คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๓ ณ คณะศิลปศาสตร์

วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๓(Council Visit) ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนายุส ธนธิติ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ โดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะศิลปศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (นานาชาติ)
๒. จัดทำหลักสูตรสองปริญญาร่วมกับ Osaka University (M.A. in Applied Linguistics, Mahidol University & M.A. in Japanese Studies, Osaka University)
๓. สร้างแบบทดสอบและจัดสอบ ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol English Language Test: MU-ELT)
๔. มี MOU ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ๑๐๐ อันดับแรกของโลก ได้แก่ Shanghai Jiao Tong University (๖๐), National Taiwan University (๖๙), University of Leeds (๙๓)
๕. มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น (ผลงานตีพิมพ์ ๑๑ เรื่อง: อาจารย์ ๖๑ คน)
๖. ศูนย์การแปลและการล่ามได้รับการรับรองให้เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพสาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ อาชีพนักแปล คุณวุฒิวิชาชีพชั้น ๔ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
๗. ผลประกอบการดีขึ้น โดยคณะฯ มีเงินรายได้สะสมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ในอัตราร้อยละ ๔๓
๘. มีบทเรียนออนไลน์  MOOC จำนวน ๓ รายวิชา  SPOC จำนวน ๕ รายวิชา
๙. ร่วมกับกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดอบรมมัคคุเทศก์แก่บุคคลทั่วไปต่อเนื่องเป็นปีที่ ๑๑

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. จัดทำหลักสูตร Double Degree B.A. in Chinese ร่วมกับ Shanghai Jiao Tong University
๒. เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม
๓. นำหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (นานาชาติ) เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน AUN-QA
๔. ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อในมหาวิทยาลัยมหิดล
๕. MOU ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ๑๐๐ อันดับแรกของโลก ได้แก่ Fudan University (อันดับที่ ๔๐ ของโลก)
๖. พัฒนาบทเรียนออนไลน์ MOOC จำนวน ๕ รายวิชา และจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพออนไลน์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๓ ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๔/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การขยายผลเชิงนโยบายพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) สู่การปฏิบัติในกลุ่มครูปฐมวัย และการให้นโยบาย EF เด็กปฐมวัยของสภาการศึกษา
๒. ขยายผลจากการพัฒนาการตรวจประเมินพัฒนาการ DENVER II มีนโยบายการตรวจคัดกรอง DSPM ทั้งประเทศ และมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติได้ประกาศเป็นนโยบายที่ใช้ทั่วประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจาก ๔ กระทรวงหลัก
๓. มติสมัชชาสุขภาพ พื้นที่เล่นสู่การเรียนรู้ของเด็กในระดับชุมชนสู่นโยบายสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และนโยบายเล่นเปิดโลกของกระทรวงสาธารณสุข
๔. ผลกระทบจากสารโลหะหนัก ฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ถูกนำเป็นข้อมูลประกอบ  การพิจารณาเพื่อต่อสู้คดีระหว่างประเทศของรัฐบาล
๕. หลักสูตรบูรณาการ “การออกแบบชีวิต” (Life Design) ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบุคคลทั่วไป

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. การขยายผลสู่ระดับนโยบาย (๑) รูปแบบการจัดบริการการพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่นโยบายสภาการศึกษาและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๒) รูปแบบการเยี่ยมบ้านโดยกลุ่มบูรณาการสุขภาพ สู่นโยบายการดูแลเด็กปฐมวัยโดย อปท. (๓) จัดฝึกอบรมหลักสูตรการคิดเชิงบริหาร (EF)
๒. พัฒนารูปแบบเชิงพื้นที่ “เมืองเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว” อย่างน้อย ๓ พื้นที่
๓. พัฒนารูปแบบเชิงวัฒนธรรมองค์กร “ความรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัวขององค์กร” เพื่อขยายผลสู่การปฏิบัติในองค์กรภาครัฐ/เอกชน
๔. มาตรการเฝ้าระวังและปกป้องเด็กร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข
๕. ขยายผลหลักสูตรการเรียนร่วม ครอบคลุมผู้เรียน ๒,๐๐๐ คน ให้ได้ ๕ หลักสูตร

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๓ ณ วิทยาลัยการจัดการ

วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ วิทยาลัยการจัดการ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อาภาศิลป์ คณบดีวิทยาลัยการจัดการ พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัยเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของวิทยาลัยการจัดการ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับนานาชาติจาก AACSB ทำให้อยู่ใน Top 5% ของสถาบันที่สอนด้านการจัดการ หรือบริหารธุรกิจมากกว่า ๑๗,๐๐๐ แห่งทั่วโลก
๒. ศูนย์วิจัยภาวะผู้นำและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิมั่นพัฒนา มีผลงานวิจัยซึ่งพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการเปิดหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน
๓. จัดตั้งและเริ่มดำเนินงานศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ACSDSD) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
๔. มีความร่วมมือต่อเนื่องกับ MIT Sloan School of Management  จัดหลักสูตร Strategy and Innovation for Businesses in Asia (SIBA) พัฒนาความรู้ความชำนาญของผู้บริหารภาครัฐและเอกชนในเรื่อง Global Strategy และ Strategic Innovation
๕. คุณภาพงานวิจัยเชิงวิชาการ (Academic research) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเพิ่มขึ้นของมูลค่างาน Contract research
๖. จัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับส่วนงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และทำหลักสูตรสองปริญญาร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ
๗. ผลงานของนักศึกษาและคณาจารย์ได้รับการยอมรับและมีผลกระทบต่อสังคม เช่น แนวคิดพิชิตใจ Lazy consumers เป็นต้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. จัดอยู่ใน ๓๐๐ อันดับแรกของสถาบันที่จัดอันดับโดย QS World University Ranking
๒. ยื่นขอการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)
๓. การดำเนินการของศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นศูนย์หลักแห่งหนึ่งของประเทศในการกระตุ้น studies และ dialogue ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับประเทศอื่น
๔. เพิ่มสาขาวิชาที่ทันสมัย และการร่วมมือจัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดลเพิ่มขึ้น และกับต่างมหาวิทยาลัย
๕. การเพิ่มจำนวนกลุ่มงานวิจัย (Research clusters) ที่น่าสนใจ และมีผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ อาทิ Innovation and technology, Supply chain analytics, Global future skills

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๓ ณ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุม ๑๐๘ ชั้น ๑ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ นวัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การถ่ายทอดเทคโนโลยี biologics ที่มีมูลค่าสูง เช่น วัคซีนป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ และสารชีวโมเลกุลเพื่อเพิ่มผลผลิตกุ้ง
๒. การประเมินพัฒนาการด้านความคิดเชิงบริหาร (Executive Function) ในเด็กปฐมวัย และรางวัลองค์กรดีเด่นด้าน
การป้องกันยาเสพติด จากสำนักงาน ป.ป.ส. ประจำปี ๒๕๖๑
๓. บริการตรวจวินิจฉัยโรคทาลัสซีเมีย และโครงการเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy): มุ่งสู่ความเป็น Social Enterprise งานวิจัยที่มีศักยภาพในการนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์
๔. สร้างวัฒนธรรมเกษตรกรแนวใหม่ที่อยู่บนฐานนวัตกรรม มีพันธุ์พืชชนิดใหม่ อาทิ มันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ และพันธุ์พืชหายากโดยโครงการ อพ.สธ.
๕. ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูง โดยจำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติต่อจำนวนบุคลากรสายวิชาการ
เป็นอันดับ ๑ ของมหาวิทยาลัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนการอ้างอิง สูงเป็นอันดับ ๒ ของมหาวิทยาลัย Field-Weighted Citation Impact (FWCI) จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือนำไปใช้ เป็นต้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. มุ่งเป็น World-Class Research Institute ทั้งด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งของศูนย์วิจัยฯ และหลักสูตร โดยมีจำนวนหลักสูตรที่ผ่านการรับรอง AUN-QA, h-index, FWCI, จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสาร Q1, จำนวนนักวิจัยสำเร็จรูประดับ rising star (Tier 2) และจำนวนและรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
๒. จัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์และนวัตกรรมกุ้ง เพื่อรองรับการวิจัยมุ่งเป้าและการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการส่งออก
๓. โครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ที่สร้างองค์ความรู้ในระดับ frontier นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง เช่น วัคซีน JE สิ้นสุดกระบวนการทดลองในระดับ Non-linical พร้อมสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรม และมี Biologics Candidates ต้นแบบ ที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์อย่างน้อย ๑ ตัว

