับทุกส่วนงานได้สำเร็จ (Flagship ๒)
  • วางระบบการพัฒนานักศึกษาให้เป็น Global Talent ผ่านแนวคิด MU-HIDEF ให้แล้วเสร็จ
  • ร้อยละ ๑๕ ของหลักสูตรได้รับ International Accreditation

๓.ยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการ

  • มี Platform ระบบบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย (Flagship ๓)
  • ผลักดันให้มีนโยบายชี้นำสังคมจากมหาวิทยาลัยมหิดล (Flagship ๓)
  • งานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยได้รับรองมาตรฐาน

๔.ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการยั่งยืน

  • ผลักดันให้มหาวิทยาลัยได้ TQC Plus
  • สร้าง Global Talent Platform ด้านการวิจัยให้แล้วเสร็จ (Flagship ๔.๑)
  • อันดับ Green University Ranking ไม่ต่ำกว่าอันดับ ๘๐ –
  • ได้รับการประเมิน ITA ไม่ต่ำกว่าอันดับ ๕
  • ได้รับการจัดอันดับ THE Impact Ranking ไม่ต่ำกว่าอันดับ ๓๐๐
  • Digital Convergence University มีความสำเร็จถึงร้อยละ ๗๐
  • สร้างความเข้มแข็งให้กับ Joint Unit ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อตอบโจทย์ Multidisciplinary และ International Collaboration กับ Strategic Partner – จัดตั้ง Mahidol Endowment Fund ให้สำเร็จ (Flagship ๔.๒)
  • จัดตั้ง Ranking Unit
  • จัดทำฐานข้อมูล BI ได้ร้อยละ ๖๐
  • EBITDA เป็นบวกทุกส่วนงาน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๖/๒๕๖๓ ณ โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๖/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. วิริยา ชินวรรโณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตนานาชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารโรงเรียนสาธิตนานาชาติ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. นักเรียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ๑๐๐% ตลอด ๔ ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ นักเรียน ๔๐% เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหิดล
๒. โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจาก Western Association of Schools and Colleges, WASC เป็นระยะเวลาสูงสุด ๖ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๗)
๓. โรงเรียนมีอาคารเรียนพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน
๔. โรงเรียนเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในสังคมไทยด้านคุณภาพ โดยสังเกตได้จากจำนวนผู้สมัครสอบเข้าเรียนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี
๕. โรงเรียนมีความร่วมมือด้านวิชาการกับต่างประเทศ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับชาติ

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ทั้งการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ เช่น แข่งขันโอลิมปิกวิชาการ โครงการเพชรยอดมงกุฏ เป็นต้น
๒. การพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
๓. การพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม โดยพัฒนาห้องเรียน ห้องประกอบการ และปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น
๔. การเพิ่มวิชาที่ทันยุคสมัย

พิธีวางพานพุ่นถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่นถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องในวันพระราชทานนาม ๑๓๒ ปี มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๕/๒๕๖๓ ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๕/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สร้างบุคลากรที่มีรายได้ข้ามพ้นรายได้ปานกลาง
๒. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ) ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล AUN-QA ได้คะแนนระดับ Example of Best Practice ปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๖
๓. พัฒนาบุคลากรในโครงการทุนพัฒนาอาจารย์คณะ ICT
๔. จัดตั้ง Mahidol AIST Research Unit (MARU) ร่วมกับ The National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST), Japan
๕. จัดตั้ง Mahidol Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) ร่วมกับ University of Bremen, Germany

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตร ICT+DST+Reskill (Flexi Education)
    ๑.๑ หลักสูตร ICT Flexi Education ผลิตบัณฑิตได้ประมาณ ๑๘๐ คนต่อปี (หลักสูตร ๔ ปี, หลักสูตร ICT-Bremen 3+2 (Digital Art) และหลักสูตร ICT-CMMU 4+1)
    ๑.๒ หลักสูตร DST Flexi Education ผลิตบัณฑิตได้ประมาณ ๘๐ คนต่อปี (IoT, Cyber Security และ Data Science)
๒. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ได้แก่ โครงการสนับสนุนกลุ่มวิจัย Global Collaboration (Germany, Japan, Australia, China, Taiwan) โครงการวิจัยบูรณาการตามความต้องการประเทศ (ด้านสังคมสูงวัย ด้านการแพทย์ ด้านสิ่งแวดล้อม)  และโครงการพัฒนา MUICT สู่ Intelligent Digital Hub
๓. การส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจกระแสใหม่ ได้แก่ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Digital Technology

