คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๕/๒๕๖๓ ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๕/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สร้างบุคลากรที่มีรายได้ข้ามพ้นรายได้ปานกลาง
๒. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ) ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล AUN-QA ได้คะแนนระดับ Example of Best Practice ปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๖
๓. พัฒนาบุคลากรในโครงการทุนพัฒนาอาจารย์คณะ ICT
๔. จัดตั้ง Mahidol AIST Research Unit (MARU) ร่วมกับ The National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST), Japan
๕. จัดตั้ง Mahidol Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) ร่วมกับ University of Bremen, Germany

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตร ICT+DST+Reskill (Flexi Education)
    ๑.๑ หลักสูตร ICT Flexi Education ผลิตบัณฑิตได้ประมาณ ๑๘๐ คนต่อปี (หลักสูตร ๔ ปี, หลักสูตร ICT-Bremen 3+2 (Digital Art) และหลักสูตร ICT-CMMU 4+1)
    ๑.๒ หลักสูตร DST Flexi Education ผลิตบัณฑิตได้ประมาณ ๘๐ คนต่อปี (IoT, Cyber Security และ Data Science)
๒. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ได้แก่ โครงการสนับสนุนกลุ่มวิจัย Global Collaboration (Germany, Japan, Australia, China, Taiwan) โครงการวิจัยบูรณาการตามความต้องการประเทศ (ด้านสังคมสูงวัย ด้านการแพทย์ ด้านสิ่งแวดล้อม)  และโครงการพัฒนา MUICT สู่ Intelligent Digital Hub
๓. การส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจกระแสใหม่ ได้แก่ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Digital Technology

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๔/๒๕๖๓ ณ คณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๔/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุม จันทรา นิลวรางกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ดังนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะพยาบาลศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ศูนย์ข้อมูลและคลังความรู้ทางการพยาบาล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ ๖๐ พรรษา
๒. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ในปี ๒๕๖๒
๓. พัฒนาการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีที่สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติและนานาชาติ เช่น ๓.๑ จัดการเรียนการสอนแบบ ๒ ภาษา เป็นแห่งเดียวในประเทศไทย ๓.๒ เปิดสอนรายวิชา ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นรายวิชาร่วมสหสาขา ให้กับนักศึกษาจาก PUMC & UI และ ๓.๓ เปิดสอนวิชา Enhancing patient safety through Inter – Professional Collaborative Practice แบบสหสาขาวิชาชีพ IPE : Interprofessional Education เป็นรายวิชาร่วมสหสาขาวิชาแรกของมหาวิทยาลัยมหิดล
๔. พัฒนางานบริการวิชาการที่เป็น service package ครบวงจร เช่น การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ งานบริการวิชาการด้านการดูแลผู้สูงอายุ การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย
๕. เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท Satellite Campus ที่ Vietnam National University ประเทศเวียดนาม และเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แผน ก ๑ เป็นครั้งแรกของประเทศไทย
๖. IRB-NS ได้รับการรับรองมาตรฐานจากระบบรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน : NECAST
๗. ผ่านเกณฑ์ประเมินสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับดีเยี่ยม (G ทอง)

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. พัฒนาศูนย์การพยาบาลผู้ป่วย NCDs ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับ Johns Hopkins University ปี ๒๕๖๓
๒. พัฒนาคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ปี ๒๕๖๓
๓. พัฒนาบทเรียนออนไลน์ในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในรายวิชาการพยาบาลใช้การเรียนการสอนผ่านระบบ Online ๒๕% ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ และ ๑๐๐% ในปีการศึกษา ๒๕๖๔
๔. รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) ปี ๒๕๖๓

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๓ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา

วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การตรวจวิเคราะห์หาสารต้องห้ามในนักกีฬาทั้งระดับประเทศและภูมิภาค อาทิ Asian University Games, Asian Beach Games, Asian football Confederation
๒. ได้รับมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕ จาก NATA, Australia และ WADA Laboratory Accreditation
๓. เปลี่ยนสถานะ จาก “ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา” เป็น “สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ Global Research and Innovation เป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในสังคมและประเทศชาติ เช่น โครงการวิจัยศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาร่วมกับ WADA Accredited Laboratory โครงการร่วมวิจัยกับองค์การสุรา กรมสรรพสามิต
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ Academic and Entrepreneurial Education เป้าหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องสารต้องห้ามมีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการผลิตตำราเรื่องสารตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ Policy Advocacy and Leaders in Professional /Academic Services เป้าหมายเพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการให้อยู่ระดับแนวหน้า และคงไว้ซึ่งการรับรองมาตรฐานสากลมีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร ด้านระบบคุณภาพ NDCC โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ (LIM) สำหรับห้องปฏิบัติการ NDCC โครงการยกระดับห้องปฏิบัติการ NDCC สู่ระดับแนวหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization เป้าหมายเพื่อการบริการจัดการที่ยั่งยืน
มีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการปรับปรุงกระบวนการทำงานของสถาบัน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๓ ณ คณะวิทยาศาสตร์

วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะวิทยาศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ > ๔๐๐ เรื่อง/ปี และมีสัดส่วนของ Quartile ๑ สูงขึ้น
๒. รางวัลเชิดชูเกียรติ ระดับประเทศและนานาชาติต่าง ๆ
๓. การเริ่มผลักดันการใช้องค์ความรู้เพื่อสังคม

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. สร้างหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตบุคลากรที่มีทักษะการวิจัย เป็นที่ยอมรับในสากล/มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ๑.๑ ONE MUSC Education บูรณาการการเรียนรู้ และสร้างการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ๑.๒ หลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์เข้าตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน AUN-QA เพิ่มขึ้นอีก ๓ หลักสูตร ๑.๓ การจัดการเรียนการสอนภาคพิเศษ หรือ Online Learning Platform ที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๒. สร้างการวิจัยแบบ Platform-to-Platform สนับสนุนนักวิจัย คณาจารย์ ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล Global Talent เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๕ ของจำนวนบุคลากรสายวิชาการ คิดเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น ๑๕ คน ภายในปี ๒๕๖๔ ผลิตผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาท้าทายของสังคม จำนวน ๒ เรื่อง ภายในปี ๒๕๖๔
๓. Digital Transformation บริหารจัดการองค์กร ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทุกด้าน และสร้างศักยภาพในการเติบโต
๔. ตั้งศูนย์ MUSC solutions เพื่อสร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม เพื่อความสุขและการเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ จำนวน ๑๐ โครงการ/กิจกรรม ภายในปี ๒๕๖๕
๕. จัดทำผังแม่บทและปรับปรุงด้านการจัดการกายภาพและสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๔ และได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี ๒๕๖๕

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๓ ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน พร้อมผู้บริหารคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มีประเด็น
ความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ ๓ เรื่อง/คน/ปี
ทุนวิจัย ๑.๕ ล้าน/คน/ปี ผลงานอ้างอิง ๒๐ ครั้ง/เรื่อง/ปี จำนวน Field-Weighted Citation Impact เฉลี่ยย้อนหลัง ๕ ปี ที่ระดับ ๒.๐๙ สามารถเทียบเคียงมหาวิทยาลัยระดับโลกด้านโรคเขตร้อน
๒. หลักสูตรอายุรศาสตรเขตร้อนคลินิกมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน และหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ได้เปิดเป็นหลักสูตรแรกของโลก
๓. คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะฯ ได้รับการ Re-recognition ครั้งที่ ๔ จาก SIDCER-FERCAP และได้รับการรับรองคุณภาพจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (NECAST) ระดับ ๓
๔. ห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านโรคเขตร้อน (TMDR) ได้รับรองมาตรฐานระดับสากล ISO 15189:2012, ISO 15190:2003 และ
ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย (ESPReL)
๕. หลักสูตร “Biosafety Training” ได้รับการรับรองหลักสูตรฯ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
๖. ระบบเฝ้าระวังระดับประเทศ  ๒ ระบบ ที่พัฒนาโดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อนนั้น ถูกนำไปใช้อย่างถาวรในเว็บไซต์ของ (MOPH)
คือ ระบบเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรีย และวัณโรค