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๓ ณ คณะเภสัชศาสตร์

วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะเภสัชศาสตร์มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเภสัชศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ผลงานวิจัยเติบโตอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่องทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ (Paper/Faculty: ๑.๒ คน/ปี Quartile 1 & 2 รวมกันร้อยละ ๘๓.๖) และนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิงของ International Practice Guidelines จากองค์กรต่างประเทศหลายองค์กร
๒. การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับเอกชน นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเงินทุนวิจัยในภาพรวมอย่างก้าวกระโดด
๓. วารสารของคณะฯ (Pharmaceutical Science Asia) ได้รับการคัดเลือกเข้าฐานข้อมูล SCOPUS ในปี ๒๕๖๑
๔. คณะฯ เป็นแกนนำในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร Health Technology Assessment (HTA) ให้กับมหาวิทยาลัยร่วม ๖ ส่วนงาน ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับ World-Class และทำให้มหาวิทยาลัยมี International Visibility ด้าน HTA ที่โดดเด่น
๕. บริการวิชาการของคณะฯ ทำประโยชน์ให้สังคม และผลดำเนินงานที่ดี ทั้งการสร้างรายได้และการได้รับการยอมรับระดับชาติและนานาชาติ เช่น ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (Center of Analysis for Product Quality – CAPQ) ซึ่งได้รับการรับรอง ISO 17025/2017

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. เปิด Joint Unit ร่วมกับ Institute of Aging and Chronic Disease, U. of Liverpool เพื่อสร้างความเป็นผู้นำการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ การชะลอวัยระดับภูมิภาค
๒. ขยายผลความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาคเอกชนสู่การนำความรู้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์  
๓. ผลักดันวารสารของคณะฯ เข้าสู่ฐานข้อมูล Web of Sciences
๔. นำหลักสูตรปริญญาตรีเข้าสู่การรับรองทั้งระดับภูมิภาค (AUNQA) และระดับโลก (Accreditation Council of Pharmacy Education – ACPE) เป็นหลักสูตรแรกของไทย
๕. เปิดหลักสูตร PharmD (International) เพื่อขยายการศึกษานานาชาติในประเทศและภูมิภาค และซึ่งจะนำไปสู่ International Visibility และความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว  
๖. เป็นผู้นำทางวิชาการด้านการพัฒนามาตรฐานคุณภาพยาร่วมกับองค์กรระดับโลก (United States Pharmacopoeia–USP) ในโครงการ Promoting Quality Medicine Plus ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจำนวน ๑๖๐ ล้านเหรียญสหรัฐจาก USAID
๗. จัดตั้ง ASEAN PharmNet Secretariat Office เพื่อเป็นผู้นำทางเภสัชศาสตร์ระดับภูมิภาค และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายในการผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการสร้างงานวิจัยที่มี Impact ระดับโลก รวมถึงการดึงแหล่งทุนระดับโลกเข้าสู่เครือข่ายและคณะฯ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๓ ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของวิทยาลัยนานาชาติ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ได้รับการจัดอันดับที่ ๑ (ด้านสิ่งแวดล้อม) ของประเทศไทย จาก Times Higher Education
๒. พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียง
โดยได้รับความสนใจจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ
๓. วารสาร Environment and Natural Resources Journal (ENRJ) ได้รับการบรรจุในฐานข้อมูล Scopus Quartile ๔ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๖๐
๔. ห้องปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีได้รับมาตรฐาน ESPReL รวมทั้งได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001:2004, ISO14001:2015 มาตราฐานคาร์บอนฟุตพรินทร์ขององค์กร  มาตราฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ISO 45001 และมาตรฐานสีเขียว เช่น Green Meetng และ Green Office
๕. บุคลากรและนักศึกษาของคณะฯ สร้างชื่อเสียง และได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น
การค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก รางวัลเหรียญทอง “ระบบตรวจวัดและควบคุมการสังเคราะห์แสงของพืชอัจฉริยะ” ในงาน “Seoul International Invention Fair” (SIIF) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น
๖. การพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ Shanghai Jiao Tong University, Tsinghua University, Nagasaki University และ Fukuoka Women’s University
จัดตั้งศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ม.มหิดล กับ GISTDA
๗. การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปรับปรุงคุณภาพน้ำคลองเต่า วัดบวรนิเวศวิหาร (ได้รับรางวัล นำร่อง Social Engagement ม.มหิดล) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน (5) ในพื้นที่ ม.มหิดล ศาลายา

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. นักศึกษาระดับปริญญาตรีสอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. พัฒนาวารสาร ENRJ (Environment and Natural Resources Journal) ในฐานข้อมูลสากล Scopus เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล Science Citation Index Expand (SCIE) ซึ่งอยู่ใน Web of Science Core Collection (2019-2020)
๓. พัฒนาศักยภาพของ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ ณ จังหวัดลำปาง โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Based Research Approach)
๔. การรับรองมาตราฐานสากลในการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฎิบัติการ ISO/IEC 17025 ในส่วนของโลหะหนัก

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๓ ณ วิทยาลัยนานาชาติ

วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ วิทยาลัยนานาชาติ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของวิทยาลัยนานาชาติ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ความยั่งยืนขององค์กร
๑.๑ ด้านหลักสูตรต่าง ๆ ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพและการยอมรับระดับสากล: (๑) จาก the Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), (๒) จาก ASEAN University Network Quality Assurance (AUN-QA) และ TedQual UNWTO, (๓) จากสถาบัน The Chartered Financial Analyst (CFA), (๔) จาก National ELT Accreditation Scheme (NEAS) และ (๕) การได้รับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM)
๑.๒ ด้านการเพิ่มจำนวนนักศึกษาใหม่ และความยั่งยืนทางการเงิน
๑.๓ การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
๒. ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอน
๒.๑ การสร้างเวทีการศึกษาที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น
๒.๒ การปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
๒.๓ การพัฒนาการเรียนการสอน
๓. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ตอบสนองผู้เรียนยุคใหม่
๔. การใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของบุคลากร เพื่อบูรณาการโครงการความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ได้แก่ โครงการ (๑) บางกอกน้อย (๒) Sustainable Community-Based Tourism (๓) พัฒนาบุคลากรของนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (๔) SiCRES และ (๕) ศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้Siriraj Medical Research Network (SiMRN) (Allergy and Immunology)
๕. Pathway Programs และความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ความยั่งยืนขององค์กร
๒. ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอน
๓. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ตอบสนองผู้เรียนยุคใหม่
๔. การใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของบุคลากรในการบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
๕. Pathway Programs และความร่วมมือกับต่างประเทศ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๓ ณ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุมกันภัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สังคมศาสตร์สุขภาพ (สังคมศาสตร์การแพทย์เดิม) เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศ มีการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้วยแนวคิดและเครื่องมือด้านสังคมศาสตร์ เช่น พัฒนานโยบายด้านการสาธารณสุขมูลฐาน เศรษฐศาสตร์สุขภาพ ระบบหลักประกันสุขภาพ พัฒนานโยบายด้านผู้สูงอายุ ฯลฯ
๒. หลักสูตรและงานด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม เป็นหลักสูตรแรกของประเทศ มีบทบาทในการพัฒนาด้านกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันมีความร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติฯ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์) และ Hudersfield University, UK ในการเปิดหลักสูตรนานาชาติอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมการทำงานด้าน Cyber Security
๓. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคัมภีร์พุทธศาสนศึกษา มีอาจารย์ในหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีผลงานทั้งในรูปหนังสือและบทความตีพิมพ์ในวารสาร เป็นวิทยากรบรรยายและร่วมทีมวิจัยในต่างประเทศ และมีความร่วมมือกับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Prof. Harunaga Isaacson (Hamburg University) ฯลฯ
๔. มีบทบาทในการจัดการศึกษาหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีวิชาเลือกและบังคับเปิดสอนปีละมากกว่า ๓๐ วิชา และมีผลงานด้านการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศทำให้ได้รับเงินทุนวิจัยเพิ่มมากขึ้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. Social Studies of Science, Technology and Health Humanities conference (Sept 2020)
๒. Excellent Center on Gender, Sexuality and Health (Center for Health Policy Studies)
๓. Inclusive Society Research Center
๔. Center for China Studies and Globalizing Asia
๕. Criminology and Social Justice
๖. Religion and Development Cluster

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์

วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา (๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. ร่วมกันกำหนดทิศทางการวิจัยมุ่งเป้าหลักของคณะ ที่สอดคล้องกับ Core Competencies ได้แก่ HealthCare Engineering, Logistics and Rail Engineering, Digital Engineering และ Sustainable Engineering
๒. ปรับหลักสูตรปริญญาตรีมุ่งสู่หลักสูตรนานาชาติ (Internationalization) และมุ่งสู่การทำ Accreditation
ในระดับนานาชาติ ABET จากการรับรองของประเทศสหรัฐอเมริกา Washington Accords
๓. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะ Interdisciplinary ทั้งภายในและภายนอกคณะ
๔. พัฒนาหลักสูตร Dual Degree กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกหลายหลักสูตร
๕. มุ่งสู่การเรียนการสอนแบบ Outcome-based Education และการปรับปรุงห้องเรียนแบบ Active Learning
๖. ปรับปรุงสถานที่และสภาพแวดล้อม รวมถึง Ecosystem เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรม และแนวทาง Entrepreneurial University
๗. สร้าง Platform เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการวิจัย นวัตกรรมและการพัฒนาบุคลากร ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น โครงการอมตะ คอร์ป และ EECi เป็นต้น
๘. พัฒนากระบวนการดำเนินการ การบริหารจัดการทางงบประมาณและการเงินใหม่ที่ส่งผล ให้คณะได้มีผลประกอบการการเงิน เป็นบวกใน ๓ ปีที่ผ่าน และการประกันคุณภาพคณะ ได้คะแนน EdPEx ดีขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง และมุ่งสู่ TQA ในปีนี้