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๔/๒๕๖๓ ณ คณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๔/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุม จันทรา นิลวรางกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ดังนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะพยาบาลศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ศูนย์ข้อมูลและคลังความรู้ทางการพยาบาล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ ๖๐ พรรษา
๒. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ในปี ๒๕๖๒
๓. พัฒนาการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีที่สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติและนานาชาติ เช่น ๓.๑ จัดการเรียนการสอนแบบ ๒ ภาษา เป็นแห่งเดียวในประเทศไทย ๓.๒ เปิดสอนรายวิชา ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นรายวิชาร่วมสหสาขา ให้กับนักศึกษาจาก PUMC & UI และ ๓.๓ เปิดสอนวิชา Enhancing patient safety through Inter – Professional Collaborative Practice แบบสหสาขาวิชาชีพ IPE : Interprofessional Education เป็นรายวิชาร่วมสหสาขาวิชาแรกของมหาวิทยาลัยมหิดล
๔. พัฒนางานบริการวิชาการที่เป็น service package ครบวงจร เช่น การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ งานบริการวิชาการด้านการดูแลผู้สูงอายุ การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย
๕. เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท Satellite Campus ที่ Vietnam National University ประเทศเวียดนาม และเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แผน ก ๑ เป็นครั้งแรกของประเทศไทย
๖. IRB-NS ได้รับการรับรองมาตรฐานจากระบบรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน : NECAST
๗. ผ่านเกณฑ์ประเมินสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับดีเยี่ยม (G ทอง)

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. พัฒนาศูนย์การพยาบาลผู้ป่วย NCDs ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับ Johns Hopkins University ปี ๒๕๖๓
๒. พัฒนาคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ปี ๒๕๖๓
๓. พัฒนาบทเรียนออนไลน์ในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในรายวิชาการพยาบาลใช้การเรียนการสอนผ่านระบบ Online ๒๕% ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ และ ๑๐๐% ในปีการศึกษา ๒๕๖๔
๔. รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) ปี ๒๕๖๓

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๓ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา

วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การตรวจวิเคราะห์หาสารต้องห้ามในนักกีฬาทั้งระดับประเทศและภูมิภาค อาทิ Asian University Games, Asian Beach Games, Asian football Confederation
๒. ได้รับมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕ จาก NATA, Australia และ WADA Laboratory Accreditation
๓. เปลี่ยนสถานะ จาก “ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา” เป็น “สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ Global Research and Innovation เป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในสังคมและประเทศชาติ เช่น โครงการวิจัยศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาร่วมกับ WADA Accredited Laboratory โครงการร่วมวิจัยกับองค์การสุรา กรมสรรพสามิต
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ Academic and Entrepreneurial Education เป้าหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องสารต้องห้ามมีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการผลิตตำราเรื่องสารตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ Policy Advocacy and Leaders in Professional /Academic Services เป้าหมายเพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการให้อยู่ระดับแนวหน้า และคงไว้ซึ่งการรับรองมาตรฐานสากลมีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร ด้านระบบคุณภาพ NDCC โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ (LIM) สำหรับห้องปฏิบัติการ NDCC โครงการยกระดับห้องปฏิบัติการ NDCC สู่ระดับแนวหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization เป้าหมายเพื่อการบริการจัดการที่ยั่งยืน
มีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการปรับปรุงกระบวนการทำงานของสถาบัน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๓ ณ คณะวิทยาศาสตร์

วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะวิทยาศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ > ๔๐๐ เรื่อง/ปี และมีสัดส่วนของ Quartile ๑ สูงขึ้น
๒. รางวัลเชิดชูเกียรติ ระดับประเทศและนานาชาติต่าง ๆ
๓. การเริ่มผลักดันการใช้องค์ความรู้เพื่อสังคม

