วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์
การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. จัดตั้ง Secretariat Office for Asia Pacific Regional Technical Facility on Social Health Protection (CONNECT)
๒. สนับสนุน AUN-HPN จัดทำ Healthy University Rating System
๓. พัฒนาวารสาร Journal of Public Health and Development เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus
เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. หลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ได้รับ Global Accreditation (AUN-QA, ILO, องค์กรประกันคุณภาพด้านการศึกษา
๒. จัดตั้ง ASEAN Primary Health Care Research and Information Centre (APRIC) เพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัยและฐานข้อมูลด้านการพัฒนา PHC ในภูมิภาคอาเซียน
๓. ขับเคลื่อนการทำงานภารกิจสุขภาพโลกมหิดลอย่างเป็นรูปธรรม (MUGH) และสนับสนุนให้เกิด School of Global Health and Health Policy (SGHP)
๔. จัดตั้ง Mahidol Active Ageing Policy Watch Centre (MAPC) และเสนอนโยบายฯ เพื่อสุขภาพ Active Ageing ในนามของมหาวิทยาลัยมหิดล
๕. สนับสนุนให้เกิดการใช้เครื่องมือ Healthy University Rating System (HURS) ที่ริเริ่มโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในเครือข่ายสมาชิกของ ASEAN University Network – Health Promotion Network (AUN-HPN) และระดับนานาชาติ
๖. ผลักดัน Journal of Public Health and Development ของสถาบันฯ ให้อยู่ใน Quartile ระดับสูง
ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยมหิดล ชื่นชมสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนว่ามีการพัฒนาทั้งด้านการวิจัย วิชาการ โดยสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเสนอให้สถาบันฯ เพิ่มความร่วมมือกับ UNICEF, UNESCO และ ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation (ACAI) นอกจากนี้ สถาบันฯ มีจุดเด่นและความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยและงานบริการวิชาการ จึงเสนอแนะให้ทำวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ (Outside In) สร้างผลงานที่ชี้นำสังคม เพื่อไปสู่การเป็นผู้นำทางด้าน Health Policy ในระดับอาเซียนต่อไป ในส่วนหลักสูตรของสถาบันฯ สภามหาวิทยาลัยฯ เสนอให้ผลักดันหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเสพติด ให้เป็น Master of Science (MSc) และควรกำหนดนโยบายการรับนักศึกษาในภูมิภาคอาเซียนเพื่อเข้าศึกษาใน School of Global Health and Health Policy (SGHP) ให้ชัดเจน และให้สร้างความร่วมมือกับ Prince Mahidol Award เพื่อสร้างเครือข่าย รวมทั้งควรกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs โดยให้มีการดำเนินงานเรื่อง SDGs ร่วมกับวิทยาลัยการจัดการ