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. โครงการ Salaya Start Up Town เพื่อมุ่งสู่การเชื่อมโยงและส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ Medical Device, Robotics and Automation, AI and Digital และ Biorefinery ซึ่งรองรับนโยบาย BCG และ EEC
๒. พัฒนายกระดับขีดความสามารถทางด้านหลักสูตรการศึกษาให้ทัดเทียมและแข่งขันได้ในระดับสากล และมุ่งสู่การได้รับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET)
๓. ร่วมสนับสนุนและรองรับแผนพัฒนา EEC โดยช่องทางโครงการ EECi ของกระทรวงอุดมศึกษาฯ และความร่วมมือกับ อมตะ คอร์ป

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๓ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์

วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ทพญ. วรานันท์ บัวจีบ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะทันตแพทยศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ( ๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. คะแนนการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระดับ  ๓๐๒-๓๕๕ ปี ๒๕๖๒
๒. การต่อยอดวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมีความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น บริษัท กิฟฟารีนฯ และ เอสซีจี โดยได้รับสิทธิบัตรร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และ SCG  ได้รับรางวัลระดับชาติ  SET AWARD 2016
๓. ได้รับจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุน แผนงานบูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ และจัดตั้งคลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุ พร้อมเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมผู้สูงอายุ
๔. ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ปีงบประมาณ ๒๕๕๘-๒๕๖๒ เป็นบวกต่อเนื่องสามปีระหว่าง ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒
๕. โรงพยาบาลทันตกรรมแห่งแรกที่ได้รับรองคุณภาพ HA ขั้น ๒ และอยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมขอรับรองขั้น ๓ ทั้งสองโรงพยาบาล
๖. ผลการสอบประเมินความรู้ใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ครั้งแรกผ่านมากกว่าร้อยละ ๙๕ ตลอดสี่ปีที่ผ่านมา
๗. ได้รับรางวัล Bangkok GREEN & CLEAN Hospital Plus (BKKGC+) ระดับเพชรปี ๒๕๖๒ ผ่านการรับรองเป็นองค์กร Carbon Footprint ปี ๒๕๖๒ รางวัลสถานศึกษาปลอดภัยระดับดีเด่นปี ๒๕๖๑ และ และรางวัลสำนักสีเขียว (Green Office) ระดับทองตั้งแต่ ปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบัน
๘. โครงการยุวทูตสุขภาพดี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทพัฒนาการบริการ และรับรางวัล  “Team Good Practice Award” ในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
๙. คณะเป็นส่วนหนึ่งของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID-Yothi Medical Innovation District) และได้รับทุนวิจัยเรื่อง การพัฒนายาฟลูโอ  ซิโนโลนเจลเพื่อการรักษาแผลช่องปากในปี ๒๕๖๑ และจัดตั้งศูนย์ Digital Center เพื่อเทคโนโลยีทางทันตกรรมที่ทันสมัย และ Smart Classroom เพื่อการศึกษาทางไกล

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA : ๑ หลักสูตรในระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ในปี ๒๕๖๓ และพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน AUN-QA ในระดับหลังปริญญาอย่างน้อยหนึ่งหลักสูตร และหลักสูตร ท.บ.นานาชาติ รวมถึงการพัฒนาต่อเนื่องให้ได้รับ International Standard และพัฒนาทุกหลักสูตรให้ได้รับมาตรฐาน AUN-QA
๒. มุ่งเป้าหมายเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน Thailand Quality Class (TQC) และ HA ขั้นที่ ๓ ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร และสร้างมาตรฐานการบริการทางทันตกรรมระดับชาติ
๓. Online Courses ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพผู้สูงอายุ
๔. ร่วมมือด้านการทำงานวิจัยกับสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ
๕. WHO CC (Center for Continuing Education and Research) : Minamata Convention; Prevention of Oral Disease