คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 41/2566 ของวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ของวิทยาลัยศาสนศึกษา ครั้งที่ 41/2566 และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี อาจารย์ ดร.พิบูลย์ ชุมพลไพศาล คณบดีวิทยาลัยศาสนศึกษา พร้อมผู้บริหาร ฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมน้ำทอง คุณวิศาล วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ มีประเด็นดังต่อไปนี้

1. ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1. ปฏิรูปให้มีความมั่นคงแข็งแกร่งทั้งในด้านบุคลากร การเงิน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

2. พัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเน้นพัฒนาทั้งนักศึกษาและบุคลากรอย่างคู่ขนานตามแนวทาง Small but Smart

3. พัฒนางานบริการวิชาการทั้งในด้านการเผยแพร่องค์ความรู้และการบริการด้านศาสนศึกษา

4. สร้างผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ และสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

2. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

– โครงการสัมมนาระดับนานาชาติ MU-CRS Seminar

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการพระบัณฑิตอาสา

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 40/2566 ของบัณฑิตวิทยาลัย

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 40/2566 ของบัณฑิตวิทยาลัย และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 408 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 มีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการผลิตหลักสูตรและบัณฑิตที่ตรงกับความต้องการ

1.2 ส่งเสริมความเป็นนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษา

1.3 ขยายการดําเนินการ ด้านการจัด Short Course Trainings ในทุกสาขาวิชา

1.4 ดําเนินการพัฒนา และจัดอบรม 21st Century Skills ให้นักศึกษาอย่างเป็นระบบ

1.5 ระบบบริหารจัดการด้านการศึกษา มีความยืดหยุ่นสูงยิ่งขึ้น เพื่อเป็นระบบบริหารจัดการแบบดิจิทัล

1.6 บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย มีความพร้อมรับมือกับนโยบายและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Innovation in Health & Wellness

1.1 สร้างแพลตฟอร์มการจัดการศึกษาร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันร่วมผลิตที่มาจากภาครัฐและเอกชนในลักษณะร่วมกันรับผิดชอบ (Shared responsibility) และร่วมสร้างสรรค์ (Co-creation)

– หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาการขั้นสูงทางชีวการแพทย์และการสร้างสรรค์ธุรกิจสุขภาพ)  (หลักสูตรภาคพิเศษ)

– หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานวัตกรรมสุขภาพและสุขภาวะองค์รวม) (หลักสูตรภาคพิเศษ)

1.2 จัดการศึกษาให้รองรับการศึกษาตลอดชีพ และการบริการวิชาการ ที่สามารถสะสมหน่วยกิต ได้แก่ ระบบ MAP-C, Microcredentials สอดคล้องกับ Flagship 1 การศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต

2. Structure & HR Resource

2.1 การปรับโครงสร้าง

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– LEAN MANAGEMENT & REORGANIZATION เพื่อ Alignment และ Integration ร่วมกับส่วนงานต่าง ๆ และยุทธศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัย และคู่ความร่วมมือภายนอก

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

– Inclusiveness การสนับสนุนทุนเกี่ยวกับการศึกษา/สนับสนุนวิจัยแก่นักศึกษา (สอดคล้องกับ SDGs 1, 4, 10)

(สอดคล้องกับ SDGs 1, 4, 10) (ช่วงปีการศึกษา 2564 จำนวน 243 ทุน)

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1.การศึกษา

– ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ Learning Management System (LMS) เพื่อสนับสนุนการพัฒนา และจัดตั้ง Mahidol Continuing Education Center เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ และการเรียนรู้

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 39/2566 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 39/2566 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. ส่งเสริมการต่อยอดการทำงานของ HAPPINOMETER และโครงการที่เกี่ยวข้องกับ HAPPINOMETER โดยเน้นกิจกรรมแบบออนไลน์/Hybrid และสร้างศักยภาพนักสร้างสุข
  2. ส่งเสริม TPAK ให้เป็น ASEAN Population and Physical Activity Center และ WHOCC
  3. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาผ่านการประเมิน AUN-QA 3.0 และ ASEAN 4.0
  4. พัฒนา Mahidol Migration Center (MMC) เป็นศูนย์วิจัยร่วม (Joint Research Unit) ในระดับนานาชาติ
  5. ผลักดันให้ Asian Population Association (APA) เป็นภาคีดำเนินงาน (Implementing Partner) ของ UNFPA
  6. พัฒนาความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างวิจัยขอแหล่งทุนต่างประเทศโดยมีเป้าหมายให้กาญจนบุรีเป็นพื้นที่ศึกษาและเป็น Social lab
  7. ผลักดันให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) โดยใช้งานวิจัยของสถาบันฯ เป็นกรอบในการขับเคลื่อน