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัยระดับ ๓ หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับสูง
๒. ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Training course) เต็มรูปแบบ และพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก ๒ หลักสูตร
๓. ระบบ Smart Hospital นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการประชาชน ทั้งด้านความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัย
๔. เป็นศูนย์กลางรองรับการเป็น EC Secretariat ของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yo-thi Medical Innovation District: YMID)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๓ ณ คณะเทคนิคการแพทย์

วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ โดยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเทคนิคการแพทย์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สัมฤทธิ์ผลในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักวิจัยติดอันดับ ๑ และ ๑๒ Top authors ของไทย และของโลกในบางสาขาของงานทาง Data Mining and Biomedical Informatics
๒. ความสำเร็จในการพัฒนา Platform งานวิจัยสู่นวัตกรรมเพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ครบวงจร (วิจัยพัฒนา-ผลิตโดย Pilot plant-จำหน่ายโดยบริษัท MT InnoTrex) และพัฒนากลไกรองรับการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม เครื่องมือแพทย์ระดับประเทศ
๓. การขยายบริบททางเทคนิคการแพทย์กับการพัฒนาเกษตรและอาหารปลอดภัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนตามนโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย นโยบายเกษตรแปลงใหญ่ของรัฐบาล และการสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริ
๔. ขยายบทบาททางวิชาชีพเพื่อการส่งเสริมการมีสุขภาวะดี (Good Health & Well-being) ผ่านการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และคลินิกสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สปสช.) เพื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มวัยและสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตาม พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ
๕. พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตามมาตรฐานสากลเพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีศักยภาพรอบด้าน และการ Up-skill, Re-skill แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
๖. เป็นแม่ข่ายดูแลมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ทั้งประเทศ และการขยายศักยภาพในระดับอาเซียน

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA
๒. พัฒนา National Clinical Laboratory Validation Center เพื่อส่งเสริมการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย
๓. พัฒนา National Platform ทดสอบอาหารเพื่อสุขภาพแห่งอนาคต รองรับทิศทาง Food for the Future
๔. ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และคลินิกสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อรองรับประชาชน
ทุกกลุ่มวัยและสังคมผู้สูงอายุ และเป็นแหล่งเรียนรู้และการปฏิบัติทางวิชาชีพ
๕. ขยายศักยภาพการเป็นแม่ข่ายดูแลมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ในระดับอาเซียน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๓ ณ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ พร้อมผู้บริหารสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์วารสารวิชาการระดับนานาชาติ/จำนวนบุคลากรสายวิชาการ สูงกว่าผลลัพธ์ในภาพรวมระดับมหาวิทยาลัย และอยู่อันดับ ๑ ของประเทศ และอันดับ ๖๗ ในทวีปเอเชียแปซิฟิก (SciVal ด้าน Education วันที่ ๓๐ ก.ย. ๖๒) และได้รับรางวัลระดับนานาชาติและระดับชาติ เช่น Gold Medal Award จาก Taiwan (พ.ศ. ๒๕๖๐) รางวัล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ม.มหิดล (พ.ศ.๒๕๕๙)
๒. ผลิตภัณฑ์จากการวิจัย (I-Kit, I-Reagent, I-Reader, ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Silica Aerogel) ก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง
๓. ระดับปริญญาเอกและโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (นานาชาติ) ปัจจุบันมีนักศึกษา ๖๓ คน (ร้อยละ ๑๑ เป็นนักศึกษาต่างชาติ) ผู้สำเร็จการศึกษามีผลงานวิจัยตีพิมพ์วารสารวิชาการนานาชาติ> ๑ เรื่อง/คน และ ผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจในระดับดี-ดีมาก
๔. องค์ความรู้จากกระบวนการวิจัยและพัฒนารวมทั้งนวัตกรรมทางการศึกษา นำมาบูรณาการกับพันธกิจบริการวิชาการ เช่น โครงการ    เปิดโลกวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม, IL Short Course, การอบรมอาจารย์ใหม่ การพัฒนาเด็กและเยาวชนบุคลากรทางการศึกษาภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
๕. การบริหารงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีรายได้สุทธิเป็นบวก

