คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุม (Council Visit) ครั้งที่ ๓๗/๒๕๖๓ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าประชุม ครั้งที่ ๓๗/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

๑. การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับผลงานด้านการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก University Ranking ต่าง ๆ (THE World University Ranking, US News Global University Ranking, NTU Ranking, CWTS Leiden Ranking) เป็นอันดับ ๑ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๐๑๖-๒๐๑๙) และ QS World University Ranking เป็นอันดับ ๒ จากผลการจัดอันดับ QS World University Ranking by Subject พบว่าสาขาที่ติดอันดับ ๑-๑๕๐ ได้แก่ Medicine ในปี ๒๐๑๖–๒๐๒๐ และ Pharmacy & Pharmacology ในปี ๒๐๑๖–๒๐๒๐ (ปี ๒๐๑๘ อยู่อันดับที่ ๕๑–๑๐๐ ปี ๒๐๑๙ อยู่อันดับที่ ๑๕๑–๒๐๐)

๒. ผลงานด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดลมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติทุกฐานข้อมูล เป็นจำนวนสูงที่สุดของประเทศในทุกสาขา อีกทั้งมีจำนวนรางวัลด้านการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งรางวัลระดับชาติและนานาชาติ

๓. ผลงานด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นการศึกษาที่เป็น Outcome-based education และส่งเสริมให้นักศึกษามีความเป็น Global Citizen ผ่านโครงการต่าง ๆ จำนวนมาก

  • มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลในขณะนี้เป็นจำนวน ๓๑ หลักสูตร ซึ่งสูงที่สุดในประเทศไทย
  • ผลักดันให้เกิดรายวิชาบทเรียนออนไลน์ (MOOCs และ SPOCs)
  • สนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติการชีววิทยา
  • มีการจัดทำโครงการ Mahidol – HIDEF เพื่อส่งเสริมความเป็น Global Citizen ของนักศึกษา
  • ปรับรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากเดิม รูปแบบหน่วยกิตปรับเป็นรูปแบบเหมาจ่าย

๔. ผลงานด้านบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้บริการทางการแพทย์เป็นจำนวนสูงที่สุดของประเทศ และในส่วนของบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นให้ทุกส่วนงานใช้การรับรองโดยมาตรฐานสากล

  • ผลักดันงบประมาณเพื่อการจัดตั้ง Stroke Mobile Unit และการขอรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขตามหลักการ OECD GLP
  • มีการจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ซึ่งช่วยสนับสนุนการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้รวม สิทธิบัตร ๒๐ ชิ้น ถ่ายทอดเทคโนโลยี ๒๓ ชิ้นงาน เป็นมูลค่า ๔๓,๙๐๓,๓๐๒.๔๑ บาท (ข้อมูลตั้งแต่ ๑ เม.ย. ๒๕๕๙ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๓)

 ๕. ผลงานด้านบริหารจัดการ

  • มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) ประจำปี ๒๕๖๒ โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
  • มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ ๑ ในด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวในประเทศไทย และอันดับที่ ๗๕ ของโลก จากการจัดอันดับ  UI Green Metric World University Ranking 2019
  • มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ ๔ (ระดับ A) จากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ในปี ๒๕๖๒ จากสถาบันอุดมศึกษา ๘๐ แห่ง
  • มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นการเป็น Digital Convergence University ปัจจุบันมี WI-FI ร้อยละ ๑๐๐ และเป็น Multiple Devices รวมทั้งมีการสร้าง Virtual Classro om  ครอบคลุมทุกวิทยาเขต และปรับปรุงหอสมุดเป็นหอสมุดอัจฉริยะ
  • มหาวิทยาลัยส่งเสริมความเป็นนานาชาติ โดยการจัดตั้ง Mahidol Student, Academic and International Services (MUSAIS) เพื่อให้บริการนักศึกษาต่างชาติแบบ One Stop Service และมีการสร้าง Joint-Unit จำนวน ๑๐ แห่ง ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่เป็น Strategic Partners
  • มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดทำข้อตกลงร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมพัฒนามหาวิทยาลัย ในวงเงิน ๘๐๐ ล้านบาท
  • มหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่น (MU-Flexible Benefit)
  • มีการพัฒนาวิทยาเขตทั้ง ๓ วิทยาเขต ได้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

๑.ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย

  • สร้าง MU –MRC และกลุ่มนักวิจัยสำเร็จรูปให้ได้ ๖ กลุ่ม (Flagship ๑)
  • พัฒนาและวางระบบศูนย์เครื่องมือวิจัยกลางศาลายา ให้รองรับการทำวิจัย โดยใช้เทคนิคระดับสูง โดยการเพิ่มเครื่องมือที่จำเป็นให้เพียงพอและทันสมัย คล่องตัว
  • การเพิ่มการขอทุนจากต่างประเทศ
  • แก้ไขระเบียบการบริหารเงินทุนวิจัย

๒.ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา

  • สามารถเปิดหลักสูตรที่เป็น Flexi Education ได้สำเร็จ (Flagship ๒)
  • จัดทำ Mahidol University Credit Bank System ได้แล้วเสร็จและสามารถวางระบบเชื่อมโยงกับทุกส่วนงานได้สำเร็จ (Flagship ๒)
  • วางระบบการพัฒนานักศึกษาให้เป็น Global Talent ผ่านแนวคิด MU-HIDEF ให้แล้วเสร็จ
  • ร้อยละ ๑๕ ของหลักสูตรได้รับ International Accreditation

๓.ยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการ

  • มี Platform ระบบบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย (Flagship ๓)
  • ผลักดันให้มีนโยบายชี้นำสังคมจากมหาวิทยาลัยมหิดล (Flagship ๓)
  • งานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยได้รับรองมาตรฐาน

๔.ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการยั่งยืน

  • ผลักดันให้มหาวิทยาลัยได้ TQC Plus
  • สร้าง Global Talent Platform ด้านการวิจัยให้แล้วเสร็จ (Flagship ๔.๑)
  • อันดับ Green University Ranking ไม่ต่ำกว่าอันดับ ๘๐ –
  • ได้รับการประเมิน ITA ไม่ต่ำกว่าอันดับ ๕
  • ได้รับการจัดอันดับ THE Impact Ranking ไม่ต่ำกว่าอันดับ ๓๐๐
  • Digital Convergence University มีความสำเร็จถึงร้อยละ ๗๐
  • สร้างความเข้มแข็งให้กับ Joint Unit ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อตอบโจทย์ Multidisciplinary และ International Collaboration กับ Strategic Partner – จัดตั้ง Mahidol Endowment Fund ให้สำเร็จ (Flagship ๔.๒)
  • จัดตั้ง Ranking Unit
  • จัดทำฐานข้อมูล BI ได้ร้อยละ ๖๐
  • EBITDA เป็นบวกทุกส่วนงาน