นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๔ ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๔ ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. Research Cluster ด้าน Science, Technology and Society (STS)
๒. การสัมมนาวิชาการร่วม ๑๕ สถาบัน ด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เรื่อง iHumanities: เทคโนโลยีสุขภาพ และชีวิต (๗-๑๑ กันยายน ๒๕๖๓)
๓. การพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติด้าน Social Studies of Science, Technology and Health
๔. ผลักดันการทำงานเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมผ่านกิจกรรมการวิจัยและการผลักดันทางวิชาการของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเพศสภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ ศูนย์วิจัยสังคมไม่ทอดทิ้งกัน และศูนย์จีนศึกษาและโลกาภิวัตน์เอเชีย
๕. การพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการด้านพุทธศาสตร์ศึกษา (Buddhist Studies) และอาชญวิทยาและงานยุติธรรม

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. การพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท Society Design and Development Program (การออกแบบและพัฒนาสังคม)
๒. โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
๓. ขยายเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการของ International Society and Health Consortium
๔. ความร่วมมือในการพัฒนารายวิชาและการวิจัยร่วมทางด้าน Developmental Studies ภายใต้ Thai-UK World Class University Consortium
๕. SML 3-D Expertise mapping framework
๖. การพัฒนา Management Information System เพื่อยกระดับประสิทธิภาพขององค์กร

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งมี Strategic Approaches และ Strategic Foci ที่ชัดเจนและท้าทาย รวมถึงมีโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเสนอให้มีโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และนำวิกฤติ Covid-19 มาเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะฯ เพื่อไปสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) พร้อมทั้งเสนอสร้าง Platform การเรียนรู้สำหรับประชาชนในทุกระดับเพื่อนำองค์ความรู้ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง และเสนอการจัดทำ Joint Degree Program ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นต้น