คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๓ ณ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุม ๑๐๘ ชั้น ๑ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ นวัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การถ่ายทอดเทคโนโลยี biologics ที่มีมูลค่าสูง เช่น วัคซีนป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ และสารชีวโมเลกุลเพื่อเพิ่มผลผลิตกุ้ง
๒. การประเมินพัฒนาการด้านความคิดเชิงบริหาร (Executive Function) ในเด็กปฐมวัย และรางวัลองค์กรดีเด่นด้าน
การป้องกันยาเสพติด จากสำนักงาน ป.ป.ส. ประจำปี ๒๕๖๑
๓. บริการตรวจวินิจฉัยโรคทาลัสซีเมีย และโครงการเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy): มุ่งสู่ความเป็น Social Enterprise งานวิจัยที่มีศักยภาพในการนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์
๔. สร้างวัฒนธรรมเกษตรกรแนวใหม่ที่อยู่บนฐานนวัตกรรม มีพันธุ์พืชชนิดใหม่ อาทิ มันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ และพันธุ์พืชหายากโดยโครงการ อพ.สธ.
๕. ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูง โดยจำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติต่อจำนวนบุคลากรสายวิชาการ
เป็นอันดับ ๑ ของมหาวิทยาลัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนการอ้างอิง สูงเป็นอันดับ ๒ ของมหาวิทยาลัย Field-Weighted Citation Impact (FWCI) จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือนำไปใช้ เป็นต้น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. มุ่งเป็น World-Class Research Institute ทั้งด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งของศูนย์วิจัยฯ และหลักสูตร โดยมีจำนวนหลักสูตรที่ผ่านการรับรอง AUN-QA, h-index, FWCI, จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสาร Q1, จำนวนนักวิจัยสำเร็จรูประดับ rising star (Tier 2) และจำนวนและรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
๒. จัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์และนวัตกรรมกุ้ง เพื่อรองรับการวิจัยมุ่งเป้าและการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการส่งออก
๓. โครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ที่สร้างองค์ความรู้ในระดับ frontier นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง เช่น วัคซีน JE สิ้นสุดกระบวนการทดลองในระดับ Non-linical พร้อมสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรม และมี Biologics Candidates ต้นแบบ ที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์อย่างน้อย ๑ ตัว