คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 34/2566 ของคณะเทคนิคการแพทย์

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) คณะเทคนิคการแพทย์ ครั้งที่ 34/2566 และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติรส พลับพลึง คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ พร้อมผู้บริหารคณะเทคนิคการแพทย์ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 901 ชั้น 9 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

  1. การพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้เรียน และมีมาตรฐานระดับอาเซียน
  2. การพัฒนานวัตกรรมจากงานวิจัย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุตสาหกรรม อาหารสุขภาพแห่งอนาคต
  3. การเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ Medical Devices & Health and Food Products
  4. ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแบบครบวงจร เพื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มวัยและสังคมผู้สูงอายุ และเป็นแหล่งเรียนรู้และการปฏิบัติทางวิชาชีพ
  5. การยกระดับมาตรฐานคุณภาพและศักยภาพทางวิชาการ แก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายระดับภูมิภาคอาเซียน

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 Innovation in Health & Wellness

– นวัตกรรมสุขภาพองค์รวม

2.Social Enterprise

2.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

– ส่งเสริมกระบวนการตรวจวิเคราะห์ และรับรองความปลอดภัยผลผลิตทางการเกษตร

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

– Healthy Foods การขับเคลื่อนนโยบายอาหารเพื่อสุขภาพ

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

– การวิจัยพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ เพื่อความมั่นคงของประเทศ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 33/2566 ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 33/2566 ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา พร้อมผู้บริหารศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมราชาวดี (326) ชั้น 3 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1. ปรับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ในการดำเนินการ มุ่งเป้าที่จะดำเนินการเชิงรุกด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม โดยการนำแก่นจิตตปัญญาศึกษา เข้าไปบูรณาการร่วมกับการทำงานผ่านโครงการวิจัยและบริการวิชาการ

2. ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ดำเนินการให้วิทยาเขตนครสวรรค์เป็น Mindful Campus ขยายสู่สังคมและองค์กรโดยรอบ

3. ขับเคลื่อนศูนย์จิตตปัญญาโดยใช้โอกาสการครบรอบ 15 ปี ของศูนย์ฯ ด้วยแนวคิด สู่การผลิบาน นำความรู้ประสบการณ์ และการพัฒนาคน/เครือข่ายที่ผ่านมา ขับเคลื่อนสังคมวงกว้าง ผ่านกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม

2.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกำหนดหลักสูตร Health & Wellness

1.2 Innovation in Health & Wellness

– หลักสูตรพัฒนาบุคลากรของภาคเอกชน (บริษัท MK)

2. Structure & HR Resource

2.1 การปรับโครงสร้าง

– ปรับโครงสร้างภายในองค์กร เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง T

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– การอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพสายวิชาการ หลักสูตร MU-ADP

3. Social Enterprise

3.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต

– โครงการ Mindful Campus

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Inclusiveness

– โครงการจากใจสู่ใจ (กลุ่มผู้ต้องขัง) โครงการหยั่งรากจิตตปัญญา  สู่สังคมแห่งความสุข (กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา) โครงการเด็กนอกระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการจากใจสู่ใจ (กลุ่มผู้ต้องขัง)

– โครงการหยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข (กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา)

– โครงการเด็กนอกระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

2. Campus Operations

– โครงการ Mindful Campus

– โครงการสถานศึกษาปลอดภัย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 32/2566 ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 32/2566 ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทร์ทิพย์ สพ.บ. ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ พร้อมผู้บริหารศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 1-2 ชั้น 1 อาคารศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1. ยกระดับคุณภาพสุขภาพ หนูเม้าส์จากสัตว์ทดลองในระดับ Monitor animals เป็นสัตว์ทดลองในระดับ Specific Pathogen Free (SPF) Animals

– การพัฒนาบุคลากร โครงการฝึกปฏิบัติการดูแลและการจัดการสัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะ

– การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและจัดหาครุภัณฑ์

2. วิจัยพัฒนาและยกระดับความสามารถทางห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการเป็นศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลองของประเทศ

– การพัฒนาบุคลากรโครงการฝึกอบรมการตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะ

– การจัดหาอุปกรณ์และครุภัณฑ์

– พัฒนาวิธีการทดสอบ/ตรวจสอบ

– ให้บริการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลอง

3. ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานให้บริการวิจัยและทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (หน้ากากอนามัยและหน้ากากชนิด N95) จาก สมอ.

4. ศูนย์ตรวจสอบความปลอดภัยด้านเครื่องมือแพทย์ ในปี 2565

5. ขยายและเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานให้บริการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ตามหลักการ OECD GLP อย่างน้อย 2 วิธีการทดสอบต่อปี

6. บริหารจัดการวัสดุรองนอนที่ใช้แล้ว (Soiled bedding Management) เพื่อการจัดการอย่างยั่งยืน

7. การบริหารจัดการ การใช้พลังงานไฟฟ้า โดยการใช้พลังงานทดแทน (Solar Cell) เพื่อลดค่าไฟฟ้าของศูนย์ฯ

– ติดตั้ง Solar Cell โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย

– ของบประมาณแผ่นดินสนับสนุนเพื่อติดตั้ง Solar Cell ในพื้นที่ที่เหลือของส่วนงาน

8. การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง

– หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลและเทคนิคปฏิบัติกับสัตว์ทดลอง

– หลักสูตรอบรมพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลอง

 

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

– โครงการผลิตและบริการสัตว์ทดลอง ที่ได้มาตรฐาน AAALAC

– โครงการขยายขอบข่ายการให้บริการทดสอบความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ตามหลักการ OECD GLP

 

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– กลไกของ MICC (Community Engagement)

1.1 โครงการพัฒนาศักยภาพของการตรวจคุณภาพสัตว์ทดลอง เพื่อรองรับการผลิตวัคซีนของประเทศ (Development of monitoring program for laboratory animal quality to support vaccine production.)

1.2. โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ในสัตว์ทดลอง ตามหลักการ OECD GLP

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 31/2566 ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 31/2566 ของ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมกันภัยมหิดล ชั้น 1 อาคารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. การพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท Society Design and Development Program (การออกแบบและพัฒนาสังคม)
  2. โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
  3. ขยายเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการของ International Society and Health Consortium
  4. ความร่วมมือในการพัฒนารายวิชาและการวิจัยร่วมด้าน Developmental Studies ภายใต้ Thai-UK World Class University Consortium
  5. SML 3-D Expertise mapping framework
  6. การพัฒนา Management Information System เพื่อยกระดับประสิทธิภาพขององค์กร

2.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. Global Health

1.1 Digital Health

– สื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเส้นทางอาชีพของผู้พิการในประเทศไทย

– Need Assessment, Living Conditions, and the Invention of the Assistive Device to Promote the Safety in Daily Life of Individuals with Hearing Impairment in Thailand: Reflecting the Quality of Life in the “New Normal”

– The Invention and the Application of Machine Learning to Detect Level of Depressions of Generation Y and Generation Z in Thailand

1.2 Global Health Governance

1. Lecture Series Graduate Global Health

–  Introduction to Global Health

– Global Health Diplomacy and Instruments

2. Seminar on Pandemic Preparedness and Response

3. Comparative Studies on Health Systems Research, University of Michigan

2. Health & Wellness

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเวชระเบียน (4+1 CMMU)

2. รายวิชา

– SHHU 162 เพศภาวะกับการพัฒนา

– SHSS 140  จิตวิทยาทั่วไป

– SHSS 142 จิตวิทยาสังคม

– SHSS 306  จิตวิทยาประยุกต์

– SHSS 250 กฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข

– SHSS 126  สวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์

– SHSS 306  จิตวิทยาประยุกต์

– SHHU 182 ภาวะยุ่งยากใจเชิงจริยธรรมในการแพทย์ (สอนบล็อกคอร์สให้กับนักศึกษาศิริราช)

– SHSS 184 กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข (สอนบล็อกคอร์สให้กับนักศึกษาศิริราช)

3. โครงการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีสังคมศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ

1.3 Innovation in Health & Wellness

  1. คู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้พิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยและขยะประเภทต่าง ๆ
  2. คู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้พิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยและขยะประเภทต่าง ๆ (อักษรเบลล์)

3. Structure & HR Resource

3.1 การปรับโครงสร้าง

1. การอนุมัติปรับโครงสร้างสำนักงานบูรณาการวิชาการเพื่อสังคม

– หน่วยความเป็นเลิศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

– หน่วยความเป็นเลิศด้านกฎหมายสุขภาพและคุณภาพชีวิต

– หน่วยความเป็นเลิศด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ

– ศูนย์จีนและโลกาภิวัตน์เอเชียศึกษา

3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– การพัฒนา Management Information System เพื่อยกระดับประสิทธิภาพขององค์กร ระบบการประเมิน Dashboard

– ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน Online (e-PA) Streamline and Systematize

– การพัฒนาทักษะเพื่อพัฒนางาน

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Healthy Foods

– อาหาร Organic

– โครงการสังคมชวนลดหวาน มัน เค็ม ลดโรคเรื้อรัง

– โครงการประกวดอาหารโซเดียมน้อยแต่อร่อยยืนยาว ในกิจกรรม Low Sodium Policy: KIKOFF “LESS SODIUM, LET’S START”

– โครงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารยั่งยืนผ่านความร่วมมือทางธุรกิจและธรรมาภิบาล

4.2 Inclusiveness

1. โครงการเสวนางานวิจัยกลุ่มเปราะบางและทิศทางการวิจัยในอนาคต

– โครงการการศึกษาปัญหาการตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงออนไลน์และผลกระทบต่อสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุของประเทศ

– โครงการสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเส้นทางอาชีพของผู้พิการในประเทศไทย

– โครงการถังขยะพูดได้สำหรับผู้พิการทางการเห็น

– โครงการพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงและความจำเป็นในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

– Meeting the Children and Families’ Needs: A Comparative Study of Private Sector Provision for Vulnerable Children and Their Families in Thailand

2. การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การเลี้ยงดูทดแทนในประเทศไทย: ช่องว่างด้านข้อมูลและแนวทางการดำเนินการที่พบจากการปรับใช้เครื่องมือประเมินความก้าวหน้าว่าด้วยการเลี้ยงดูทดแทน (Tracking Tool)

3. โครงการการประเมินคุณภาพชีวิต (Emotional Exhaustion, Compassion Fatigue, Burn Out) และกลยุทธ์ในการดูแลกายใจเพื่อป้องกัน ลดภาวะหมดไฟ ด้วยวิธี Brain-Spotting & Somato Respiratory Integration

4. Cognitive Behavioral Therapy

4.1 Capacity Building

– โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบและพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยทางสังคมศาสตร์ให้กับ National University of Laos, Lao PDR

4.2 Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการ Youth Empowerment and Awareness Raising on Climate Impact Reduction (เสริมพลังคนรุ่นใหม่ ใส่ใจภาวะโลกรวน)

-โครงการภาพของกองทัพของประชาชน

 

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมสวมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

– หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาสังคม (หลักสูตรไทยและนานาชาติ)

2. การวิจัย

– ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

– ทุนสนับสนุนโครงการการทำผลงานวิชาการตามกลุ่ม TRS คลัสเตอร์

– กลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มเปราะบางในสังคม

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการวิจัยร่วมกับคู่ความร่วมมือ (คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ)

– โครงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารยั่งยืนผ่านความร่วมมือทางธุรกิจและธรรมาภิบาล

– Cognitive Behavioral Therapy

4. Campus Operations

– โครงการสานเสวนา เรื่อง “มุมมองบุหรี่ต่อสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม”

– ศูนย์อาหารปลอดภัย

– โครงการสังคมชวนลดหวาน มัน เค็ม ลดโรคเรื้อรัง

– Green office

– โครงการสังคมรักษ์โลก

– โครงการปีเก่าเล่าใหม่

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 30/2566 ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 30/2566 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าร่วมการประชุม และมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 เป็นผู้นำร่วมกับเครือข่าย TRUST (Thailand Research University Society for Technology Transfer) ในการพัฒนาศักยภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของนักวิจัยและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

1.2 สร้างรายได้จากผลงานทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

1.3 สนับสนุนการดำเนินการด้านการบริการวิจัยและบริการวิชาการให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

1.4 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) กับภาคอุตสาหกรรมให้มีโครงการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

1.5 พัฒนาศูนย์บ่มเพาะ (Incubation) และศูนย์เร่งสปีด (Accelerator) เพื่อผลักดันให้เกิดบริษัท Startup จากนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย

1.6 บริหารงานบริษัท M Venturer ให้มีอัตราการเติบโตของผลประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Global Health

1.1 Digital Health                                                           

– โครงการยานพาหนะสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Mobile Stroke Unit) ได้รับสิทธิบัตรเลขที่ 94146

– โครงการระบบแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับโลจิสติกส์ในโรงพยาบาล และโรงพยาบาล  ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

– โครงการเพื่อน “ใจ” ในจักรวาลนฤมิต (Mind Friend in Metaverse) ภายใต้แพลตฟอร์ม iNT Accelerator และภายใต้โครงการทุนต่อยอดงานวิจัยเพื่อร่วมกับภาคเอกชน (Pre-seed Fund 2565)

– โครงการ HeaRTS (HealthcaRe Tele-delivery Service) ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2021

– โครงการกายชนะ ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2021

1.2 Global Health governance

– โครงการแพลตฟอร์มระบบขนส่งในโรงพยาบาล

2.Health & Wellness

2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– Mahidol Design School

2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1 โครงการ

– กระทรวงสาธารณสุข 80 โครงการ

– กรุงเทพมหานคร 2 โครงการ

– กองทัพบก 1 โครงการ

– กองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ 54 โครงการ

– มูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 29 โครงการ

– สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1 โครงการ

– World Health Organization 6 โครงการ

– บริษัทเอกชน/องค์กรต่างประเทศ 9 โครงการ

2.3 Innovation in Health & Wellness

  1. ผลงานวิจัย หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์แล้ว

– น้ำยาบ้วนปากจากข้าวสีดำ oral rice

– น้ำปลาโซเดียมต่ำ

– น้ำผักผลไม้

– ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโปรตีนสูงจากไข่ขาว

– สมูทตี้โปรตีนสูง (ตรามหาการุณย์)