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Global Health Governance

-MMC-JRU จัดการอบรมระยะสั้นระดับนานาชาติ เรื่อง International M&E training in public health for migrant workers (22 participants จาก 7 ประเทศ คือ Myanmar, Indonesia, Thailand, India, Nepal, South Korea, Gambia; 35 hours, May 22-26, 2023) และกำลังพัฒนาโครงร่างเพื่อนขอรับทุนจาก MU IR เพื่อจะจัดการอบรมระยะสั้นนี้ในระดับประเทศในปี 2024

2. Health & Wellness

2.1 Innovation in Health & Wellness

-โครงร่างวิจัยเรื่อง Training for migrant workers in elderly care ส่งขอทุน MU Rising funding, 2023-2024; working with Thailand Professional Qualification Institute (TPQI), Migrant Working Group (pending funding from Health Systems Research Institute  (HSRI-สวรส)

3.  แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

3.1 Healthy Foods

-โครงการวิจัยติดตามและประเมินสภาพแวดล้อมทางอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในประชากรไทยทั่วไปและกลุ่มเฉพาะ

-โครงการการวิเคราะห์ระบบอาหารของประเทศไทย

-โครงการการวิเคราะห์และประเมินผลโยบายและมาตรการด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย

3.2 Inclusiveness

-การพัฒนาชุดข้อมูลและเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย

-โครงการให้บริการทางวิชาการ: การสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขด้วยเครื่องมือ HAPPINOMETER (ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย)

3.3 Capacity Building

-สนับสนุนให้นักวิจัยโครงการสมัครรับทุนเรียนดีระดับปริญญาเอกด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของสปอว.ในสาขาที่เป็นความต้องการของสถาบันฯ เพื่อทดแทนอาจารย์เกษียณและสร้างอาจารย์รุ่นใหม่

3.4 Sustainable City & Community (Climate Change)

-โครงร่างวิจัยเรื่องการฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุเพื่อเป็นแนวทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยระบบนิเวศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสนอขอทุนภายใต้โครงการ e-ASIA Joint Research Program (e-ASIA JRP) ประจำปี 2567 (FY2024) ด้านสิ่งแวดล้อม ประเด็นสังคมคาร์บอนต่ำ

-พัฒนาโครงร่างวิจัยเรื่องการรับรู้และนำแนวคิดแนวคิด Circular economy ไปใช้ในกลุ่มประชากรทั่วไปและกลุ่มเปราะบาง

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

-ปรึกษาหารือกับหลักสูตรถึงแนวทางในการสอดแทรกเนื้อหาเรื่อง SDGs ในรายวิชาสำคัญของสถาบันฯ เพื่อปลูกฝังการมี mindset SDGs ให้กับผู้เรียน (แผน)

2. การวิจัย

-สนับสนุนให้โครงการวิจัยของสถาบันฯ นำข้อค้นพบจากการวิจัยไปใช้ต่อยอดเพื่อตอบสนอง SDGs และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในงานวิจัยของสถาบันฯ ตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการทำวิจัย (สร้างความต่อเนื่อง และเพิ่มความเข้มแข็ง)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

-สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ โดยเฉพาะชุมชนและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง (สร้างความต่อเนื่อง และเพิ่มความเข้มแข็ง)

4. Campus Operations

-ปลูกฝัง mindset SDGs ให้กับบุคลากรของสถาบันฯ ทุกประเภท (แผน)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 38/2566 ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 38/2566 ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมอารี วัลยเสวี ชั้น 2 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. Food research cluster/collaboration ร่วมกับนักวิจัยของไทย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านอาหารและโภชนาการภายในมหาวิทยาลัย

2. ความร่วมมือกับ Harvard Medical School เพื่อสร้างศักยภาพในการวิจัย และตรวจวิเคราะห์ Nutrient Biomarkers เพื่อเป็น High throughput Core Laboratory ในการวิจัย ศึกษาสำรวจด้านโภชนาการของภูมิภาค

3. การให้บริการวิเคราะห์ขั้นสูงด้านอาหาร และโภชนาการ เช่น สาร THC และ CBD จากกัญชาในอาหาร, Targeted/Untargeted Metabolome, Unknown Active Compounds จากสารสกัดจากพืชและสัตว์ สาร PAHs

4. การจัดทำหลักสูตรปริญญาเอก Joint Degree กับ Rutgers University, สหรัฐอเมริกา: Functional Food and Medical Nutrition

5. การให้บริการฝึกอบรมที่ทันสมัยด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของประชากร และเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและสังคม

6. ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ หรืออาหารสุขภาพ เพื่อการพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Digital Health การขยายฐานข้อมูล คุณค่าสารอาหารให้ครอบคลุม Branded products

2. Health & Wellness

2.1 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการ ด้าน Health & Wellness ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

– โครงการผลักดันให้เกิด การกำหนดมาตรฐานความข้นหนืดอาหารตาม IDDSI โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

2.2 Innovation in Health & Wellness

– การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เช่น UHT-blenderized diet, Food for dysphagia, Human milk fortifier

3.Structure & HR Resource

3.1 การปรับโครงสร้าง

– ยุบเลิกโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด “ต้นน้ำ” ปรับเปลี่ยนเป็นโรงงานแปรรูปกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบผง CRA/CRO

3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– Co-Faculty กับวิทยาเขตกาญจนบุรี

4. Social Enterprise

4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

– การผลิต Human Milk Fortifier

– การผลิต และ พัฒนา Food for rare disease

– การสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตร/Premium food

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

5.1 Healthy Foods

– GDQS และ regional reference biomarker laboratory

– MU-Cohort study

– Food environment mapping

5.2 Inclusiveness

– One Country One Priority Product (OCOP)

– การบริหารจัดการอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหายาก ร่วมกับ สปสช.

5.3 Capacity Building

– สร้างความร่วมมือในต่างประเทศพัฒนาบุคลากรในหัวข้อที่มีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต เช่น Food for dysphagia, Palliative nutrition, Food and nutrition for longevity

– การดึงทุนต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษา (ทุนระดับบัณฑิตศึกษา จาก PTFI)

5.4 Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (RISE)

– การศึกษาวิจัย ด้าน Biodiversity for food and nutrition ร่วมกับ CGIAR

– INMU-ETH Joint unit

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

– PhD. Program Doctor in Functional Food and Nutrition (International Program)

– Rutgers University and Institute of Nutrition “Food and Sustainability: Study Abroad”

– UMASS, Amherst (Department of food science) Food texture engineering and plant-based protein

– Tokyo University of Marine Science and Technology Collaboration (Researcher and student mobility)

2. การวิจัย

– Joint unit (INMU-ETH)- One health, safe guarding global microbiome

– Joint unit (INMU-HARVARD)

– โรงงานอาหารต้นแบบมาตรฐาน GMP เพื่อนวัตกรรมและการวิจัย

– เสริมสร้างการวิจัยเชิงพื้นที่ เช่น กาญจนบุรี (Co-faculty Possibility)

– Micronutrient Biomarkers Consensus-Building Program

– การเข้าร่วม Microbiota Vault Initiative ETH (Biodiversity preservation, One Health Concept)

– Johns Hopkins University research collaboration

– การเตรียมการเพื่อการจัดตั้ง CRA/CRO ด้านอาหาร

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Household Food Security for Nutrition Wellbeing”

– Training on Food and Nutrition Security: Rockefeller, FAO, WHO

– IAEA Regional Training Course on Applications of Stable Isotope Techniques to Assess Protein Quality of Sustainable Food Sources for Improving Maternal and Child Nutrition in Asia

– การอบรมผู้สัมผัสและประกอบการด้านอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

4. Campus Operations

– สนับสนุนความก้าวหน้าทางสายอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุน เช่น โครงการ R2R INMU Clinic

– ส่งเสริม Digital Skill ของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

– ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพกาย/จิต แก่บุคลากร

– มีแผนบริหารความเสี่ยงรองรับการปฏิบัติงานในอนาคต

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 37/2566 ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 37/2566 ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ นพ.กนก ภาวสุทธิไพศิฐ (A 108) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1. ศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง
2. โครงการจัดทำห้อง Sleep Lab และ Core Facility เพื่อรองรับการศึกษาวิจัยด้าน Chronobiology (Sleep Laboratory & Chronobiology Core Facility)
3. ยื่นสมัครขอรับรางวัล TQC Plus และ TQA โครงการปรับปรุงอาคารวิจัยและพัฒนาวัคซีน Phase 1-2
4. โครงการภายใต้ Reinventing University

–  ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอกสาขาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ

– จัดทำหลักสูตรฝึกอบรม Upskill/Re-Skill ทางด้านการผลิตชีววัตถุ การตรวจสอบคุณภาพชีววัตถุและวัคซีน

– อาคารวิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการ BSL-3

5. โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิต Recombinant Protein และยาชีววัตถุ (Biologics)

– อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตรกระบวนการผลิตโปรตีน/Biologics

– เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ระดับ TRL4 ที่ผ่านการทดสอบในระดับสัตว์ทดลอง

– การพัฒนาต้นแบบระดับอุตสาหกรรม หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือจำหน่ายเชิงพาณิชย์

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster

1. Health & Wellness

1.1 Innovation in Health & Wellness

-โครงการพัฒนาการวิจัยผลิตวัคซีนต้นน้ำ

-การพัฒนายาเกี่ยวกับระบบประสาท และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อการรักษา

2. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

2.1 Capacity Building

-โครงการขอการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัยระดับ 3 (BSL3)

-โครงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิกาชนิดเชื้อตายโดยใช้เทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยง

-โครงการห้องปฏิบัติการ viral vector

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

3.1 การศึกษา

โครงการปรับปรุงรายวิชาทางด้าน biologics & vaccine เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงความรู้และการเรียนรู้เฉพาะบุคคล – SDGs4 Quality education

3.2 การวิจัย

-โครงการขยายพันธุ์ แม่พันธ์กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1 – SDGs2-Zero hunger

-โครงการพัฒนาปรับปรุงมันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ – SDG2-Zero hunger

3.3 บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

-แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมีย – SDGs3 Good health and Well-being

-โครงการพบผู้ป่วยธาลัสซีเมีย-รพ.ศูนย์นครปฐม – SDGs3 Good health and Well-being

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 36/2566 ของโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 36/2566 ของโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วริยา ชินวรรโณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสัมมนา ชั้น 4 อาคารโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
      1.1 พัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
      1.2 สร้างกิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มนักเรียนให้มีความสุขกับการเรียนการสอนที่โรงเรียนจัดให้
      1.3 การปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
      1.4 จัดหาแผนคุ้มครองสวัสดิภาพ-อุบัติเหตุ สำหรับนักเรียนและผู้ปฏิบัติงานโรงเรียน
      1.5 พัฒนาระบบ IT Infrastructure ในการรับสมัครนักเรียน เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Health & Wellness
1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – โรงเรียนสาธิตนานาชาติ ม.มหิดล มีการจัดการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพ Health Science, Food Science, Health and Life Skills, Physical Education, Arts and Music
2. Structure & HR Resource
2.1 การปรับโครงสร้าง
      – ปรับโครงสร้างเงินเดือนให้กับบุคลากร
2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – ส่งบุคลากรเข้าอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ
3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
3.1 Sustainable City & Community (Climate change)
      – กิจกรรมไร้ผนังของนักเรียน (Week without Walls) นักเรียนเกรด 11 ได้มีโอกาสทำรถเข็นให้สุนัข กิจกรรมวีลแชร์สัตว์พิการ โครงการ Pet Rescue จังหวัดนครราชสีมา
      – นักเรียนอาสายุวกาชาด ได้ไปเยี่ยมศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี เพื่อทำกิจกรรมทำความสะอาดชายหาด และล้างทำความสะอาดบ่อเต่า ซึ่งเป็นที่อาศัยของเต่าก่อนปล่อยลงสู่ทะเล
      – กิจกรรมจิตอาสาที่นักเรียนได้ไปทาสีอาคารโรงเรียนที่โรงเรียนวัดหนองปลาไหล จังหวัดนครปฐม
3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
1. การศึกษา
      – หลักสูตรของโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการเรียนการสอน วิชา Environmental Science สำหรับนักเรียน เกรด 10 ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความยั่งยืน (Sustainability) นิเวศวิทยา (Ecology) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
2. การวิจัย
      – Capstone Project ของนักเรียน และได้ขอความอนุเคราะห์คำปรึกษาจากอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – ครูแนะแนวเยี่ยมนักเรียนตามห้องเรียนทุก 3 เดือน / นักเรียนปรึกษาครูแนะแนวเพื่อเลือก วิชาเลือก (Electives) และการสมัครเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา / กิจกรรม Alumni Homecoming และ Parent Workshops
4. Campus Operations
      – ดูแลกำกับเรื่องมลภาวะ เช่น ฝุ่น PM2.5 การฝึกซ้อมหนีไฟ (Fire Drill) เตรียมความพร้อม หากเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายภายในโรงเรียน (Lock Down)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 35/2566 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 35/2566 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเจริญคุณธรรม ชั้น 3 อาคารปัญญาวัฒนา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 พัฒนาต่อเนื่อง แผนงาน “การปฏิรูปการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัย” จำนวน 4 โครงการ นำสู่ผลลัพธ์นโยบายระดับประเทศ

1.2 พัฒนาต่อเนื่อง แผนงาน “พื้นที่เด็กและครอบครัว” จำนวน 2 โครงการ นำสู่ผลลัพธ์นโยบายระดับท้องถิ่นและประเทศ

1.3 พัฒนาต่อเนื่อง แผนงาน “วัฒนธรรมองค์กรในความรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัวของคนในองค์กร” จำนวน 2 โครงการ นำสู่การขยายผลรูปแบบนำร่อง สู่การปฏิบัติในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน และการเชื่อมโยงสู่แนวทาง Happy workplace

1.4 พัฒนาต่อเนื่อง แผนงาน “การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสมองเด็กจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี” 4 โครงการ ได้แก่ ความยากจนเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เทคโนโลยี IT และอุบัติเหตุ-ความรุนแรง-ภัยพิบัติ

1.5 ขยายผลการเรียนตลอดชีวิตของสังคมไทย อย่างน้อยให้ได้ 20 หลักสูตร และครอบคลุมผู้เรียน 20,000 คน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลการประกอบการของสถาบัน เป็นบวก และสนับสนุนการพัฒนา “ธุรกิจเพื่อสังคม” ที่มีผลประกอบการที่ดีขึ้นตามลำดับทุกปี

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– สถาบันฯ ได้เปิดหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับ Health & Wellness จำนวน 12 หลักสูตร

1.2 Innovation in Health & Wellness

– Website ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยออนไลน์

– Website ประเมินทักษะ EF วัยรุ่นออนไลน์

– Website ประเมินสติเด็กปฐมวัยออนไลน์

2. Structure & HR Resource

2.1 การปรับโครงสร้าง

– สถาบันฯ ได้ปรับโครงสร้างเพื่อนำไปสู่การประกอบการบริการที่ยั่งยืน โดยจัดตั้งงานใหม่ “งานประกอบการสังคม และเครือข่ายสัมพันธ์” เพื่อตอบสนองต่อพันธกิจ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หลักของสถาบันฯ

– การทบทวนการจัดโครงสร้างบริหารของคณะฯ (ตามวาระคณบดี)

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– โครงการจ้างผู้เกษียณฯ ที่ยังสามารถช่วยงานสถาบันได้ต่อ

– โครงการสร้างงานเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มบุคคลพิเศษ เพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาศักยภาพให้กลุ่มผู้พิการและกลุ่มผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา

3. Social Enterprise

3.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

– โครงการตลาดเรียนรู้้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวสองแสนคน : การสร้างฐานสมาชิก NICFD โยงใยความสัมพันธ์สร้างเครือข่าย

– โครงการนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เทคโนโลยีแปรรูปผลไม้ของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการอาชีพของเยาวชนนอกระบบนครนายก

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Inclusiveness

– โครงการ Inclusive early life : care, development and policy การพัฒนาสุขภาพ พัฒนาการ การเรียนรู้เด็กทั้งมวล และนำสู่การขับเคลื่อนนโยบายทุนยุทธศาสตร์วิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล

– ขับเคลื่อนนโยบายห้องเรียน Inclusive และขยายพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัด โครงการต้นแบบการเรียนร่วมเด็กพิเศษ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อเด็กทั้งมวล (Inclusive child care)

– โครงการศูนย์สมานใจปฐมวัยสาธิต (Center for Early Childhood Trauma and Resilience)

4.2 Capacity Building

– ความสุขในการทำงานขององค์กรและภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมเพื่อป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรเอกชน : โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

4.3  Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการเฝ้าระวังผลกระทบนโยบายรัฐและการลงทุนที่่นำสู่วิกฤตเด็กและครอบครัว

– โครงการเฝ้าระวังภาวะประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยและการแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูสุขภาวะเด็กและครอบครัว ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID-19 และหลังวิกฤต

– โครงการการขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก จากสิ่งที่ค้นพบสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง

– โครงการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดูแลเด็กปฐมวัยเทศบาลหนองข่า จังหวัดอำนาจเจริญ

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

– สถาบันฯ ได้พัฒนาหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนและการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนการนำ SDG เข้าสู่กระบวนการการสอนและการเรียนรู้ในทุกระดับ

2. การวิจัย

– Cluster 1 โครงการการปฏิรูปการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัย (Reform in early childhood education)

– Cluster 2 พื้นที่เด็กและครอบครัว (Child and Family Space : CFS)

– Cluster 3 องค์กรรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัว (Corporate Child and Family responsibility: CCFR)

– Cluster 4 ปกป้องสมองเด็กจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ไม่ยั่งยืน (Child’s Brain Protection from Unsustainable Economic and Technology Growth : CBPU)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– การขยายฐานสมาชิกการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 200,000 คน

– โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร (EF: Executive Function) ในเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปี สำหรับครูในโรงเรียนประถมศึกษา (ต้นแบบ) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ

– โครงการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

– โครงการพื้นที่พัฒนาเด็กและครอบครัว “เล่น เรียนรู้ คู่ ธรรมชาติ”

– โครงการต้นแบบสถานศึกษา/ชุมชน 10 ทักษะความปลอดภัยสำหรับเด็กวัยเรียน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 34/2566 ของคณะเทคนิคการแพทย์

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) คณะเทคนิคการแพทย์ ครั้งที่ 34/2566 และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติรส พลับพลึง คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ พร้อมผู้บริหารคณะเทคนิคการแพทย์ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 901 ชั้น 9 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

  1. การพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้เรียน และมีมาตรฐานระดับอาเซียน
  2. การพัฒนานวัตกรรมจากงานวิจัย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุตสาหกรรม อาหารสุขภาพแห่งอนาคต
  3. การเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ Medical Devices & Health and Food Products
  4. ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแบบครบวงจร เพื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มวัยและสังคมผู้สูงอายุ และเป็นแหล่งเรียนรู้และการปฏิบัติทางวิชาชีพ
  5. การยกระดับมาตรฐานคุณภาพและศักยภาพทางวิชาการ แก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายระดับภูมิภาคอาเซียน

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 Innovation in Health & Wellness

– นวัตกรรมสุขภาพองค์รวม

2.Social Enterprise

2.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

– ส่งเสริมกระบวนการตรวจวิเคราะห์ และรับรองความปลอดภัยผลผลิตทางการเกษตร

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

– Healthy Foods การขับเคลื่อนนโยบายอาหารเพื่อสุขภาพ

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

– การวิจัยพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ เพื่อความมั่นคงของประเทศ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 33/2566 ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 33/2566 ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา พร้อมผู้บริหารศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมราชาวดี (326) ชั้น 3 อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1. ปรับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ในการดำเนินการ มุ่งเป้าที่จะดำเนินการเชิงรุกด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม โดยการนำแก่นจิตตปัญญาศึกษา เข้าไปบูรณาการร่วมกับการทำงานผ่านโครงการวิจัยและบริการวิชาการ

2. ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ดำเนินการให้วิทยาเขตนครสวรรค์เป็น Mindful Campus ขยายสู่สังคมและองค์กรโดยรอบ

3. ขับเคลื่อนศูนย์จิตตปัญญาโดยใช้โอกาสการครบรอบ 15 ปี ของศูนย์ฯ ด้วยแนวคิด สู่การผลิบาน นำความรู้ประสบการณ์ และการพัฒนาคน/เครือข่ายที่ผ่านมา ขับเคลื่อนสังคมวงกว้าง ผ่านกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม

2.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกำหนดหลักสูตร Health & Wellness

1.2 Innovation in Health & Wellness

– หลักสูตรพัฒนาบุคลากรของภาคเอกชน (บริษัท MK)

2. Structure & HR Resource

2.1 การปรับโครงสร้าง

– ปรับโครงสร้างภายในองค์กร เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง T

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– การอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพสายวิชาการ หลักสูตร MU-ADP

3. Social Enterprise

3.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต

– โครงการ Mindful Campus

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Inclusiveness

– โครงการจากใจสู่ใจ (กลุ่มผู้ต้องขัง) โครงการหยั่งรากจิตตปัญญา  สู่สังคมแห่งความสุข (กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา) โครงการเด็กนอกระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการจากใจสู่ใจ (กลุ่มผู้ต้องขัง)

– โครงการหยั่งรากจิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข (กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา)

– โครงการเด็กนอกระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

2. Campus Operations

– โครงการ Mindful Campus

– โครงการสถานศึกษาปลอดภัย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 32/2566 ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 32/2566 ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทร์ทิพย์ สพ.บ. ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ พร้อมผู้บริหารศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 1-2 ชั้น 1 อาคารศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1. ยกระดับคุณภาพสุขภาพ หนูเม้าส์จากสัตว์ทดลองในระดับ Monitor animals เป็นสัตว์ทดลองในระดับ Specific Pathogen Free (SPF) Animals

– การพัฒนาบุคลากร โครงการฝึกปฏิบัติการดูแลและการจัดการสัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะ

– การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างและจัดหาครุภัณฑ์

2. วิจัยพัฒนาและยกระดับความสามารถทางห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการเป็นศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลองของประเทศ

– การพัฒนาบุคลากรโครงการฝึกอบรมการตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลองปลอดเชื้อจำเพาะ

– การจัดหาอุปกรณ์และครุภัณฑ์

– พัฒนาวิธีการทดสอบ/ตรวจสอบ

– ให้บริการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลอง

3. ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานให้บริการวิจัยและทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (หน้ากากอนามัยและหน้ากากชนิด N95) จาก สมอ.

4. ศูนย์ตรวจสอบความปลอดภัยด้านเครื่องมือแพทย์ ในปี 2565

5. ขยายและเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานให้บริการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ตามหลักการ OECD GLP อย่างน้อย 2 วิธีการทดสอบต่อปี

6. บริหารจัดการวัสดุรองนอนที่ใช้แล้ว (Soiled bedding Management) เพื่อการจัดการอย่างยั่งยืน

7. การบริหารจัดการ การใช้พลังงานไฟฟ้า โดยการใช้พลังงานทดแทน (Solar Cell) เพื่อลดค่าไฟฟ้าของศูนย์ฯ

– ติดตั้ง Solar Cell โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย

– ของบประมาณแผ่นดินสนับสนุนเพื่อติดตั้ง Solar Cell ในพื้นที่ที่เหลือของส่วนงาน

8. การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง

– หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลและเทคนิคปฏิบัติกับสัตว์ทดลอง

– หลักสูตรอบรมพนักงานเลี้ยงสัตว์ทดลอง

 

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

– โครงการผลิตและบริการสัตว์ทดลอง ที่ได้มาตรฐาน AAALAC

– โครงการขยายขอบข่ายการให้บริการทดสอบความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ตามหลักการ OECD GLP

 

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– กลไกของ MICC (Community Engagement)

1.1 โครงการพัฒนาศักยภาพของการตรวจคุณภาพสัตว์ทดลอง เพื่อรองรับการผลิตวัคซีนของประเทศ (Development of monitoring program for laboratory animal quality to support vaccine production.)

1.2. โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ในสัตว์ทดลอง ตามหลักการ OECD GLP