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. สร้างหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตบุคลากรที่มีทักษะการวิจัย เป็นที่ยอมรับในสากล/มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ๑.๑ ONE MUSC Education บูรณาการการเรียนรู้ และสร้างการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ๑.๒ หลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์เข้าตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน AUN-QA เพิ่มขึ้นอีก ๓ หลักสูตร ๑.๓ การจัดการเรียนการสอนภาคพิเศษ หรือ Online Learning Platform ที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๒. สร้างการวิจัยแบบ Platform-to-Platform สนับสนุนนักวิจัย คณาจารย์ ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล Global Talent เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๕ ของจำนวนบุคลากรสายวิชาการ คิดเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น ๑๕ คน ภายในปี ๒๕๖๔ ผลิตผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาท้าทายของสังคม จำนวน ๒ เรื่อง ภายในปี ๒๕๖๔
๓. Digital Transformation บริหารจัดการองค์กร ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทุกด้าน และสร้างศักยภาพในการเติบโต
๔. ตั้งศูนย์ MUSC solutions เพื่อสร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม เพื่อความสุขและการเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ จำนวน ๑๐ โครงการ/กิจกรรม ภายในปี ๒๕๖๕
๕. จัดทำผังแม่บทและปรับปรุงด้านการจัดการกายภาพและสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๔ และได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี ๒๕๖๕

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๓ ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน พร้อมผู้บริหารคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มีประเด็น
ความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ ๓ เรื่อง/คน/ปี
ทุนวิจัย ๑.๕ ล้าน/คน/ปี ผลงานอ้างอิง ๒๐ ครั้ง/เรื่อง/ปี จำนวน Field-Weighted Citation Impact เฉลี่ยย้อนหลัง ๕ ปี ที่ระดับ ๒.๐๙ สามารถเทียบเคียงมหาวิทยาลัยระดับโลกด้านโรคเขตร้อน
๒. หลักสูตรอายุรศาสตรเขตร้อนคลินิกมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน และหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ได้เปิดเป็นหลักสูตรแรกของโลก
๓. คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะฯ ได้รับการ Re-recognition ครั้งที่ ๔ จาก SIDCER-FERCAP และได้รับการรับรองคุณภาพจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (NECAST) ระดับ ๓
๔. ห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านโรคเขตร้อน (TMDR) ได้รับรองมาตรฐานระดับสากล ISO 15189:2012, ISO 15190:2003 และ
ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย (ESPReL)
๕. หลักสูตร “Biosafety Training” ได้รับการรับรองหลักสูตรฯ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
๖. ระบบเฝ้าระวังระดับประเทศ  ๒ ระบบ ที่พัฒนาโดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อนนั้น ถูกนำไปใช้อย่างถาวรในเว็บไซต์ของ (MOPH)
คือ ระบบเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรีย และวัณโรค

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัยระดับ ๓ หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับสูง
๒. ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Training course) เต็มรูปแบบ และพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก ๒ หลักสูตร
๓. ระบบ Smart Hospital นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการประชาชน ทั้งด้านความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัย
๔. เป็นศูนย์กลางรองรับการเป็น EC Secretariat ของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yo-thi Medical Innovation District: YMID)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๓ ณ คณะเทคนิคการแพทย์

วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ โดยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเทคนิคการแพทย์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สัมฤทธิ์ผลในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักวิจัยติดอันดับ ๑ และ ๑๒ Top authors ของไทย และของโลกในบางสาขาของงานทาง Data Mining and Biomedical Informatics
๒. ความสำเร็จในการพัฒนา Platform งานวิจัยสู่นวัตกรรมเพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ครบวงจร (วิจัยพัฒนา-ผลิตโดย Pilot plant-จำหน่ายโดยบริษัท MT InnoTrex) และพัฒนากลไกรองรับการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม เครื่องมือแพทย์ระดับประเทศ
๓. การขยายบริบททางเทคนิคการแพทย์กับการพัฒนาเกษตรและอาหารปลอดภัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนตามนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย นโยบายเกษตรแปลงใหญ่ของรัฐบาล และการสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริ
๔. ขยายบทบาททางวิชาชีพเพื่อการส่งเสริมการมีสุขภาวะดี (Good Health & Well-being) ผ่านการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และคลินิกสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สปสช.) เพื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มวัยและสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตาม พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ
๕. พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตามมาตรฐานสากลเพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีศักยภาพรอบด้าน และการ Up-skill, Re-skill แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
๖. เป็นแม่ข่ายดูแลมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ทั้งประเทศ และการขยายศักยภาพในระดับอาเซียน

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA
๒. พัฒนา National Clinical Laboratory Validation Center เพื่อส่งเสริมการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย
๓. พัฒนา National Platform ทดสอบอาหารเพื่อสุขภาพแห่งอนาคต รองรับทิศทาง Food for the Future
๔. ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และคลินิกสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อรองรับประชาชน
ทุกกลุ่มวัยและสังคมผู้สูงอายุ และเป็นแหล่งเรียนรู้และการปฏิบัติทางวิชาชีพ
๕. ขยายศักยภาพการเป็นแม่ข่ายดูแลมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ในระดับอาเซียน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๓ ณ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ พร้อมผู้บริหารสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์วารสารวิชาการระดับนานาชาติ/จำนวนบุคลากรสายวิชาการ สูงกว่าผลลัพธ์ในภาพรวมระดับมหาวิทยาลัย และอยู่อันดับ ๑ ของประเทศ และอันดับ ๖๗ ในทวีปเอเชียแปซิฟิก (SciVal ด้าน Education วันที่ ๓๐ ก.ย. ๖๒) และได้รับรางวัลระดับนานาชาติและระดับชาติ เช่น Gold Medal Award จาก Taiwan (พ.ศ. ๒๕๖๐) รางวัล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ม.มหิดล (พ.ศ.๒๕๕๙)
๒. ผลิตภัณฑ์จากการวิจัย (I-Kit, I-Reagent, I-Reader, ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Silica Aerogel) ก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง
๓. ระดับปริญญาเอกและโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (นานาชาติ) ปัจจุบันมีนักศึกษา ๖๓ คน (ร้อยละ ๑๑ เป็นนักศึกษาต่างชาติ) ผู้สำเร็จการศึกษามีผลงานวิจัยตีพิมพ์วารสารวิชาการนานาชาติ> ๑ เรื่อง/คน และ ผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจในระดับดี-ดีมาก
๔. องค์ความรู้จากกระบวนการวิจัยและพัฒนารวมทั้งนวัตกรรมทางการศึกษา นำมาบูรณาการกับพันธกิจบริการวิชาการ เช่น โครงการ    เปิดโลกวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม, IL Short Course, การอบรมอาจารย์ใหม่ การพัฒนาเด็กและเยาวชนบุคลากรทางการศึกษาภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
๕. การบริหารงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีรายได้สุทธิเป็นบวก

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ผลักดันหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ให้ได้รับการรับรอง AUN-QA ระดับมหาวิทยาลัยมหิดล ในปีงบฯ ๒๕๖๓ และระดับอาเซียนในปีงบฯ ๒๕๖๔
๒. ผลักดันให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายในปีงบฯ ๒๕๖๔ คือ รศ. ๖ คน และ ผศ. ๕ คน
๓. ควบรวมกับศูนย์จิตตปัญญาศึกษาตามนโยบายของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในปีงบฯ ๒๕๖๔
๔. ผลักดัน Startup / Business Development Unit (BDU) โดยขยายขอบเขตการดำเนินงานไปสู่ AI Robot, Neuroscience, Transformative Education ซึ่งจะทำให้มี Short Course เพิ่มขึ้นอีก ๒ หลักสูตรภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ (หลักสูตร NeuroLeadership, หลักสูตร NeuroMarketing)
๕. Modular Course Design จำนวน ๒ วิชา ภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ เช่น วิชา Measurement and Evaluation in Education และวิชา Psychology and Philosophy for Education