– POWCO x FoodDIYPhage Ready-to-Drink Protein Gel for Athletes

  1. ผลงานวิจัยหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ (ผลงานที่ขออนุญาต

ใช้สิทธิแล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินงานเพื่อผลิต)

– ซอสซ่อนผัก

– เจลลี่ให้ความชุ่มชื้นในช่องปาก

– ชุดตรวจภูมิแพ้

– น้ำยาบ้วนปากต้านเชื้อไวรัส

  1. ผลงานวิจัยหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ระหว่างการเจรจาการใช้ประโยชน์

– ชุดตรวจโรคเมลิออยโดซิส

– สารสกัดจากเห็ดเผาะต้านเชื้อไวรัส

– ลูกอมให้ความชุ่มชื้นในช่องปาก

– แผ่นรองนอนต้านแบคทีเรียสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและป้องกันแผลกดทับ

– น้ำปลาผสมสูตรลดโซเดียมจากน้ำผักสะทอน

3.Structure & HR Resource

3.1 การปรับโครงสร้าง

โครงสร้างของสถาบันฯ แบ่งออกเป็น 5 งาน ได้แก่

  1. งานบริการวิจัยและวิชาการ
  2. งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์
  3. งานระบบนิเวศผู้ประกอบการ
  4. งานบริหาร
  5. งานยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร

3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– ส่งเสริมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ให้เข้าสู่กระบวนการเสนอขอผลงานตำแหน่งทางวิชาการ

– ส่งเสริมให้บุคลากรได้เข้าร่วมรับการอบรมเฉพาะด้านหรือเชิงลึกตามพันธกิจของสถาบันฯ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อนำความรู้มาปรับใช้ในการทำงาน

– นำแนวคิดรูปแบบการทำงานแบบ Accelerator มาปรับใช้ในการดำเนินงานของสถาบันฯ

4. Social Enterprise

4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

– โครงการ PHOP AVOCADY (สบู่เหลวจากอโวคาโด) ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2023

– โครงการ iFood (อาหารชาติพันธุ์) ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2023

– โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ทางการเกษตร

4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

– กิจกรรมงาน SMART Farmer Fair 2023

– การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดลในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

– โครงการก่อสร้างอาคารรับรอง MaSHARES Co-Working Space

วิทยาเขตกาญจนบุรี

– การพัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรี

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ

– ริเริ่มโครงการ “การท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมยั่งยืนและการเพิ่มมูลค่าสินค้า SMEs โดยกลไก SDGs Innovation” โดยการสนับสนุนจากสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรม (iNT) และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (EN)

5.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

5.1 Healthy Foods

– ซอสซ่อนผัก

– ผลิตภัณฑ์เยลลี่ให้ความชุ่มชื้นในช่องปาก

5.2 Inclusiveness

– เครื่องทำความเย็นลดอาการบาดเจ็บ

– เครื่องพยุงหลังด้วย 3D Printing

5.3 Capacity Building

– เครือข่ายผู้ประสานงานด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี Mahidol Technology Manager Network

– เครือข่ายผู้ประสานงานด้านบริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ (RA Network)

– กิจกรรมสัมมนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม INNOVATION FOR SUSTAINABILITY

– กิจกรรม IP Training “ทรัพย์สินทางปัญญากับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”

– อบรมการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP ACT (TRIUP Act & Technology Commercialization)

– การนำผลงานวิจัยและผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา Startup CEO/Deep Tech CEO

5.4 Sustainable City & Community (Climate Change) 

– โครงการศาลายาน่าอยู่ (Salaya One, Salaya Velley)

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

– Deep Tech Accelerator Platform and Commercialization

– โครงการกองทุนพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– กลไกของ MICC (Community Engagement)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 29/2566 ของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 29/2566 ของมหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 530 ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
      1. ผลักดันอันดับ Ranking ของมหาวิทยาลัยระดับโลก อยู่ในอันดับ 1-100 ของ Subject Ranking สาขา Medicine และ Pharmacy & Pharmacology อยู่ในอันดับที่ 101-200 ของ THE Impact Rankings
      2. สนับสนุนให้กลุ่มนักวิจัยสำเร็จรูปผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสูง และได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Q1
      3. สนับสนุนผลงานวิจัยตีพิมพ์ทางด้านสังคมศาสตร์ฯ
      4. ผลักดันให้หลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
      5. การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ตามเกณฑ์ MUPSF
      6. มาตรฐานที่ถูกสร้างโดยมหาวิทยาลัย
      7. การดำเนินการ Central Operating System
      8. ข้อมูลด้านการเงินแบบ Real time
      9. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Talent Management)
2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Global Health Governance
      – คณะกรรมการดำเนินงานด้าน Global Health: มีการประชุมหารือเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 โดยมีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการ คือการที่นานาชาติได้เห็นบทบาทความเป็นผู้นำด้านการจัดการปัญหาด้าน Global Issue โดยเริ่มจากกลุ่มประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งประเด็น Global Issue ที่น่าสนใจมี 2 เรื่อง คือ  Climate Change และ PM2.5
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
1. การกำหนด Concept ของหลักสูตร
      – คณะกรรมการอำนวยการพัฒนาหลักสูตร Health and Wellness กำหนดแนวทาง และขอบเขตของหลักสูตร Health and Wellness ของมหาวิทยาลัยมหิดล
2. การจัดทำหลักสูตร Higher Education sandbox
      – หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานวัตกรรมสุขภาพและสุขภาวะองค์รวม) (หลักสูตรไทย และนานาชาติ ภาคพิเศษ)
      – หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาการขั้นสูงทางชีวการแพทย์และการสร้างสรรค์ธุรกิจสุขภาพ) (หลักสูตรไทย และนานาชาติ ภาคพิเศษ)
3. อยู่ระหว่างจัดทำ Platform ของหลักสูตร non-degree ที่เชื่อมโยงกับ Flexible Education
3Structure & HR Resource
3.1 การปรับโครงสร้าง
1การรวมวิทยาลัยราชสุดาให้เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และยุบเลิกวิทยาลัยราชสุดา
      1) การตั้ง “ศูนย์วิทยาการราชสุดา” สังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
      2) การโอนย้ายบัญชีและทรัพย์สินของวิทยาลัยราชสุดาไปยังคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
      3) การยุบเลิกวิทยาลัยราชสุดาอย่างเป็นทางการ เมื่อ 1 มิถุนายน 2566
      4) เปลี่ยนชื่อ ศูนย์วิทยาการราชสุดา เป็น “สถาบันราชสุดา
2. การพิจารณาทบทวนโครงสร้าง พันธกิจ และการบริหารงานของส่วนงานต่าง ๆ
3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      
1. โครงการ Flagship Global Talents Platform: การจัดทำหลักเกณฑ์/แนวทางการบริหาร Global Talent สายวิชาการ และสายสนับสนุน
      2.โครงการ Flagship MU Academic Position Promotion Sandbox: การเพิ่มประสิทธิภาพในการเสนอขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
      3.การทบทวนหลักเกณฑ์การบรรจุบุคลากร ในส่วนคะแนนภาษาอังกฤษ สำหรับตำแหน่งสายวิชาชีพ
4. Social Enterprise
4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ทางการเกษตร
4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      1.โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
      1) โครงการพัฒนา MUNA Farm ต้นแบบการทำเกษตรเชิงระบบ และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตอาหารปลอดภัย และพืชสมุนไพร
      2) การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดลในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ควบคู่กับการมีระบบ “Smart บึงบอระเพ็ด” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนโครงการนโยบายชี้นำสังคม
      2. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ เป็นพื้นที่ขยายผล โครงการร่วมขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการณ์ตายในเด็ก ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนโครงการนโยบายชี้นำสังคม
5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods
      Healthy University: Low Sodium Policy
      – การสร้างพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเป็น Sandbox: Social Innovation Laboratory ที่มุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมของผู้คนภายในมหาวิทยาลัย
      1) การจัดทำประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม
      2) โครงการอบรมผู้ประกอบการร้านค้า เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม
      3) งาน Kickoff Day: Less Sodium Let’s Start
      4) Video Competition: Low โซ(เดียม) No โทรม Bootcamp
      5) Low Sodium Hackathon
      6) Low Sodium Inno Funding
5.2 Inclusiveness
การให้ทุนสนับสนุนโครงการนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusiveness) เพื่อสร้างสังคมที่เพิ่มโอกาสให้กลุ่มเปราะบาง (Vulnerable groups) เข้าถึงบริการทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเปราะบาง
5.3 Capacity Building
      
1. MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub
      2. Capacity Building for Sustainable Future in Developing Regions
      3. Mahidol-Norway Capacity Building Initiative for Myanmar
      4. Short Training Programs for Myanmar Medical Professionals along the Borders
3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
1. การวิจัย “World class research on health & well-being and environment”
      1. สร้างระบบนิเวศงานวิจัยคุณภาพสูงด้วย AXiiS Platform (SDG3, 17)
      2. ทุนสนับสนุนนักวิจัยเฉพาะสาขา (Specific League Funds) (SDG3, 4)
      3. เพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยเพื่อรองรับศาสตร์ในอนาคต (SDG3, 4, 17)
      4. Deep Tech Accelerator Platform and Commercialization (SDG3, 9, 17)
      5. โครงการกองทุนพัฒนานวัตกรรม และผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (SDG3, 9, 17)
      6. Fostering Quality Research (SDG3, 9, 11, 17)
2. การศึกษา “Through curriculum and extra-curriculum”
      1. ทุน Scholarships for Ph.D. Student (SDG1, 4, 10)
      2. การศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต (หลักสูตรแบบ Non-Degree, Degree และรายวิชา MAP-C) (SDG4)
      3. Learning Management System ภายใต้กลยุทธ์การพัฒนา Mahidol Continuing Education เพื่อรองรับการเรียนรู้และฝึกอบรมระยะสั้น (Non-degree program) และการเก็บสะสมหน่วยกิตเพื่อปริญญา และการออกแบบระบบให้มีความเชื่อมโยงกับรายวิชา MAP-C (SDG4)
      4. MUx for Flexible Education: Micro credential to degree (SDG 4)
      5. การพัฒนาอาจารย์ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล (SDG 4)
      6. โครงการ Mahidol University Careers Support Services (SDG 1,4)
3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement “Community & Social engagement”
3.1 MU Social Engagement Platform
      1) ทุนสนับสนุนโครงการ Policy Advocacy (SDG3, 4, 17)
      2) MUSEF Virtual Platform เป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และองค์ความรู้ต่อชุมชน (SDG17)
      3) Super collaboration projects: Healthy Foods Healthy University: Low Sodium Policy (SDG3, 17)
3.2 MU-SDGs Policy Platform (SDG3, 10, 11, 16, 17)
4. Campus Operations “Operate the University in a sustainable manner”
      1. Global Talents Platform (SDG8)
      2. MU Academic Position Promotion Sandbox (SDG8)
      3. IAO for Strategic Internationalization (SDG8, 17)
      4. Marketing Drive and Endowment Funding (SDG8)
      5. MU Digital Transformation (SDG8, 9)
      6. Sustainable Development Operation: To achieve Net Zero Emissions by 2030 (SDG2, 6, 7, 11, 12, 13)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 28/2566 ของคณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 28/2566 ของคณะพยาบาลศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมจันทนา นิลวรางกูร ชั้น 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 ขยายความร่วมมือและผลักดัน The MU-JHU NCDs Research Collaborative Center เป็นศูนย์กลางการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลในการควบคุมและจัดการโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับ WHOCC ใน SEARO และสถาบันการศึกษาใน 3 ทวีป (อเมริกาเหนือ เอเชีย ออสเตรเลีย)

1.2 เปิดให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร่วมเป็นเครือข่ายร่วมให้บริการของ สปสช. ในปี 2565

1.3 หลักสูตรบัณฑิตศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากลอย่างน้อย 2 หลักสูตร

1.4 พัฒนาห้องปฏิบัติการเสมือนจริง

1.5 พัฒนาหลักสูตร double degree

1.6 ขับเคลื่อนคณะฯ สู่ TQC+

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Digital Health

– “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาพใจวัยรุ่น: ผลงานวิจัยสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง (แผนงานการพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่น)

– แผนงานแพลตฟอร์มการจัดการและติดตามการใช้ยาวอร์ฟารินทางไกลสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

– Asthma Bot for Kid

1.2 Global Health Governance

– โครงการความร่วมมือThe MU-JHU NCDs Research Collaborative Center กับ WHOCC SEARO เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางสุขภาพในการควบคุมและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

– พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการวิจัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภายใต้โครงการ D43 Post-Doctoral Traineeship in NCD Research, University of Michigan

2. Health & Wellness

2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– การจัดการศึกษาปริญญาตรีควบปริญญาโท หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม

– หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต ปริญญาตรีควบปริญญาโท

3. Structure & HR Resource

3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– โครงการ NS Transformation (การบริหารรายได้และรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ: การเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน) โดยการพัฒนาแผนงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านคณะฯ สู่ความยั่งยืน (Develop transformation roadmap)

– คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งฝึกในการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการพัฒนาความเชี่ยวชาญของอาจารย์

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Healthy Foods

– โครงการการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการจัดบริการมุมนมแม่ในสถานประกอบการ (SDG 2, 3)

– โครงการ Health Literacy in Pregnant Women (โครงการการพัฒนากลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ 270 วันแรกแห่งชีวิต) (SDG 2, 3, 4, 5, 10, 17)

4.2 Inclusiveness

– โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยและยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร (SDG 3, 4, 10)

– โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติแบบบูรณาการบริการวิชาการและวิจัย (SDG 3, 4, 10)

– โครงการการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ดีของสามเณรวัดไผ่ดำ จังหวัดสิงห์บุรี (SDG 3)

4.3 Capacity Building

– โครงการ Integrated care for older people (ICOPE) Short course training:  A person centered care model (SDG 3, 17)

– Short Course Training (Hypertension, Diabetes, CKD) (SDG 3, 17)

– โครงการ Intensive training for continuing care system in high-risk pregnancy in LAO PDR (SDG 3, 4, 17)

– แผนงานต้นแบบชุมชนร่วมพลังร่วมใจรองรับสังคมผู้สูงวัยเขตเมือง (SDG 3, 4)

– หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง (16 สาขา) (SDG 3)

– หลักสูตรการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์

– หลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง (SDG 3, 4)

4.4 Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการ “We Change to Stop Climate Change” (SDG 13)

– โครงการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste)

– โครงการจัดทำระบบจัดการน้ำเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ

– โครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า (ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร ศาลายา และเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นแบบแยกส่วนชนิด Inverter อาคารพระศรีพัชรินทร บางกอกน้อย)

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย  

1. การศึกษา

– โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน

– โครงการส่งเสริมการเรียนแบบสหสาขาวิชาชีพ

– โครงการพัฒนาสถาบันการศึกษาพยาบาลในการจัดทำหลักสูตรมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือ Outcome Based Education, OBE (SDG 4)

– โครงการพัฒนาหลักสูตร Double Degree for PhD Program คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ National Cheng Kung University (NCKU), Taiwan (SDG 4, 17)

2. การวิจัย

– โครงการวิจัยความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัยในประเทศไทย (SDG 3, 4)

– โครงการวิจัยต้นแบบชุมชนร่วมพลังร่วมใจรองรับสังคมผู้สูงวัยเขตเมือง (SDG 3, 4, 11)

– โครงการ Long COVID (SDG 3, 4, 10)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการพัฒนาคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้เป็นคลินิกต้นแบบในเขตชุมชนเมือง (SDG 3)

– โครงการพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์เป็นสถาบันรับรองมาตรฐานสถานประกอบการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (SDG 2, 3)

– โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยและยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร (SDG 3, 4)

– โครงการความร่วมมือกับ Mombie เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (SDG 3)

– โครงการความร่วมมือกับ Young Happy เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (SDG 3)

4. Campus Operations

– โครงการสถานศึกษาปลอดภัย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 27/2566 ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 27/2566 ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 เปิดหลักสูตรร่วมกับสถาบันที่มีชื่อเสียง ทำความร่วมมือทางวิชาการกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตามโครงการวิทยาศาสตร์การกีฬา-จฉพ. (เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์)

1.2 ผลักดันหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น

1.3 สร้างความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม

1.4 งานวิจัยมุ่งเป้า เพื่อความเป็นเลิศเฉพาะทางแต่ละประเภทกีฬา เพิ่มศักยภาพทางการกีฬา-นักกีฬา และลดการบาดเจ็บ สุขภาวะของประชาชน

1.5 จัดตั้งคลินิกการกีฬาให้ผู้มาตรวจรักษาสามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลมาเบิกได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

1.6 ปรับโครงสร้างทางกายภาพห้องเรียน รองรับการเรียนการสอนรูปแบบ Online และสนามกีฬารองรับการออกกำลังกาย เพื่อนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก ได้ใช้สถานที่ออกกำลังกาย

1.7 วิเคราะห์โครงสร้างอัตรากำลังบุคลากร จัดทำแผนระยะสั้น ระยะยาวในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Digital Health

– โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

2. กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

–  โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

3. สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

– โครงการวิจัยในผู้สูงอายุ (ทุนสนับงานวิจัยเกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ exercise is medicine)

– แอปพลิเคชันสำหรับการประเมินสมรรถภาพและช่วยในการเรียนรู้การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

4. Innovation in Health & Wellness

– โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

– Physical Activity Promotional Plan for Children and Youth

– โครงการวิจัยในผู้สูงอายุ (ทุนสนับงานวิจัยเกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ exercise is medicine)

– แอพพลิเคชั่นสำหรับการประเมินสมรรถภาพและช่วยในการเรียนรู้การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

– โครงการการพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายหน้าเสาธงด้วยท่ามวยไทยในเด็กวัยเรียน (อายุ 9-12 ปี)

– โครงการการพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยสู่การพัฒนาสุขภาวะคนไทยในเด็กและผู้ใหญ่ เฟส 2

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

– Sustainable City & Community (Climate Change) : Physical Activity Promotional Plan for Children and Youth

 

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1.การศึกษา

– มาตรฐานหลักสูตรในระดับสากล

– พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสังคมปัจจุบัน

– พัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ

2.การวิจัย

– โครงการ Cryotherapy with Tasaki

– โครงการพัฒนาและการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมิน วิเคราะห์ ป้องกันการบาดเจ็บ และเจ็บป่วยทางการกีฬา สำหรับประเทศไทย

– ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟนในการประเมินสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ

– การสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

– โครงการวิทยาศาสตร์การกีฬากับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD

– โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชน

– โครงการ Exercise and Fitness Clinic

4. Campus Operations

– การสร้าง และพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายต่างประเทศ ด้านการศึกษา วิจัย และวิชาการ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 26/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 26/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารโครงการฯ เข้าร่วมประชุม ณ โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 พัฒนาแผนธุรกิจ และวางระบบบริหารจัดการโครงการจัดตั้งฯ ให้สามารถรองรับการดำเนินการตามแผนธุรกิจได้อย่างให้ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง คล่องตัว รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

1.2 พัฒนาและบริหารสินทรัพย์ (พื้นที่/อาคารสถานที่) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างรายได้ให้โครงการจัดตั้งฯ ตามแผนธุรกิจได้

1.3 พัฒนาสวนและภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีการปลูก/ขยายพันธ์/ดูแลพืชสมุนไพรที่เป็นระบบ ถูกต้องตามหลักวิชาการและเกษตรอินทรีย์ ฟื้นฟูระบบนิเวศของอุทยานฯ ให้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

1.4 พัฒนาศูนย์อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์พืชสมุนไพรและเครื่องยาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เชื่อม Functions ของพิพิธภัณฑ์พืช ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อาคารเพาะชำ และการปลูกพืชสมุนไพรในอุทยานฯ ให้ทำงานได้ครบวงจร)

1.5 สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ (เน้นการ Pool Resources เพื่อสร้าง Shared Value) เพื่อให้โครงการจัดตั้งฯ สามารถดำเนินงานภายใต้ความจำกัดของทรัพยากรได้ อย่างยั่งยืน

 

2.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1.การศึกษา

  1. การพัฒนาอุทยานฯ ให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ Inspire Change towards SDGs (SDG 3, SDG 4)

2. การวิจัย

  1. โครงการพัฒนาต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้แบบรวมในสวนประสาทสัมผัสเพื่อสุขภาวะของเด็กพิการ (SDG 3, SDG 4, SDG 10, SDG 17)
  2. โครงการศึกษา Systematics and Taxonomy of Zingiberaceae (SDG 15, SDG 17)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. กิจกรรมสาธิตต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีของทุกชีวิต เน้นการ Apply & Translate Knowledge ให้กับคนทุกกลุ่มใน
  2. ชุดกิจกรรม DIY ด้านสมุนไพรและพฤกษศาสตร์ แบบ ‘Inclusion for All’ เพื่อการเรียนรู้เชิง Authentic Learning สำหรับทุกคน (SDG 4, SDG 10)
  3. ศูนย์อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์พืชสมุนไพรและเครื่องยา (การจัดการตัวอย่าง/ข้อมูลพรรณไม้แห้งและเครื่องยา,​ การอบรมเชิงปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร, สิรีพฤกษศิลป์) (SDG 4, SDG 15)
  4. ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยมหิดล (สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน & ฐานทรัพยากรท้องถิ่น) (SDG 15, SDG 17)
  5. การพัฒนากลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (นำร่องเทศบาลนครอ้อมน้อย และเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน) (SDG 3, SDG 4, SDG 17)
  6. 6. กิจกรรมงานวันเด็ก และกิจกรรมงานวันแม่แห่งชาติที่เน้น Partnership ภายใต้ Themes ด้าน SDGs (SDG 3, SDG 4)

4. Campus Operations

  1. การพัฒนาอุทยานฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนตามแนวคิด SDGs (รวม Universal Design & Inclusion) ในด้านสมุนไพร ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พฤกษศาสตร์ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ (SDG 3, SDG 4, SDG 10, SDG 15, SDG 17)
  2. การจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 แห่ง พ.รบ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (สนับสนุนโดยกลุ่มเซ็นทรัล) (SDG 8, SDG 10, SDG 17)

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา 28 กรกฎาคม 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์ ศาลายา จำนวน 30 รูป จากนั้น มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะ พิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นพนักงานที่ดี และพลังของแผ่นดิน โอกาสนี้ มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา