คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๓ ณ วิทยาลัยนานาชาติ

วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ วิทยาลัยนานาชาติ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของวิทยาลัยนานาชาติ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ความยั่งยืนขององค์กร
๑.๑ ด้านหลักสูตรต่าง ๆ ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพและการยอมรับระดับสากล: (๑) จาก the Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), (๒) จาก ASEAN University Network Quality Assurance (AUN-QA) และ TedQual UNWTO, (๓) จากสถาบัน The Chartered Financial Analyst (CFA), (๔) จาก National ELT Accreditation Scheme (NEAS) และ (๕) การได้รับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM)
๑.๒ ด้านการเพิ่มจำนวนนักศึกษาใหม่ และความยั่งยืนทางการเงิน
๑.๓ การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
๒. ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอน
๒.๑ การสร้างเวทีการศึกษาที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น
๒.๒ การปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
๒.๓ การพัฒนาการเรียนการสอน
๓. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ตอบสนองผู้เรียนยุคใหม่
๔. การใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของบุคลากร เพื่อบูรณาการโครงการความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ได้แก่ โครงการ (๑) บางกอกน้อย (๒) Sustainable Community-Based Tourism (๓) พัฒนาบุคลากรของนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (๔) SiCRES และ (๕) ศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้Siriraj Medical Research Network (SiMRN) (Allergy and Immunology)
๕. Pathway Programs และความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ความยั่งยืนขององค์กร
๒. ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอน
๓. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ตอบสนองผู้เรียนยุคใหม่
๔. การใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของบุคลากรในการบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
๕. Pathway Programs และความร่วมมือกับต่างประเทศ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๓ ณ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุมกันภัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สังคมศาสตร์สุขภาพ (สังคมศาสตร์การแพทย์เดิม) เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศ มีการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้วยแนวคิดและเครื่องมือด้านสังคมศาสตร์ เช่น พัฒนานโยบายด้านการสาธารณสุขมูลฐาน เศรษฐศาสตร์สุขภาพ ระบบหลักประกันสุขภาพ พัฒนานโยบายด้านผู้สูงอายุ ฯลฯ
๒. หลักสูตรและงานด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม เป็นหลักสูตรแรกของประเทศ มีบทบาทในการพัฒนาด้านกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันมีความร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติฯ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์) และ Hudersfield University, UK ในการเปิดหลักสูตรนานาชาติอาชญาวิทยาและงานยุติธรรมการทำงานด้าน Cyber Security
๓. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคัมภีร์พุทธศาสนศึกษา มีอาจารย์ในหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีผลงานทั้งในรูปหนังสือและบทความตีพิมพ์ในวารสาร เป็นวิทยากรบรรยายและร่วมทีมวิจัยในต่างประเทศ และมีความร่วมมือกับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Prof. Harunaga Isaacson (Hamburg University) ฯลฯ
๔. มีบทบาทในการจัดการศึกษาหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีวิชาเลือกและบังคับเปิดสอนปีละมากกว่า ๓๐ วิชา และมีผลงานด้านการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศทำให้ได้รับเงินทุนวิจัยเพิ่มมากขึ้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. Social Studies of Science, Technology and Health Humanities conference (Sept 2020)
๒. Excellent Center on Gender, Sexuality and Health (Center for Health Policy Studies)
๓. Inclusive Society Research Center
๔. Center for China Studies and Globalizing Asia
๕. Criminology and Social Justice
๖. Religion and Development Cluster

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์

วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา (๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. ร่วมกันกำหนดทิศทางการวิจัยมุ่งเป้าหลักของคณะ ที่สอดคล้องกับ Core Competencies ได้แก่ HealthCare Engineering, Logistics and Rail Engineering, Digital Engineering และ Sustainable Engineering
๒. ปรับหลักสูตรปริญญาตรีมุ่งสู่หลักสูตรนานาชาติ (Internationalization) และมุ่งสู่การทำ Accreditation
ในระดับนานาชาติ ABET จากการรับรองของประเทศสหรัฐอเมริกา Washington Accords
๓. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะ Interdisciplinary ทั้งภายในและภายนอกคณะ
๔. พัฒนาหลักสูตร Dual Degree กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกหลายหลักสูตร
๕. มุ่งสู่การเรียนการสอนแบบ Outcome-based Education และการปรับปรุงห้องเรียนแบบ Active Learning
๖. ปรับปรุงสถานที่และสภาพแวดล้อม รวมถึง Ecosystem เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรม และแนวทาง Entrepreneurial University
๗. สร้าง Platform เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการวิจัย นวัตกรรมและการพัฒนาบุคลากร ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น โครงการอมตะ คอร์ป และ EECi เป็นต้น
๘. พัฒนากระบวนการดำเนินการ การบริหารจัดการทางงบประมาณและการเงินใหม่ที่ส่งผล ให้คณะได้มีผลประกอบการการเงิน เป็นบวกใน ๓ ปีที่ผ่าน และการประกันคุณภาพคณะ ได้คะแนน EdPEx ดีขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง และมุ่งสู่ TQA ในปีนี้

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. โครงการ Salaya Start Up Town เพื่อมุ่งสู่การเชื่อมโยงและส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ Medical Device, Robotics and Automation, AI and Digital และ Biorefinery ซึ่งรองรับนโยบาย BCG และ EEC
๒. พัฒนายกระดับขีดความสามารถทางด้านหลักสูตรการศึกษาให้ทัดเทียมและแข่งขันได้ในระดับสากล และมุ่งสู่การได้รับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET)
๓. ร่วมสนับสนุนและรองรับแผนพัฒนา EEC โดยช่องทางโครงการ EECi ของกระทรวงอุดมศึกษาฯ และความร่วมมือกับ อมตะ คอร์ป

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๓ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์

วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ทพญ. วรานันท์ บัวจีบ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะทันตแพทยศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ( ๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. คะแนนการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระดับ  ๓๐๒-๓๕๕ ปี ๒๕๖๒
๒. การต่อยอดวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมีความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น บริษัท กิฟฟารีนฯ และ เอสซีจี โดยได้รับสิทธิบัตรร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และ SCG  ได้รับรางวัลระดับชาติ  SET AWARD 2016
๓. ได้รับจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุน แผนงานบูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ และจัดตั้งคลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุ พร้อมเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมผู้สูงอายุ
๔. ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ปีงบประมาณ ๒๕๕๘-๒๕๖๒ เป็นบวกต่อเนื่องสามปีระหว่าง ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒
๕. โรงพยาบาลทันตกรรมแห่งแรกที่ได้รับรองคุณภาพ HA ขั้น ๒ และอยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมขอรับรองขั้น ๓ ทั้งสองโรงพยาบาล
๖. ผลการสอบประเมินความรู้ใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ครั้งแรกผ่านมากกว่าร้อยละ ๙๕ ตลอดสี่ปีที่ผ่านมา
๗. ได้รับรางวัล Bangkok GREEN & CLEAN Hospital Plus (BKKGC+) ระดับเพชรปี ๒๕๖๒ ผ่านการรับรองเป็นองค์กร Carbon Footprint ปี ๒๕๖๒ รางวัลสถานศึกษาปลอดภัยระดับดีเด่นปี ๒๕๖๑ และ และรางวัลสำนักสีเขียว (Green Office) ระดับทองตั้งแต่ ปี ๒๕๖๐ จนถึงปัจจุบัน
๘. โครงการยุวทูตสุขภาพดี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทพัฒนาการบริการ และรับรางวัล  “Team Good Practice Award” ในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
๙. คณะเป็นส่วนหนึ่งของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID-Yothi Medical Innovation District) และได้รับทุนวิจัยเรื่อง การพัฒนายาฟลูโอ  ซิโนโลนเจลเพื่อการรักษาแผลช่องปากในปี ๒๕๖๑ และจัดตั้งศูนย์ Digital Center เพื่อเทคโนโลยีทางทันตกรรมที่ทันสมัย และ Smart Classroom เพื่อการศึกษาทางไกล

