คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 2/2566 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 2/2566 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. โครงการ Wellness Residence Complex ที่ดิน 300 ไร่ & Transportation
2. เปิดหลักสูตรร่วม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
3. ยื่นสมัครขอรับรางวัล TQC Plus และ TQA
4. เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อาคารเรียน 2 (อาคารปรีคลินิกและศูนย์วิจัย)
5. การก่อสร้างอาคารกายวิภาคทางคลินิก
6. การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1.Global Health
1.1 Digital Health
  • ร่วมการปฏิรูปและสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพผลักดันระบบ IT ด้านสาธารณสุข โดยได้ร่วมกำหนด standard data set
  • ร่วมพัฒนา Digital Health / Health Information Systems โดยส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าระบบ Health Information Exchange ในรูปแบบ HL7 FHIR เพื่อให้มีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยกับองค์กรภายนอกที่เป็นมาตรฐานกลาง
    1.2 Global Health Governance
  • ทำงานร่วมกับคณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล
  • ร่วมคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) และร่วมประชาสัมพันธ์
  • พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนนักศึกษาผ่านโครงการต้นกล้ารามาธิบดี เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เหมาะสมในการขอรับพระราชทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
  • โครงการสนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี Wifi 6E เพื่อยกระดับการบริการและการศึกษาทางการแพทย์
  • โครงการ Initiative Coordinated Antidotes Procurement in the South-East Asia Region (iCAPS) เป็นโครงการที่องค์การอนามัยโลก สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) เสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยาต้านพิษของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    2.Health & Wellness
  • 2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
  • จัดทำหลักสูตร double degree : หลักสูตร พ.บ. – กจ.ม. (แพทยศาสตรบัณฑิต – การจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ))
    3.Structure & HR Resource
  • 3.1 การปรับโครงสร้าง
  • การจัดตั้งสถาบันราชสุดา (ยุบวิทยาลัยราชสุดา)
  • การทบทวนการจัดโครงสร้างบริหารของคณะฯ (ตามวาระคณบดี) 3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • การทบทวนหลักเกณฑ์การบรรจุบุคลากร ในส่วนคะแนนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเกณฑ์ปัจจุบัน สำหรับตำแหน่งสายวิชาชีพ เช่น พยาบาล เภสัชกร เป็นต้น
  • โครงการพัฒนาระบบบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินสมรรถนะ และการวางแผนพัฒนารายบุคคล
  • การทบทวนแนวทางการจัดสวัสดิการบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
    4.Social Enterprise (เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
  • 4.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต : ส่งเสริมงานวิจัยด้าน Drug discovery (เวชภัณฑ์ สมุนไพร)
    5.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
    5.1 Healthy Foods : ผลักดันนโยบายลดเค็ม
    5.2 Inclusiveness
  • โครงการบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน
  • ดำเนินการ Home Palliative Care
  • RAMA Channel และ 4 ผลักดันผลงานวิชาการสู่นโยบายสาธารณะ

  • 3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
    การศึกษา
    1. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กับกระทรวงสาธารณสุข (SDGs 3, 17)
    การวิจัย
    1. โครงการแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัด และอุปกรณ์ชีววิศวกรรมการแพทย์แบบผสม (SDGs 3, 9, 17)
    2. การพัฒนาห้องปฏิบัติการเชิงนโยบาย เพื่อสร้างระบบบริการสุขภาพแบบเน้นคุณค่า สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (SDGs 3, 9, 17)
    3. ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ร่วมกำหนดมาตรฐานการตรวจพันธุกรรมและการแปลผล การตรวจยีน BRCA1/ BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (SDGs 3, 9, 17)
    4. นโยบายชุมชนลดเค็ม (SDGs 3, 9, 17)
    บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
    1. โครงการรามาธิบดีเพื่อโรงพยาบาลชุมชน (SDGs 1, 3, 17)
    2. โครงการพลังชุมชนต้านภัยมะเร็ง (SDGs 3)
    3. การพัฒนาด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ร่วมกับคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ (SDGs 2,3,12,17)
    4. RAMA Channel (SDGs 3, 4)
    5. โครงการ Cancer Anywhere (SDGs 3)
    6. โครงการ Happy Healthy Ramathibodi for 2023 (SDGs 2, 3)
    7. โครงการเครือข่ายมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี (SDGs 3, 17)
    8. โครงการ ปันความรู้ สู่สุขภาพดี (SDGs 3,10, 17)
    9. โครงการพัฒนาต้นแบบเกมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับครอบครัวเด็กวัยประถม (SDGs 3,10,17)
    10. โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี (SDGs 1, 2, 3, 6, 7, 12, 13, 15, 17)
    11. โครงการรามาร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ (SDGs 3, 11, 12, 13, 14)
    12. โครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและรับรองโรงเรียนปลอดภัย (SDGs 3, 17)
    13. โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนปลอดภัย (SDGs 3, 17)
    14. โครงการขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก จากสิ่งที่ค้นพบสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง (SDGs 3, 10,16)
    Campus Operations
    1. ติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Cell Rooftop) ที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (SDGs 7, 17)
    2. อาคารจอดรถรามาธิบดี-พลังงานบริสุทธิ์ (SDGs 7, 17)
    3. โครงการ วน (SDGs 12, 17)
    4. โครงการ Paper X กระดาษเก่าแลกใหม่ และโครงการแกลลอนล้างไตของใช้แล้วมาเป็นส่วนผสมของกระถางต้นไม้รีไซเคิล (SDGs 12, 17)

    คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 1/2566 ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 1/2566 ของคณะทันตแพทยศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมเทพรัตน์ทันตกิจสโมสร ชั้น 4 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

    1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
    1. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA จำนวน 4 หลักสูตร
    2. ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาล 2 โรงพยาบาลและสร้างศูนย์ความเป็นเลิศทางการให้บริการทางทันตกรรม และ Digital Healthcare
    3. ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) ภายในปี 2566
    4. Double Degree หลักสูตรปริญญาตรี ทบ. + ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ (+ปริญญาโท CMMU)
    5. พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพและต่อยอดเชิงพาณิชย์
    6. เสริมพลังเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ
    7. Smart Dental Hospital (พัฒนา Smart Application)
    8. จัดหารถทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อบริการทางทันตกรรมเข้าถึงประชาชนสะดวกยิ่งขึ้น

    2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
    1. Global Health
    1.1 Digital Health
  • โครงการร่วมพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาลทันตกรรม Smart Dental Hospital Application
  • โครงการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากทางไกลสำหรับศูนย์ทันตกรรมพระราชทานและทันตกรรมเคลื่อนที่ (Smart Tele-Dental Application)
  • โครงการเชื่อมโยงข้อมูลการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วย โดย Platform Health Link
    1.2 Global Health Governance
  • Phasing Down Dental Amalgam Project
  • International Special Need Oral Care Medical Service Network
    2.Health & Wellness
  • กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness โครงการร่วมร่างหลักสูตร Health & Wellness
  • Innovation in Health & Wellness โครงการพัฒนาศักยภาพในผู้พิการทางการเห็นด้วยสื่อภาพนูน ”สัมผัสแทนสายตา สู่การพัฒนาอย่างเท่าเทียม”
    3.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
  • Inclusiveness โครงการจัดหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงสู่ชุมชน
  • Sustainable City & Community (Climate Change) การได้รับรองมาตรฐานด้าน Environmental Health and Safety Campus ระดับสูง

  • 3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
    การศึกษา
    1. Double Degree หลักสูตรปริญญาตรี ทบ. + ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ (+ปริญญาโท CMMU) 2. โครงการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ในประเทศ และ ต่างประเทศ 3. โครงการOutcome-based Curriculum (OBC) Re-design for D.D.S. 4. Smart Dental Hospital
    การวิจัย
    1. ระบบ Research Management
  • ระบบสนับสนุนเงินวิจัย
  • Research Facility
  • ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐาน
    2. ระบบส่งเสริมสนับสนุนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา
    3. ระบบสนับสนุนด้านงานวิจัยข้ามศาสตร์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและสถาบันในต่างประเทศ
    การบริการวิชาการและส่งเสริม Community Engagement
  • 1. ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาล 2 โรงพยาบาลและสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ ทางการให้บริการทางทันตกรรม และ Digital Healthcare
    2. โครงการบริการผู้ป่วยติดเตียงแบบต่อเนื่องโดยสหสาขาวิชาชีพ
    3. โครงการจัดหน่วยเคลื่อนที่ส่งเสริมทันตสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุสู่ชุมชน
    4. โครงการศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ
    Campus Operations
    1. โครงการ Quality Improvement Council (QIC)
    2. โครงการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (SHE)
    3. โครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อความยั่งยืนขององค์กร
    4. โครงการร่วมพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาลทันตกรรม Smart Dental Hospital Application

    การอบรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล

    วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 บุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรฯ ในการพัฒนาตนเองและองค์กร โดยการเขียนงาน ( Flow chart ) เพื่อต่อยอดจากงานประจำสู่มหกรรมคุณภาพ ซึ่งได้รับเกียรติจากอาจารย์ศิริลักษณ์ เกี่ยวข้อง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ มาเป็นวิทยากรตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีการดำเนินงานจัดโครงการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งการอบรมดังกล่าวสามารถนำมาต่อยอดเขียนผลงานเพื่อนำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นการเพิ่มพูนทักษะ ความรู้พัฒนาศักยภาพของตนเอง และขององค์กรต่อไป

    มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวโครงการ Policy Advocacy 2023