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ผลักดันหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ให้ได้รับการรับรอง AUN-QA ระดับมหาวิทยาลัยมหิดล ในปีงบฯ ๒๕๖๓ และระดับอาเซียนในปีงบฯ ๒๕๖๔
๒. ผลักดันให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายในปีงบฯ ๒๕๖๔ คือ รศ. ๖ คน และ ผศ. ๕ คน
๓. ควบรวมกับศูนย์จิตตปัญญาศึกษาตามนโยบายของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในปีงบฯ ๒๕๖๔
๔. ผลักดัน Startup / Business Development Unit (BDU) โดยขยายขอบเขตการดำเนินงานไปสู่ AI Robot, Neuroscience, Transformative Education ซึ่งจะทำให้มี Short Course เพิ่มขึ้นอีก ๒ หลักสูตรภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ (หลักสูตร NeuroLeadership, หลักสูตร NeuroMarketing)
๕. Modular Course Design จำนวน ๒ วิชา ภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ เช่น วิชา Measurement and Evaluation in Education และวิชา Psychology and Philosophy for Education

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๓ ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์

วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะสาธารณสุขศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การนำผลงานวิจัยไปไปใช้ผลักดันนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคจนสำเร็จ จำนวน ๒๐ เรื่อง
๒. การแก้ปัญหาการเงินของคณะ
๓. การมีนักวิจัยที่เป็นนวัตกร ๕ คน คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เพื่อสร้างสุขภาพและสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ทั้งสิ้น ๗ ชิ้น คือ รับสิทธิบัตร ๑ ชิ้น อนุสิทธิบัตร ๑ชิ้น และอยู่ระหว่างปรับแก้และขอจด ๕ ชิ้น รวมทั้งขึ้นทะเบียนที่ INT ๒ ชิ้น
๔. การจัดการศึกษาหลักสูตร Master of Public Health ที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ APACPH และ AUNQA
๕. การจัดการเรียนการสอนรายวิชาสาธารณสุขชุมชนและระบบสุขภาพให้มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ๑๒ ปี เช่น Wisconsin และ California State University เป็นเวลา ๓ ปี

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. การพัฒนาศูนย์วิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓
๒. การพัฒนา “Health Literate Faculty” พญาไท ศูนย์วิจัยสูงเนิน Health Literate District and Healthy District” เพื่อเป็น Interprofessional Education
๓. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมด้าน Implementation Sciences เพื่อพัฒนางาน Megacity Health and Global Health เพื่อการอบรมและปฏิบัติการจริง ปี ๒๕๖๓
๔. การจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบ และกลุ่มพระสงฆ์ เป้าหมาย เปิดศูนย์อย่างเป็นทางการเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
๕. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรมด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป้าหมาย เพิ่มร้อยละ ๑๐
๖. การพัฒนานักศึกษา MUHIDEF ( Health Literacy, English ) อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๓ ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การปรับเปลี่ยนหลักสูตรแบบพลิกโฉม และหลักสูตรได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ได้รับการรับรอง WFME ๑ ใน ๓ โรงเรียนแพทย์แห่งแรก และรอบสองในปี ๒๕๖๑, หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตผ่าน AUNQA หลักสูตรแรกของประเทศไทย, ร่วมสร้างหลักสูตรการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ตามนโยบายรัฐบาล และการเปิดหลักสูตรร่วม แพทย์–วิศวะ เป็นต้น
๒. งานวิจัยด้าน Genetics & ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เช่น ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี, จัดตั้งศูนย์จีโนมทางการแพทย์ การรักษาธาลัสซีเมียด้วยยีนบำบัดครั้งแรกของโลก, ธนาคารชีวภาพสำหรับโรคมะเร็งแบบครบวงจร, โรงพยาบาลแห่งแรกในไทยที่มีเครื่องพิมพ์ 3D-BIOPLOTTER และกิจกรรมบ่มเพาะนักนวัตกรรมทางการแพทย์ (รองเท้า และ Insole สำหรับคนเท้าเจ็บ) เป็นต้น
๓. การพัฒนาคุณภาพบริการรักษาพยาบาลสู่ระดับสากล ได้รับรางวัลต่าง ๆ เช่น รางวัล TQC 2019, ได้รับการจัดอันดับ ๒ Thailand’s Most Admired Company 2019, โครงการ Home Chemotherapy Rama Model ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๐, ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกเพื่อการป้องกันและดูแลด้านพิษวิทยา เป็นต้น
๔. การบริการขยายบริการรักษาพยาบาลภาคเอกชน Rama-Frontier ในปี ๒๕๖๒ ได้แก่ บจก.สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม
บจก.อีซูซุมอเตอร์(ประเทศไทย) และบจก.เชลล์แห่งประเทศไทย ร่วมพัฒนา Edu-town และ Medi-town กับบริษัท อมตะ
๕. Digital Transformation Organization เช่น AI FOR DIGITAL PATHOLOGY, Digital transformation framework of MOPH 4.0, Computerized Physician Order Entry (CPOE), ใช้สารสนเทศในการบริหาร Power BI, ใช้ระบบ Business intelligence  ติดตาม Financial Ratio เป็นต้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. สร้างศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย
๒. เปิดหลักสูตรร่วม รามา-วิทยาลัยการจัดการ (MD-MBA) ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๓. เปิดศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา
๔. ร่วมกับอมตะ พัฒนา Edu-town และ Medi-town ในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Rama-Frontier)
๕. สถาบันการแพทยจักรีนฤบดินทร์ (Green Campus)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๓ ณ คณะกายภาพบำบัด

วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ โดยคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะกายภาพบำบัด ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรนานาชาติ ได้รับการรับรอง AUN-QA
๒. เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรนานาชาติ ในปี ๒๕๖๑ เป็นที่แรกในประเทศไทย
๓. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด ได้รับการรับรอง WFOT และ AUN-QA
๔. บัณฑิตกายภาพบำบัดสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพสูงกว่าเป้าหมายทุกปี และสอบผ่านร้อยละ ๑๐๐ ติดต่อกัน ๓ ปี (๒๕๖๐-๒๕๖๑)
๕. บัณฑิตกิจกรรมบำบัดสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะ ในอัตราที่สูงกว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกปี (พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงปัจจุบัน)
๖. ศูนย์กายภาพบำบัด ได้รับการรับรองมาตรฐานบริการทางกายภาพบำบัดระดับดีเยี่ยม จากสภากายภาพบำบัด
๗. จำนวนชุมชน ผู้รับบริการในจังหวัดนครปฐมและความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๘. คุณภาพของงานวิจัยและทุนภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๙.จำนวนผลงานพัฒนาและ Team good practice เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ผลักดันหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด ให้ได้รับ International Accreditation จาก World Confederation for Physical Therapy (WCPT)
๒. ปรับปรุงและบูรณาการหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางคลินิก และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัดคลินิก
๓. จัดตั้ง “ศูนย์ฝึกอบรมกายภาพบำบัดในภาวะกระดูกสันหลังคด” “ศูนย์ Active Aging” “ศูนย์ Women Health”
๔. Tele-physical therapy ผ่าน health app.
๕. Innovative learning platform เช่น E-learning, short-course, module, credit bank
๖. Innovation and high impact research ร่วมมือกับชุมชนและภาคธุรกิจ