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA : ๑ หลักสูตรในระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ในปี ๒๕๖๓ และพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน AUN-QA ในระดับหลังปริญญาอย่างน้อยหนึ่งหลักสูตร และหลักสูตร ท.บ.นานาชาติ รวมถึงการพัฒนาต่อเนื่องให้ได้รับ International Standard และพัฒนาทุกหลักสูตรให้ได้รับมาตรฐาน AUN-QA
๒. มุ่งเป้าหมายเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน Thailand Quality Class (TQC) และ HA ขั้นที่ ๓ ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร และสร้างมาตรฐานการบริการทางทันตกรรมระดับชาติ
๓. Online Courses ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพผู้สูงอายุ
๔. ร่วมมือด้านการทำงานวิจัยกับสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ
๕. WHO CC (Center for Continuing Education and Research) : Minamata Convention; Prevention of Oral Disease

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๓ ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย พร้อมผู้บริหารสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ( ๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. จัดการศึกษาแบบทวิภาษาสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จาก UNESCO ด้านการรู้หนังสือประจำปี ค.ศ. 2016 (UNESCO King Sejong Literacy Prize)
๒. งานวิจัยที่ช่วยองค์กรนานาชาติ (UN, UNICEF, Save the Children และ Pestalozzi) ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่เป็นเป้าหมายระดับนานาชาติ (SDG 4) ของเด็กชนกลุ่มน้อย
๓. เสริมศักยภาพคนไทยในยุคโลกไร้พรมแดนให้มีทักษะด้านพหุภาษาและพหุวัฒนธรรม ผ่านการจัดการศึกษา “ห้องเรียน
พหุวัฒนธรรม” และการทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยในกลุ่มโจทย์วิจัยสำคัญด้านอาเซียน
๔. งานวิจัยที่ช่วยเติมเต็มการสร้างสุขภาวะในมิติสังคมวัฒนธรรมให้แก่ผู้สูงอายุในสังคมสูงวัย
๕. การจัดบริการด้านภาษาและวัฒนธรรมสู่ระดับนานาชาติร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ASEAN University Network และร่วมสร้าง ASEAN University Network–Youth Cultural Forum (AUN–AYCF) แห่งประเทศไทย

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. จัดทำ “ระบบสารสนเทศอัจริยะด้านภาษาและวัฒนธรรม (Digital archiving for diversity of languages and cultures)
๒. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการวิจัยพัฒนาระบบการศึกษาและนวัตกรรมในพื้นที่พิเศษ
(พหุชาติพันธุ์-พหุวัฒนธรรม) แถบชายแดนไทย-พม่า และขยายให้ครอบคลุมชายแดนทั่วประเทศ
๓. ยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยเปิดศูนย์อบรมทางภาษาและวัฒนธรรมและการศึกษาแบบครบวงจร (จัดการอบรมภาษาและวัฒนธรรม รับรองคุณภาพด้านภาษา (MU-Thai test) และสร้างผู้ประกอบการด้านภาษาและวัฒนธรรม)
๔. สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้ โดยการวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่เมืองรองและภูมิภาค (จีน อินเดีย
และอาเซียน) ด้วยต้นทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
๕. เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้วยทุนทางวัฒนธรรม ด้วยโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวไทยผ่านภาษาและวัฒนธรรมร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๒ ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รศรินทร์ เกรย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พร้อมผู้บริหารสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้
ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ( ๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. Field Weighted Citation Impact บทความวิชาการของสถาบันฯ มีค่าใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยระดับ Top ๕๐ ของโลก
๒. Journal of Population and Social Studies (JPSS) ได้รับการตอบรับเข้าอยู่ในฐาน SCOPUS ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐
๓. Redesignation เป็น WHOCC for Research in Human Reproduction ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๕ (ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ อย่างต่อเนื่อง)
๔. เงินทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่า ๒ เท่า
๕. มีความโดดเด่นทางด้านการคาดประมาณประชากร
๖. เครื่องมือ HAPPINOMETER เป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้ในระดับชาติทั้งภาครัฐและเอกชน
๗. นักศึกษาได้รับรางวัลระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ ได้รับทุนแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น บัณฑิตวิทยาลัย รางวัลเกียรติยศผลการศึกษาดีเยี่ยม และรางวัลเกียรติคุณฯ
๘. เปิดหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิจัยประชากรและสังคมในปี ๒๕๖๑ (หลักสูตรไทย)
๙. การบริหารจัดการแบบ IPSR 4.0 ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีความสุข

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. การวิจัยเชิง Comparative Studies ในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียและอื่นๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
๒. การวิจัยที่เป็น Social Innovation (สหสาขาวิชา และใช้ประโยชน์เพื่อสังคม)
๓. ส่งเสริมให้ HAPPINOMETER เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติให้มากขึ้น
๔. อย่างน้อย ๑ หลักสูตรได้รับการประเมิน AUN-QA ในระดับมหาวิทยาลัย (3.0)
๕. งานวิชาการสำหรับวาระครบรอบ ๕๐ ปีการสถาปนาสถาบันฯ (๑๔ พ.ย. ๒๕๖๔)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๒ ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. บริหารจัดการ แก้ไขปัญหา และปรับปรุงกระบวนการบอกรับฐานข้อมูลหนังสือและวารสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (Green Library) ประจำปี ๒๕๕๙ และรางวัลสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Office) ระดับทอง (ดีเยี่ยม) ประจำปี ๒๕๖๑
๓. เจ้าภาพจัดประชุมเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUNILO Meeting) ครั้งที่ ๑๓ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐
๔. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่ความเป็น Mahidol Intelligent Library โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก SCB ในวงเงิน ๒๐๐ ล้านบาท ตามโครงการความร่วมมือ Mahidol DCU ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕
๕. พัฒนาห้องสมุดให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน และขยายเวลาเปิดบริการหอสมุดกลางตลอด ๒๔ ชั่วโมง ๗ วัน ในช่วงก่อนสอบปลายภาค
๖. จัดโครงการอบรมนักศึกษาปริญญาตรีให้เป็นยุวมัคคุเทศก์ (MU Guide) ทำหน้าที่รับรองอาคันตุกะที่มาเยี่ยมชม หอพระราชประวัติและหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงปัจจุบัน

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. Reskill – Upskill บุคลากรให้มีสมรรถนะและทักษะทางวิชาชีพได้มาตรฐานสากล และพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีให้สามารถรองรับกับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ระบบดิจิทัล (Digital Learning Platform)
๒. พัฒนาระบบบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดให้ทัดเทียมกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
๓. พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล คลังสารสนเทศสถาบัน คลังข้อมูลจดหมายเหตุ ให้ได้มาตรฐานสากลตามหลักการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และมีความยั่งยืนในการเก็บรักษาข้อมูลระยะยาวตามหลักการของ Data Curation
๔. มุ่งสู่การรับรองมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 และมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 ภายในปี ๒๕๖๓
๕. ขยายงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้สมรรถนะหลักขององค์กร

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๒ ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์

วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิง วลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. เปิดหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน ๓ หลักสูตร
๒. ห้องปฏิบัติการได้รับมาตรฐาน ISO 15189:2012 , ISO 15190:2003 และได้รับการรับรองเป็น FAO Reference Centre for Zoonotic and Wildlife diseases
๓. จัดตั้ง Thai National Wildlife Health Center ด้วยความร่วมมือจาก USGS National Wildlife Health Center และ Canadian Wildlife Health Cooperative โดยได้รับการสนับสนุนจาก World Organization for Animal Health (OIE)
๔. เป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านโรคติดต่อสัตว์สู่คนโดยความร่วมมือกับรัฐและเอกชน
๕. ได้รับรางวัลเป็นองค์กรส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ จาก คณะกรรมการติดตามกลไกและปกป้องคุ้มครองสัตว์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๖. บุคลากรสอบผ่านการรับรองเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก American Board of Vet Specialties สาขา Veterinary Pathology (คนแรกของประเทศ) , สาขา Veterinary Internal Medicine (คนแรกของภูมิภาคอาเซียน) และ สาขา Veterinary Dermatology (คนแรกของประเทศ)
๗. บุคลากรได้รับรางวัลด้าน Animal welfare จาก World Veterinary Association และสัตวแพทย์ตัวอย่างปี 2018

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้ประกันคุณภาพระดับ AUN-QA และมุ่งสู่การได้รับ AVBC
๒. เปิดหลักสูตร Residency Training ทางด้าน Veterinary Medicine
๓. สนับสนุนวิจัยที่มี Impact ในทุกมิติ
๔. โครงการพัฒนาด้าน Infrastructure
๕. ดำเนินโครงการ OIE Twinning Program ร่วมกับ The USGS – National Wildlife Health Center
๖. โรงพยาบาลสัตว์ทั้ง ๒ แห่ง มุ่งสู่มาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๗. สนับสนุนการผลิตสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ให้กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๒ ณ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา

วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา พร้อม ผู้บริหารศูนย์จิตปัญญาศึกษา ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษามีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สร้างพื้นที่การเรียนรู้ เช่น การเรียนการสอนแนวจิตตปัญญา (เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง) โครงการหยั่งราก
จิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข (ปีที่ ๔) เวทีจิตตปัญญาเสวนา (ครั้งที่ ๗๐)
๒. มีความสุขในพื้นที่ทำงาน (Happy Workplace) มีสติ รู้จักตนเองและเข้าใจคนอื่น
๓. สร้างเครือข่าย/CoP โดยจัดประชุมวิชาการร่วมกับองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล มีเครือข่ายที่ได้จากการ ลงพื้นที่ทำกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาในโครงการต่าง ๆ และจัดทำความร่วมมือ (MOU) กับภาครัฐและเอกชน ๔ แห่ง

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. สร้างสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้+จิตตปัญญาวาส มหาวิทยาลัยมหิดล
๒. พัฒนาหลักสูตรให้เป็น Flexible Education
๓. จิตตปัญญาศึกษาควบรวมกับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ (แนว PPPO)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๒ ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา

วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท.ทพ ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยศาสนศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. โครงการพระบัณฑิตอาสา โดยพระบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาช่วยเหลือโรงเรียนที่ประสบปัญหาขาดแคลนครูในถิ่นทุรกันดาร และเผยแผ่ศาสนา
๒. ความสำเร็จของนักศึกษาวิทยาลัยศาสนศึกษา ในด้านการทำกิจกรรม เช่น ได้รับพระราชทานทุนภูมิพล, นายกสโมสรนักศึกษา และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ “โอผง” (OPONG)
๓. สถิติการ citation ต่อจำนวนอาจารย์ เป็นลำดับที่ ๓ ของมหาวิทยาลัยมหิดล

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. เป็น ๑ ในด้านศาสนศึกษาของประเทศไทย (Small but Smart)
๒. จัดบริการวิชาการระยะสั้น เช่น Culture tourism, Re-training
๓. เพิ่มภาคีเครือข่ายทั้งในด้านการศึกษาและบริการวิชาการ
๔. ปรับหลักสูตรย่อยระดับปริญญาตรี เพื่อลดค่าใช้จ่าย และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงมุ่งเน้นการศึกษาต่อเนื่อง
๕. ปรับแนวทางการบริหารน้ำทองสิกขาลัย ให้เป็น Training center โดยมีรูปแบบทั้งในการเป็นผู้จัดบริการวิชาการเองและให้บริการพื้นที่ในการจัดกิจกรรม