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดตัวโครงการ Policy Advocacy 2023 พร้อมมอบสัญญารับทุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (Policy Advocacy 2023) และมอบนโยบายพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมให้แก่ผู้รับทุนในโครงการ Policy Advocacy 2023 โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานในรายละเอียด โครงการฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และรักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนผู้บริหารส่วนงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 530 ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

    ภายในงาน มีการนำเสนอโครงการ Conceptual frameworks จากหัวหน้าโครงการผู้ได้รับทุน อาทิ
    โครงการที่ 1: การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล กาญจนสุธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการที่ 2: กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคมในโรงพยาบาลชุมชน นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาดัม นีละไพจิตร วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการที่ 3: เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการที่ 4: แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการที่ 5: “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาพใจวัยรุ่น: ผลงานวิจัยสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พวงเพชร เกสรสมุทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดยุทธศาสตร์ Policy Advocacy and Leaders in Professional/ Academic Services โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นผู้นำด้านสุขภาวะเชิงนโยบายระดับชาติและนานาชาติ ด้วยการสร้างระบบขับเคลื่อนและสนับสนุน Policy Advocacy จากการนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลหลากหลายสาขาวิชาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่นโยบายระดับประเทศ ยังเป็นการนำไปสู่การชี้นำสังคมและขับเคลื่อน 17 เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติเพื่อสังคมที่ดีขึ้นในโอกาสต่อไป

    สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สำนักงานสภาสถาบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    วันที่ 25 เมษายน 2566  นางสุนิดา เกียรติวัฒนวิศาล หัวหน้าสำนักบริหารกิจการสภามหาวิทยาลัย และบุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สำนักงานสภาสถาบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมี นายศิวะ   แสงมณี  กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา วลัยรัชต์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภาสถาบัน และบุคลากรสำนักงานสถาบันฯ เข้าร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน ณ ห้องประชุม 530 ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

    สภามหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีแด่ศาสตราจารย์ นพ.สุรเดช หงส์อิง กรรมการสภาฯ จากคณาจารย์ประจำ ได้รับรางวัล Mahidol University’s Top 1% Researchers ประจำปี พ.ศ. 2566

    รางวัล Mahidol University’s Top 1% Researchers ประจำปี พ.ศ.2566 มอบให้เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ และเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความสามารถ มีความวิริยะอุตสาหะ ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจนมีผลงานดีเลิศในสาขาวิชาต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย สังคมและประเทศชาติ โดยใช้หลักเกณฑ์ผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูลนานาชาติ โดยมีรายชื่อผู้ได้รับรางวัล จำนวน 17 ราย ดังนี้

    1. รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.ชลภัทร สุขเกษม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    3. ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    4. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    6. ศาสตราจารย์ ดร.อัมรินทร์ ทักขิญเสถียร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    7. รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน คณะวิทยาศาสตร์
    8. รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง คณะวิทยาศาสตร์
    9. ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์
    10. รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ คณะวิทยาศาสตร์
    11. รองศาสตราจารย์ ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ คณะวิทยาศาสตร์
    12. รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ไชยร้องเดื่อ คณะวิทยาศาสตร์
    13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ คณะวิทยาศาสตร์
    14. ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ คณะสาธารณสุขศาสตร์
    15. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี วิทยาลัยการจัดการ
    16. รองศาสตราจารย์ ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร วิทยาลัยการจัดการ
    17. Asst. Prof. Dr.Seo Ah Hong สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

    มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ “54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล”

    วันที่ 2 มีนาคม 2566 อธิการบดีและกรรมการสภามหาวิทยาลัยร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “งานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล” ในการนี้ บุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นระดับส่วนงาน ประจำปี 2565 จำนวน 2 ราย ดังนี้
    1. นางสุนิดา เกียรติวัฒนวิศาล หัวหน้าสำนักบริหารกิจการสภามหาวิทยาลัย พนักงานมหาวิทยาลัยฯ ประเภทวิชาชีพ หรือสนับสนุนทั่วไป : ระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
    2. นางสาวเทียนทิพย์ เศียรเมฆัน จันทร์คำ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานมหาวิทยาลัยฯ ประเภทวิชาชีพ หรือสนับสนุนทั่วไป : ระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี

    มหาวิทยาลัยมหิดลศึกษาดูงานสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

    วันที่ 27 มกราคม 2566 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล กองบริหารงานทั่วไป และกองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาดูงานสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

    ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยบุคลากรจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาให้การต้อนรับคณะจากมหาวิทยาลัยมหิดล ณ รัฐสภา กรุงเทพฯ

    ทีมบริหารสวัสดีปีใหม่นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล

    วันที่ 18 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลและทีมบริหาร สวัสดีปีใหม่ 2566 แก่ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล
    สกลสัตยาทร
    นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 588/2566 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ
    นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา