สภามหาวิทยาลัยมหิดล มอบช่อดอกไม้แสดงความขอบคุณ ในโอกาสครบวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย

วันที่ 18 กันยายน 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัย มอบช่อดอกไม้เพื่อแสดงความขอบคุณ แด่ พลตำรวจเอก นายแพทย์จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง และ ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการสภามหาวิทยาลัย จากผู้บริหารระดับคณบดี เนื่องจากจะครบวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในวันที่ 30 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 26 เมษายน 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และ 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดี กล่าวเบิกผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ณ ห้องบรรยายศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ชั้น 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ โดยมหาวิทยาลัยมหิดล มีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น 173 ราย ประกอบด้วย

– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) จำนวน 24 ราย

– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) จำนวน 8 ราย

– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) จำนวน 56 ราย

– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) จำนวน 85 ราย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ และทรงเปิดหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

วันที่ 19 เมษายน 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ และทรงเปิดหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม อธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 65 พรรษาฯ และ ดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

จากนั้น เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธนวราชบพิตร ในการนี้ ดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา เข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายสูจิบัตร ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานฯ

โอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมที่กำพูฉัตร ทรงถือสายสูตรยกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ จากนั้น เสด็จ ฯ ไปทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ จากนั้น เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ พระราชทานของที่ระลึกแก่ ผู้มีอุปการคุณสนับสนุนการดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติ 65 พรรษาฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน 2563 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานคณะกรรมการดำเนินงานจัดพิธีฯ กราบบังคมทูลเบิกผู้มีอุปการคุณ จำนวน 100 ราย เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติ 65 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน 2563 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 65 พรรษา วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยประกอบด้วยการจัดสร้าง พระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ หอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ ซึ่งได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ ให้ประดิษฐานอักษรพระนามาภิไธย “สธ” ที่ฐานผ้าทิพย์ และหอพระ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยมี มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ มูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา ร่วมเฉลิมพระเกียรติ

นายกสภามหาวิทยาลัย มอบพวงมาลัยสวัสดีปีใหม่กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 19 เมษายน 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล มอบพวงมาลัยสวัสดีปีใหม่ไทย แด่กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณคุณวุฒิ ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบพวงมาลัยสวัสดีปีใหม่ไทย แด่ นายกสภาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “OP ร่วมสืบสานวันสงกรานต์ประเพณีไทย” ประจำปี 2567

วันที่ 10 เมษายน 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดกิจกรรม “OP ร่วมสืบสานวันสงกรานต์ประเพณีไทย” ประจำปี 2567 พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระบรมราชชนก พร้อมกล่าวอวยพรให้แก่บุคลากร จากนั้น ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกิจกรรมสงกรานต์ “OP งานวัด” และกิจกรรมเล่นเกมส์ อาทิ ปาเป้า ปาปอง ปาห่วง ปาป๋อง และการประกวดชุดผ้าไทยสวยงาม เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีสงกรานต์ของไทยให้อยู่สืบไป

สภามหาวิทยาลัยมหิดล แสดงความยินดีแก่มหาวิทยาลัยมหิดล และส่วนงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ประจำปี 2566

วันที่ 20 มีนาคม 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีแก่ส่วนงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ประจำปี 2566 ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 602 ณ ห้อง Grand Auditorium คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

โดยในปี 2566 มีส่วนงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ประจำปี 2566 ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่น ด้านการปฏิบัติการ (Thailand Quality Class Plus : Operation) โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับมอบช่อดอกไม้ และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิงวิรงค์รอง เจียรกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับมอบช่อดอกไม้

พร้อมนี้ สภามหาวิทยาลัยมหิดลร่วมแสดงความยินดีแก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Leadership Excellence Award จากสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดี แก่ นายกสภามหาวิทยาลัย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมแสดงความยินดี กับ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสที่เข้ารับพระราชทานปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 601 (2/2567) ณ ห้องประชุม Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง ESG เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (ด้านนวัตกรรม) ในโอกาสมาบรรยาย เรื่อง ESG เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 601 (2/2567) ณ ห้องประชุม Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Sustainable Development Goals กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Sustainable Development Goals กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 ซึ่งสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 8 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการโครงการฯ โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เกียรติเข้าร่วมงาน พร้อมด้วย บุคลากรของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานในสำนักงานอธิการบดี เข้าร่วมการอบรม จำนวนทั้งสิ้น 226 ราย ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ในการอบรมครั้งนี้ มีการบรรยายหัวข้อ “ยุทธศาสตร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล การบรรยายหัวข้อ “ความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน” โดย คุณสุกิจ อุทินทุ ผู้อำนวยการคนแรกขององค์กรรัฐมนตรีศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน หรือ SEAMEO SEPS และการบรรยายหัวข้อ “การจัดการองค์กรการศึกษาเพื่อความยั่งยืน” โดย ดร.ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์ นักวิชาการด้านการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute : TDRI) จากนั้น มีการเสวนา หัวข้อ “จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ Campus Operations” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา สุจริตกุล อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.พงษ์กรณ์ วีรพิพรรธน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณมนัสชาย ประเดิมชัย หัวหน้างานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับในช่วงท้ายเป็นการทำ Workshop แบ่งกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ความรู้พื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน “ทำไมต้องยั่งยืน/Road to Sustainable Organization” ESG กลุ่มที่ 2 ความยั่งยืน “การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสังคม/ความยั่งยืนในกรอบ ESG/ประเด็นความท้าทายของการพัฒนาที่ยั่งยืน” กลุ่มที่ 3 ระดมไอเดีย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มที่ 4 สรุปประเด็นที่ผู้เข้าอบรมสนใจ และกลุ่มที่ 5 พัฒนาโครงการ

การอบรมฯ ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายของสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (From Vision to Action) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสร้างเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างศักยภาพและองค์ความรู้เพื่อสามารถเชื่อมโยงกับพันธกิจที่เกี่ยวข้องในระดับหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง สามารถจัดทำโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนงาน มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ United Nations Institute for Training and Research (UNITAR), International Training Centre for Authorities and Leaders (CIFAL) และ University of Victoria ประเทศแคนาดา จัดโครงการ “Developing a Sustainability Mindset Training Program for Executives” ขับเคลื่อนการบริหารจัดการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันที่ 18 มกราคม 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ “Developing Sustainability Mindset Training Program for Executives โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานการอบรม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะผู้บริหารส่วนงาน บุคลากรจากกองแผนงานและกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการ ณ Mövenpick Asara Resort & Spa Hua Hin จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ United Nations Institute for Training and Research (UNITAR), International Training Centre for Authorities and Leaders (CIFAL) และ University of Victoria ประเทศแคนาดา จัดโครงการดังกล่าวขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 มกราคม 2567 โดยมีการบรรยายความรู้และการประชุมระดมความคิดในประเด็นต่าง ๆ ที่สอดคล้องกันแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development GoalsSDGs) โดยมี ProfHeather Ranson, Associate Director, Centre for Social and Sustainable Innovation, Gustavson School of Business และ Dr. Crystal Tremblay, Director of CIFAL Victoria and Assistant Professor in the Department of Geography จาก University of Victoria ประเทศแคนาดา เป็นผู้ดำเนินการประชุม เพื่อผลักดันให้เกิดการนำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์ ทั้งด้านการวิจัย การศึกษา การสร้างความมีส่วนร่วมกับชุมชน และการบริหารจัดการพื้นที่ทางด้านกายภาพ ทั้งนี้ การจัดฝึกอบรมดังกล่าวเป็นกระบวนการหนึ่งในการผลักดันแนวความคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ให้เป็นรากฐานของการพัฒนามหาวิทยาลัยภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโนบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล